Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TTW Public Company Limited
•
ติดตาม
1 ก.ค. 2022 เวลา 09:45 • สุขภาพ
ทำความรู้จักกับ...แร่ธาตุในน้ำประปา และวิธีบริโภคน้ำประปาอย่างปลอดภัย
Image Credit: Pixabay
หากตื่นขึ้นมาตอนเช้าแล้วน้ำประปาไม่ไหล คงเป็นอะไรที่ลำบากมากสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงภาคอุตสาหกรรม และภาคพาณิชยกรรมเองที่ต้องใช้น้ำปริมาณมากๆ ในแต่ละวันก็คงได้รับผลกระทบไปด้วย
แล้วรู้หรือไม่ว่าน้ำประปาไม่ได้เป็นเพียงของเหลวธรรมดาที่ไม่มีอะไรเลย แต่มันประกอบไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ ที่ล้วนเป็นประโยชน์ต่อร่างกายของเราอยู่จำนวนหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น แคลเซียม ฟลูออไรด์ และแมกนีเซียม
## แคลเซียม ##
เริ่มกันที่ “แคลเซียม” (Ca) ซึ่งถือว่าเป็นเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์มากๆ และเรามักจะคุ้นเคยหรือได้เรียนรู้กันมาเนิ่นนานว่าแคลเซียมมีส่วนช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรง
Image Credit: Pixabay
รวมถึงมีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงข้อมูลน่าสนใจให้เห็นว่าแคลเซียมสามารถช่วยลดความดันโลหิตสูง อาการโรคหัวใจกำเริบ อาการปวดก่อนมีประจำเดือน และมะเร็งลำไส้ได้
อีกทั้ง ยังเป็นสารอาหารที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่ายกายเรา ที่ส่วนใหญ่อยู่ในพวกกระดูก ฟัน และเนื้อเยื่อต่างๆ
รวมถึงช่วยให้กระบวนการทำงานในระบบของกล้ามเนื้อ ระบบภูมิคุ้มกัน ทำงานได้อย่างปกติด้วย
โดยในปัจจุบัน แคลเซียมยิ่งได้รับบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการแพทย์ที่นำมาใช้สำหรับการป้องกันโรคกระดูกพรุน โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลดไขมันในเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยให้ระบบประสาทคลายตัว
เป็นยานอนหลับตามธรรมชาติได้อย่างดี และยังช่วยชะลอความแก่ได้อีกด้วย ซึ่งในน้ำประปาก็มีแคลเซียมอยู่ถึง 30 มิลลิกรัม/ลิตร เลยทีเดียว
## ฟลูออไรด์ ##
เรารู้กันมาตั้งแต่เด็กๆ ว่า “ฟลูออไรด์” (F) ช่วยป้องกันฟันพุได้ และมันยังเป็นส่วนประกอบสำคัญถึง 1 ใน 5 ของงานด้านทันตกรรมป้องกัน ที่ช่วยในการชะลอการย่อยสลายของแร่ธาตุ และเสริมกระบวนการคืนกลับของแร่ธาตุบนผิวเคลือบฟัน รวมถึงช่วยเพิ่มความต้านทานต่อกรดให้ผิวเคลือบฟัน
Image Credit: Pixabay
และสำหรับเด็กๆ ที่มีช่วงวัยในการสร้างฟันนั้น หากได้รับประทานฟลูออไรด์อย่างเพียงพอ ก็แน่นอนว่าจะทำให้มีพื้นฐานฟันที่แข็งแรง และช่วยลดปัญหาฟันพุที่จะเกิดขึ้นได้
ซึ่งในน้ำประปานั้น (กทม. และปริมณฑล และแตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่) ก็มีปริมาณฟลูออไรด์อยู่ประมาณ 0.3 มิลลิกรัม/ลิตร โดยประชาชนที่ใช้น้ำประปาสำหรับการบริโภค ก็จะได้รับแร่ธาตุในส่วนนี้เสริมไปด้วย
## แมกนีเซียม ##
หากคุณเป็นพ่อแม่ที่มีลูกน้อยก็น่าจะมีความสนใจแร่ธาตุชนิดนี้เป็นพิเศษ เพราะ “แมกนีเซียม” (Mg) เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย และการเจริญเติบโตของเด็กๆ
ไม่ว่าจะเป็นช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง รักษาจังหวะการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยพัฒนากล้ามเนื้อและระบบประสาทอีกด้วย
Image Credit: Pixabay
โดยข้อมูลจากกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลปริมาณแมกนีเซียมที่เด็กควรได้รับไว้ ดังนี้
- อายุ 1-3 ปี : 60 มิลลิกรัม/วัน
- อายุ 4-5 ปี : 80 มิลลิกรัม/วัน
- อายุ 6-8 ปี : 120 มิลลิกรัม/วัน
อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้มีประโยชน์แค่กับเด็กเท่านั้น ในวัยผู้ใหญ่อย่างเราๆ ก็จะช่วยในเรื่องการส่งผ่านกระแสประสาท และบรรเทาอาการเกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครีด เป็นต้น
รวมถึงยังมีหน้าที่สำคัญในการเป็นตัวช่วยสะสมแคลเซียมเข้ากระดูก ลดความรุนแรงของโรคหัวใจวายเรื้อรัง และในสตรีมีครรภ์ก็จะช่วยลดการเกิดตะคริวให้ว่าที่คุณแม่ได้ด้วย ซึ่งในน้ำประปาก็จะมีแมกนีเซียมอยู่ประมาณ 8 มิลลิกรัม/ลิตร
## วิธีบริโภคน้ำประปาอย่างปลอดภัย ##
อย่างไรก็ดีสำหรับท่านที่ต้องการจะนำน้ำประปามาบริโภคนั้น ควรตรวจสอบคุณภาพ และความสะอาดของน้ำประปาง่ายๆ ด้วยการเปิดน้ำใส่ภาชนะ และสังเกตว่ามันต้องใส ไม่มีตะกอน หากมีกลิ่นคลอรีนแสดงว่าน้ำได้ผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้ว
ให้ตั้งทิ้งไว้สัก 20-30 นาที กลิ่นของคลอรีนก็จะค่อยๆ จาง และหายไปเอง ซึ่งก่อนนำไปดื่มหรือบริโภคก็ควรรองพักไว้ให้ตกตะกอน และกลิ่นคลอรีนจางไปก่อน
Image Credit: Pixabay
จากนั้นก็นำไปต้มจนเดือน 3-5 นาที เราก็จะได้น้ำสะอาดที่ยังมีแร่ธาตุอยู่ครบ และลดความเสี่ยงจากการเกิดการรวมตัวของคลอรีนกับสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำธรรมชาติ ที่มีโอกาสทำให้เกิดสารไตรฮาโลมีเทนที่เป็นสารก่อมะเร็ง (โอกาสเกิดสารนี้ในน้ำประปาน้อยมาก)
ทั้งนี้ หากต้องการความสะอาดและความมั่นใจในการบริโภคน้ำประปามากยิ่งขึ้น แนะนำให้ใช้เครื่องกรองน้ำที่ผ่านการกรองชั้นถ่านเพื่อดูดกลิ่น และผ่านสารเรซินเพื่อลดความกระด้าง
และนำไปฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยการผ่านแสงอัลตราไวโอเลตหรือแก๊สโอโซน ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายมากตามกำลังทรัพย์ ก็จะยิ่งช่วยทำให้ปลอดภัยมากขึ้น
Image Credit: Pixabay
สุดท้ายอย่าลืมทำความสะอาดไส้กรองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค เนื่องจากบางครัวเรือนบางพื้นที่ ยังมีการใช้ท่อที่เป็นเหล็กอยู่
เมื่อผ่านไปนานๆ อาจมีคราบสนิมเกาะในบริเวณท่อและหลุดออกมาปนเปื้อนในน้ำ ทำให้เสี่ยงเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราได้
## แล้วถ้ากรณีในวันที่เกิดน้ำเค็ม-น้ำกร่อยละจะทำอย่างไร ? ##
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://www.blockdit.com/posts/62a83da4f787f5a63019ae20
Source:
- การประปานครหลวง
- กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง กรมอนามัย
## ติดตาม "ทีทีดับบลิว" ได้แล้ววันนี้ทาง ##
Website:
www.ttwplc.com
Facebook: ttwplc
Instagram: ttwplc
Youtube: TTW Plc Channel
Linkedin: TTW Public Company Limited
Blockdit: TTW Public Company Limited
น้ำประปา
น้ำ
แร่ธาตุ
1 บันทึก
1
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ทำความรู้จักกับ...
1
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย