Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
1 ก.ค. 2022 เวลา 12:19 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
“Money Heist: Korea - Joint Economic Area” ต้องใช้เงินเท่าไหร่เพื่อให้โลกนี้เท่าเทียมขึ้น?
ยินดีต้อนรับสู่โลกแห่งทุนนิยม…
Money Heist: Korea - Joint Economic Area เป็นซีรีส์เกาหลีเรื่องล่าสุดที่รีเมคจากซีรีส์ดังของสเปน
โดยมีโครงเรื่องหลักเหมือนเดิมคือความพยายามที่จะต่อสู้กับระแบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่ถูกมองว่าเป็นระบบที่เอื้อให้คนรวยเท่านั้นที่จะรวยขึ้น ส่วนคนจนก็ถูกให้อยู่ภายใต้โลกที่บิดเบี้ยวและอยุติธรรมนี้ต่อไป
แต่ฉบับรีเมคของเกาหลีนี้ได้ใส่ความน่าสนใจมากขึ้น เมื่อเนื้อเรื่องสมมติว่าเกิดการรวมชาติ ทั้งชาวเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ที่มีภูมิหลัง แนวคิด และเติบโตมากับเศรษฐกิจการปกครองที่แตกต่างกัน ต้องมาใช้ชีวิตภายใต้โลกแห่งทุนนิยมอันเข้มข้น แล้วภารกิจการปล้นเงิน 4 ล้านล้านวอน เพื่อหวังกระจายความมั่งคั่งจึงได้เริ่มขึ้น
📌 แค่แจกเงินให้คนจน…ก็ลดความยากจนได้แล้ว?
ไอเดียการลดความยากจนแบบง่ายๆ ที่ทำกันมาทุกยุคทุกสมัยทั้งในประเทศรายได้ต่ำและประเทศรายได้สูง ก็คือการแจกเงินให้กับคนจนไปเลย องค์กรนานาชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น World Bank, USAID และองค์การสหประชาชาติ ก็ต่างช่วยเหลือทางด้านการเงินให้กับโปรเจคต่างๆ ที่นำเงินไปช่วยเหลือคนยากจน โดยเฉพาะประเทศในแถบแอฟริกา เพื่อหวังว่าคนเหล่านี้จะมีหลักประกันรายได้ขั้นพื้นฐาน
โดยปกติแล้วการให้เงินจะมีอยู่ 2 แบบ แบบแรกคือการให้แบบมีเงื่อนไข (Conditional cash transfers) โดยจะแจกเงินไปให้กับครัวเรือนที่ยากจน เพื่อช่วยเหลือทางด้านการศึกษาและสุขภาพ โดยหวังจะลดความยากจนผ่านทางการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ลดการใช้แรงงานเด็ก และปรับปรุงสุขภาพ โภชนาการของทั้งแม่และเด็ก
ส่วนการให้เงินแบบที่สอง เรียกว่าการให้เงินแบบไม่มีเงื่อนไข (Unconditional cash transfers) ซึ่งมักจะใช้ในประเทศรายได้ต่ำเนื่องจากการมากำหนดเงื่อนไชพิสูจน์ความยากจนนั้นดูจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก การให้เงินแบบนี้จึงเป็นเหมือนโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม (Social safety net) สำหรับทุกคน ในยามที่เกิดเรื่องไม่คาดคิดขึ้น
1
📌 เงินไม่สามารถซื้อได้ทุกสิ่ง…แต่หลายสิ่งต้องใช้เงินซื้อ
งานวิจัยของทางมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ศึกษาผลของการให้เงินเป็นรายบุคคลแก่ครัวเรือน ทั้งในประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง ตั้งแต่ปี 2000 ถึงปี 2015 แล้ววัดผลทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย
1.
ความยากจนทางด้านการเงิน
2.
การศึกษา
3.
สุขภาพและโภชนาการ
4.
การออมเงิน การลงทุนและการผลิต
5.
การทำงาน
6.
การอำนาจ
พบว่าคนที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจะมีการซื้ออาหารและสิ่งของต่างๆ มากขึ้น ทั้งยังมีการศึกษาและสุขภาพที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามไม่พบว่ามีผลกระทบทางด้านลบ เช่น ทำให้คนทำงานน้อยลงเพราะได้รับแจกเงิน
ซึ่งผลของงานวิจัยนี้ก็สอดคล้องกันการทดลองของ Stockton Economic Empowerment Demonstration (SEED) ที่ทดลองให้เงินขึ้นพื้นฐานแก่ประชาชนคนละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเวลา 2 ปี ผลออกมาว่าประชาชนที่ได้รับแจกเงิน มีรายได้ที่คงที่ขึ้น ช่วยให้พวกเขาหางานประจำได้มากขึ้น ลดความเครียดและความกังวลต่างๆ
1
พอฟังดูแบบนี้แล้ว หลายคนก็คงจะเห็นว่าเงินมันสามารถช่วยเข้าไปแก้ปัญหา และช่วยให้คนรายได้น้อยมีชีวิตที่ดีขึ้นได้จริงๆ ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่ถูก แต่ก็อาจจะถูกเพียงแค่ครึ่่งเดียวเท่านั้น เพราะในโลกเทาๆ ใบนี้ ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ยังไม่สามารถแก้ได้ด้วยเงิน หนึ่งในนั้นคือปัญหาเชิงโครงสร้าง
ปัญหาเชิงโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็น การกีดกันในด้านต่างๆ การมีรัฐบาลที่อ่อนแอ ไม่เป็นประชาธิปไตย หรือการค้าระหว่างประเทศที่ไม่เป็นธรรม สิ่งเหล่านี้เองก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดความยากจนขึ้นมาได้ แต่การจะแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างนี้จำเป็นจะต้องใช้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพื่อเข้ามาเปลี่ยนแปลงในระดับประเทศ หรือในระดับโลก ไม่ใช่แค่ว่าเอาเงินมาโปรยแล้วจะแก้ปัญหาได้โดยทันที
ดังนั้นการจะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความยากจนที่ฝังอยู่ในหลายมิติ จึงไม่อาจทำได้ด้วยการแจกเงินเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีการพิจารณาถึงปัญหาต่างๆ ที่คนรายได้น้อยเผชิญให้รอบด้าน เพื่อจะได้หาวิธีแก้ได้อย่างตรงจุด
และมีประสิทธิภาพที่สุด สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบทั่วถึงและมีมาตรการในหลากหลายรูปแบบเข้าไปแทรกแซงไม่ให้คนกลุ่มเปราะบางในสังคมต้องถูกทิ้งไว้ข้างหลัง จนรู้สึกว่าโลกนี้ช่างไม่ยุติธรรมกับพวกเขา แต่กลับอุ้มชูแต่คนร่ำรวยให้มีโอกาสสะสมความมั่งคั่งขึ้นไปอีกเรื่อยๆ
ถ้าชนชั้นเป็นมรดกตกทอดในเกาหลีเหนือ
ความมั่งคั่งก็เป็นมรดกตกทอดในเกาหลีใต้เหมือนกัน
(“If class is inherited in North Korea,
in the south, wealth is inherited.”)
Tokyo
ผู้เขียน: ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
●
https://www.cambridge.org/core/journals/journal-of-social-policy/article/abs/impact-of-cash-transfers-a-review-of-the-evidence-from-low-and-middleincome-countries/F8273371A30A504CBDCAFA32BF6F2EAD
●
Preliminary Analysis: SEED’s First Year |
socialprotection.org
หนัง
ซีรีส์เกาหลี
เกาหลีใต้
2 บันทึก
7
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Economic Edutainment
2
7
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย