2 ก.ค. 2022 เวลา 12:19 • ประวัติศาสตร์
บทเรียนการผิดชำระหนี้ในประวัติศาสตร์ ต่างกับของ “การผิดชำระหนี้ของรัสเซีย” ล่าสุดอย่างไร?
3
การผิดชำระหนี้ของประเทศรัสเซียเมื่อสัปดาห์ก่อนเป็นเหตุการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งในหน้าประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
เพราะว่า การผิดชำระหนี้ครั้งนี้ มีที่มาแตกต่างจากการผิดชำระหนี้ที่เราเคยเห็นและรู้จักจากบทเรียนในอดีต ซึ่งด้วยความแตกต่างนี้ ก็อาจจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่แตกต่างด้วยเช่นกัน
แต่เพื่อให้เข้าใจบริบทของประเทศรัสเซียในปัจจุบันได้ดีขึ้น เราจะย้อนกลับไปมองกรณีศึกษาของประเทศที่เคยผิดชำระหนี้ในอดีตกันก่อน
📌 กรณีศึกษาประเทศผิดชำระหนี้
1) สเปน 🇪🇸
เริ่มจากประเทศที่มีการผิดชำระหนี้มากครั้งที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งน่าจะสร้างความประหลาดใจให้กับหลายคนไม่น้อยเมื่อรู้ว่าเป็นประเทศนี้ เพราะในช่วงระยะเวลาหนึ่ง พวกเขาเคยเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลกก็ว่าได้ ประเทศนั้น คือ “สเปน”
โดยในช่วงเวลาระหว่างปีค.ศ. 1500 -1900 สเปนผิดชำระหนี้ไปถึง 13 ครั้ง!!
3
โดยช่วงที่สำคัญที่สุด คือ ช่วงการผิดชำระหนี้ 4 ครั้งแรกในสมัยพระเจ้าฟิลิปส์ที่ 2 แห่งสเปน
เริ่มครั้งแรกในปี 1557 และครั้งที่ 4 สุดท้ายในปี 1596
ที่บอกว่าการผิดชำระหนี้ครั้งนี้สำคัญที่สุด มาจากเหตุผลอย่างน้อยสองประการ
ประการที่หนึ่ง เหตุการณ์นี้เป็นการผิดชำระหนี้ต่อเนื่องหลายครั้งในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์
ประการที่สอง การผิดชำระครั้งนี้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับจุดตกต่ำของประเทศสเปน ก่อนที่จะถูกจักรวรรดิดัตช์เข้ามาครอบครองท้องทะเลด้วย
โดยมีงานศึกษาบอกไว้ว่า อันที่จริง ในช่วงการผิดชำระหนี้ 3 ครั้งแรก ประเทศสเปนยังมีฐานะการคลังที่ดีพอจะจ่ายหนี้อยู่ แต่เพียงขาดสภาพคล่องเท่านั้น และในช่วงระยะเวลานี้ แม้จะจ่ายหนี้ไม่ตรง ก็ยังสามารถกู้ยืมได้เพิ่มอยู่ เพราะเจ้าหนี้ก็ยังไว้ใจความยิ่งใหญ่ของสเปน
2
แต่เหตุการณ์สำคัญมาเกิดขึ้นหลังจากสเปนพ่ายแพ้ในสงคราม และทำให้สูญเสียกองเรือ “Invincible Amanda” ไป ซึ่งการพ่ายแพ้ครั้งนี้ ก็ทำให้ความพยายามในการกำราบอังกฤษและดัตช์ต้องเป็นอันถูกพับไปถาวร และก็ทำให้สองจักรวรรดินั้นตั้งตัวขึ้นมายิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
และก็นำมาสู่การผิดชำระหนี้ครั้งที่ 4 จากอำนาจทั้งทหารและการค้าที่ลดลงไปด้วย ซึ่งก็ส่งผลกับประเทศสเปนต่อมายาวนาน
1
2) กรีซ 🇬🇷
อีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจ คือ กรณีวิกฤติหนี้ของกรีซ ที่เกิดขึ้นหลังช่วงวิกฤติการเงินโลกปี 2008
วิกฤติหนี้ครั้งนั้น ที่กรีซต้องผิดชำระหนี้ไป ส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ไปสู่ประเทศอื่นที่อยู่ในสหภาพยุโรป (EU) ด้วย เพราะว่า หลายประเทศก็เป็นเจ้าหนี้ของกรีซเอง และพวกเขาก็ยังใช้เงินสกุลร่วมกันด้วย คือ เงินยูโร
ประเด็นสำคัญที่กรีซถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก คือ การปกปิดตัวเลขการใช้จ่ายและดุลงบประมาณของรัฐที่แท้จริง
เพราะตัวเองใช้จ่ายสุรุยสุร่ายเกินไป ผิดข้อตกลงที่ให้ไว้กับสหภาพยุโรป
1
ปัญหาหนี้ที่ลามไป ก็ยังทำให้ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ และค่าเงินของ EU ลดลงอย่างมากในตอนนั้น จึงทำให้ประเทศอื่นๆ ใน EU ไม่มีทางเลือก นอกจากต้องตัดสินใจตั้งกองทุนเข้ามาช่วยเหลือประเทศกรีซและประเทศอื่นที่ได้รับผลกระทบ
* เกร็ดความรู้ กรีกโบราณยังเป็นประเทศแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกว่าผิดชำระหนี้ด้วย โดยเหตุกาณ์นั้นเกิดขึ้นช่วง 400 ปีก่อนคริสตกาล
1
อย่างไรก็ดี ระดับหนี้ของประเทศเหล่านี้ก็ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการกระตุ้นเศรษฐกิจและใช้จ่ายของภาครัฐของกลุ่มประเทศ EU มาตลอด
และในช่วงที่จะมีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบัน หลายคนก็เริ่มแสดงความกังวลใจว่า อาจจะมีวิกฤติหนี้ของยุโรปเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งก็ได้
3) อาร์เจนตินา 🇦🇷
กรณีศึกษาสุดท้ายที่เราหยิบมา เป็นกรณีการผิดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนาอย่างอาร์เจนตินา ในช่วงปี 2001
2
โดยในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 อาร์เจนตินาเป็นประเทศดาวจรัสแสงแห่งหนึ่งของโลก มีการเข้าไปลงทุนจากต่างชาติจำนวนมาก ความเสี่ยงทางด้านค่าเงินไม่มาก (ในตอนนั้น) เนื่องจากมีการตรึงค่าเงินไว้กับดอลลาร์สหรัฐ
1
แต่การทำแบบนี้ก็มีต้นทุนอยู่ หากค่าเงินที่ตรึงไว้ถูกโจมตีหรือผันผวน ก็จำเป็นต้องอาศัยการแทรกแซงจากธนาคารกลางให้คงอยู่ได้
2
ปัญหาอีกอย่างของประเทศอาร์เจนตินาตอนนั้นก็คือ หนี้ต่างประเทศที่ค่อนข้างสูง แต่ในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตได้ดี ประเทศก็ยังหาเงินมาได้ ไม่มีปัญหาด้านการชำระหนี้แต่อย่างใด
1
จนกระทั่งเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งในเอเชีย ส่งแรงกระเพื่อมต่อไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ให้มีต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นด้วย
3
ประกอบกับในภาวะวิกฤติ เงินทุนจำนวนมากไหลกลับเข้าสู่ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อความปลอดภัย จึงทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า
2
เงินของอาร์เจนตินาก็อ่อนค่าลงไปกว่าเดิมอีก
ซึ่งในตอนแรก ทางอาร์เจนตินาก็ยังตัดสินใจที่จะยังคงค่าเงินไว้ แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มแย่ลง และเงินทุนที่ไหลออกไปหาประเทศอื่น พอเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนา ที่คนก็ยังไม่เชื่อมั่นเต็มร้อยอยู่แล้ว ทิศทางการไหลออกก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
2
ค่าเงินที่อ่อนรวมกับต้นทุนการกู้ยืมที่สูงก็ทำให้ประเทศผิดชำระหนี้ จนเกิดเป็นแผลทางเศรษฐกิจที่ยากจะแก้ไขต่อมา โดยเฉพาะกับประเทศกำลังพัฒนาแบบนี้
1
📌 ความต่างกับการผิดชำระหนี้ของรัสเซีย
จากบทเรียนในอดีต การผิดชำระหนี้ของประเทศมักจะเกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด โดยเฉพาะการก่อหนี้ที่เกือบจะถึงจุดปริ่มน้ำ อีกนิดก็จะชำระไม่ไหวแล้ว
และพอเกิดวิกฤติอะไรขึ้นมา จากที่แค่ปริ่มน้ำก็จะพาให้ไปสู่จุดจมน้ำ ชำระหนี้ไม่ไหวแล้ว ซึ่งแต่ละประเทศก็อาจจะมีปัจจัยที่แตกต่างกันไป ประเทศเล็ก ประเทศใหญ่ก็ได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน และก็มีคนยื่นมือให้ความช่วยเหลือไม่เหมือนกัน
แต่ส่วนสำคัญที่เหมือนกัน คือ การผิดชำระหนี้เกิดมาจาก “ผู้กู้” ที่จ่ายไม่ไหวเอง แต่ไม่ใช่กับสิ่งที่เกิดกับรัสเซีย
เพราะครั้งนี้รัสเซียมีเงินพร้อมจ่าย แต่เป็นทางชาติตะวันตกเองที่ปิดโอกาส ตัดรัสเซียออกจากระบบการชำระเงิน ทำให้พวกเขาไม่สามารถชำระหนี้ได้ทันเวลา
ซึ่งพอเหตุการณ์เป็นแบบนี้ เจ้าหนี้หลายคนก็ยังไม่ได้หมดหวังกับทางรัสเซีย และความเชื่อมั่นต่อสถานะการเงินรัสเซียก็ไม่ได้ดิ่งวูบไปจากช่วงก่อนหน้าเท่าไรนัก
แต่ไม่รู้ว่า ผลในทางตรงข้ามต่อความเชื่อมั่นในเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐและระบบการชำระเงินของตะวันตก ที่เป็นตัวกลางสำคัญในการชำระหนี้ระหว่างประเทศ จะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด
3
เพราะในอนาคต มันก็ไม่มีอะไรรับประกันได้เลยว่า ทางสหรัฐฯ และพันธมิตรจะไม่ใช้เครื่องมือนี้ในการโจมตีประเทศที่ไม่เห็นด้วยอีก ซึ่งแทนที่การคว่ำบาตรเหล่านี้จะเป็นการทำร้ายรัสเซีย จะกลายเป็นว่าทำร้ายตัวเองมากกว่าในระยะยาวก็ได้...
4
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา