4 ก.ค. 2022 เวลา 03:47 • หุ้น & เศรษฐกิจ
BBLAM Weekly Investment Insights 4 - 8 กรกฎาคม 2022
"จีนเริ่มต้นครึ่งปีหลังด้วยบรรยากาศที่คึกคัก ดังนั้นจากที่นักลงทุนตั้งคำถามต่อเป้าหมาย GDP ปี 2022 ที่ 5.5% ว่าจะบรรลุเป้าหมายได้หรือไม่ กลายเป็นนักลงทุนต้องกลับมาตั้งคำถามใหม่ว่าในครึ่งปีหลังนี้จีนจะทะยานเกินเป้าไปได้ไกลแค่ไหน"
วันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไปแล้ว เพราะมีข่าวว่า Ant Financial จะกลับมาระดมทุนได้ หรือจะมีการอนุมัติเกมส์ใหม่ ๆ ถึงสองล็อต หลายอย่างผ่อนคลายลง วันนี้ จึงอยากชวนนักลงทุนมาหาโอกาสการลงทุนในเทคฯจีนกัน
คุณมทินา วัชรวราทร CFA® Head of Investment Strategy จาก BBLAM อยากชวนนักลงทุนกลับมาสนใจโอกาสลงทุนในจีน วันนี้จึงนำเอาหุ้นเทคโนโลยีของจีนมาพูดกันอีกครั้งหนึ่ง เพราะที่ผ่านมา
หุ้นเทคโนโลยีจีนเป็น loser อย่างมาก เป็นตัวนำตลาดลงมาตั้งแต่ปี 2021 เพราะเรื่องที่รัฐบาลพยายามเข้ามาจัดระเบียบ กฎเกณท์ จนทำให้บริษัท Alibaba ต้องจ่ายค่าปรับเรื่องการครองตลาดที่มากเกินไป ทำให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีจีนไม่ได้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี Ant Financial ไม่สามารถ IPO ได้ หรือเป็นเรื่องที่ว่าทางการไม่อนุมัติให้ออกเกมส์ใหม่ ๆ นานนับปี
หลาย ๆ คนพูดถึง metaverse อเมริกา แล้ว วันนี้เราอยากจะมา สำรวจโลก Metaverse ฝั่งจีนบ้าง เพราะว่า Metaverse จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกทั้งหมดสามด้าน คือ
Meta-social จะทำให้การพูดคุยกันบนโลก social ไปได้ไกลกว่าแค่พิมพ์พูดคุยกัน เพราะ meta สามารถใช้ประโยชน์จาก ตัว avatar ที่ทำให้เราสามารถแสดงความรู้สึกนึกคิด แสดงสีหน้า อารมณ์ได้ อาจจะทำให้เกิด virtual idols ขึ้นมาในโลกเสมือนก็เป็นไปได้ เป็นการสร้างชุมชนออนไลน์ให้มีสีสันเพิ่มมากขึ้น
Meta- game เปลี่ยนการเล่มเกมส์เดิม ๆ กลายเป็น platform Metaverse ซึ่งจะทำให้ประสบการณ์การเล่นเกมส์เปลี่ยนไป และจะทำให้สังคมการเล่นเกมส์ใหญ่ขึ้น เพราะเราสามารถสร้างคอนเสิร์ตภายในเกมส์ สร้างกิจกรรมต่าง ๆ เป็นการดึงดูดคนเข้าไป คนที่ไม่เคยเล่นเกมส์ก็อาจจะเปลี่ยนใจหลังจากที่ได้เข้าไปสัมผัสเกมส์ในโลกเสมือนแล้ว นอกจากนี้ บริษัทเกมส์ยังสามารถมีรายได้จากการโฆษณาที่เพิ่มขึ้น จากสังคมเกมส์ที่จะใหญ่ขึ้นไปอีก
Metaverse จะเข้ามาเปลี่ยนการชอปปิ้ง เทคโนโลยี AR ทำให้ประสบการณ์การชอปปิ้งของคน เหมือนจริงมากขึ้น และยิ่งจะทำให้เกิดความอยากใช้จ่ายมากขึ้นในโลก metaverse
บริษัทจีนที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse และเป็นคู่แข่งที่เทคฯอเมริกาไม่ควรละสายตา ตอนนี้มีบริษัทจีนถึง 1,500 บริษัท กำลังขอจดทะเบียนทางการค้า เพื่อให้บริษัทสามารถเข้ามาทำธุรกิจ metaverse ได้ ที่ผ่านมา มีข่าวว่า จีนแบน Metaverse แต่ถ้าจีนต้องการเป็นผู้นำด้านเทคฯ แต่ไม่สนับสนุนให้เกิด Metaverse
จีนจะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีไม่ได้เลย รวมไปถึงอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่จีนต้องการจะพึ่งพาตัวเองให้ได้ด้วย เช่น การขับขี่อัตโนมัติ การผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่ซับซ้อน การพัฒนาอุตสาหกรรม เนื่องจาก Metaverse เป็นประตูบานสำคัญที่จะเปิดไปสู่โลกเทคโนโลยีขั้นถัดไป เพราะทำให้เทคฯอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับการพัฒนาไปด้วย
ขนาดตลาด Metaverse ของจีนจะโต 13% ต่อปี จนมีขนาด 1.5 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯภายในปี 2030 ก็คือจะมีมูลค่ามากกว่า ตลาด Metaverse ของอเมริกา ที่มากไปกว่านั้น Morgan บอกว่า ขนาดตลาด Metaverse ของจีนมีโอกาสไปถึง 8 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯในอนาคต และนี่ก็เป็นสาเหตุว่าทำไมบริษัทเทคใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นอเมริกาหรือจีนก็เข้าไปจับจองโอกาสในโลกเสมือน
ยกตัวอย่างบริษัทที่ทำ Metaverse
Tencent : ถ้าดูบริษัทเทคฯจีนทั้งหมด บริษัทที่มีศักยภาพมากที่สุด ก็คือ Tencent ซึ่งมีพื้นฐานธุรกิจของ Tencent ทำธุรกิจที่มี สามารถต่อยอดไปหา Metaverse ได้
ธุรกิจที่ Tencent มีแล้วเอามามัดรวมเพื่อสร้าง Metaverse ได้ ก็มีทั้ง Social network เช่น wechat, QQQ, Tencent Music (China’s spotify), Game, โฆษณาในแอปพลิเคชัน, ฟินเทคอย่าง wechat play ซึ่งมีผู้ใช้กว่า 900 ล้านคน นอกจากนี้ ก็ยังมี Tencent Meetings สำหรับการประชุม แล้วที่สำคัญก็มีคลาวด์ จะเห็นว่า สิ่งที่มีก็เหมือนกับการก้าวขาข้างหนึ่งไปรออยู่ใน Metaverse แล้ว นอกจากนี้ยังไปลงทุนในบริษัทที่ทำเกี่ยวกับอุปกรณ์ด้วย เช่น snapchat
ข้อได้เปรียบของ Tencent เน้นสร้างโครงสร้างพื้นฐานของ Metaverse ทำแบบขนาดใหญ่ครอบคลุม และมัดรวมทุกอย่าง เช่น เอาเกมส์ที่ตัวเองผลิตมารวมกับชุมชนออนไลน์ ใช้ประโยชน์จากฐานลูกค้าที่ตัวเองมี ซึ่งสิ่งที่ Tencent เริ่มทำแล้วก็คือการสร้างชุมชนบน เช่น Kandian (คั่นเตี่ยน) Community เป็นคอมมูนิตี้บน Metaverse ใน QQ ซึ่งมีคนใช้งานกว่า 186 ล้านคนต่อวันทั่วประเทศจีน เป็นสังคมเสมือนที่คนบน QQ สามารถเข้าไปใช้ได้
แต่ Tencent ก็มีจุดอ่อน คือ ไม่มีพวก Hardware ที่ผลิตเอง ทำให้ไม่ว่าจะผลิตเกมส์หรือ content อะไรออกมา จะต้องไปอยู่บนอุปกรณ์ของคนอื่น นี่ก็คือเหตุผลว่าทำไม Meta ถึงซื้อ Oculus แว่นสำหรับ VR หรือว่าบริษัท Snap ทำให้ผลิตแว่นของตัวเองออกมาเพื่อให้อุปกรณ์ค่อนข้าง match กับเนื้อหาที่มี แต่เหมือนล่าสุดในปีนี้ Tencent ก็มีไปซื้อบริษัททำอุปกรณ์ VR ที่ชื่อ blackshark มาแล้ว
และล่าสุด Tencent ตั้งหน่วยธุรกิจขึ้นมาเพื่อธุรกิจใน Metaverseโดยตรง เป็น extended reality united ใช้พนักงาน 300 คน เห็นได้ชัดว่า Tencent มุ่งมั่นมากแค่ไหน
Alibaba : อีกบริษัทที่เงินสดเหลือเยอะ Alibaba มีการลงทุนในด้าน Metaverse อยู่แล้ว เรื่องเครื่องหมายการค้า Alibaba ก็มีการจดไว้หลายชื่อเหมือนกัน ไม่แพ้ Tencent
นอกจากนี้ ในด้าน Hardware ก็ยังมีการลงทุน ใน Unicorn ที่ชื่อ Magic Leap บริษัทที่ทำแว่น AR VR device ตั้งแต่ปี 2016 ซึ่งสามารถใช้งานในองค์กรด้าน เช่น การประชุม การแพทย์ ซึ่งแว่นนี้ เล็ก เบา ออกมาถึงสองรุ่นแล้ว นอกจากนี้ ยังมีบริษัทลูกที่ทำเกี่ยวกับ Metaverse อีกมากมาย เช่น Yuanjing Shengsheng ที่ทำ software development and service เพื่อที่จะลองทำเกมส์ใน Metaverse
ข้อได้เปรียบของ Alibaba คือเป็นผู้นำในตลาดคลาวด์ เพราะว่า Metaverse ต้องมีระบบการบันทึก และประมวลผลที่ใหญ่มาก ยิ่งจำนวนผู้ใช้มาก เนื้อหาปริมาณมาก ก็ยิ่งต้องใช้คลาวด์ที่ใหญ่ ยิ่งคลาวด์ใหญ่ Metaverse ก็ใหญ่ได้ตาม Alibaba ก็เป็นผู้ได้เปรียบเพราะเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามรองจาก Amazon, Microsoft จุดแข็งของ Alibaba คือใช้คลาวด์ของตัวเอง รองรับโลก Metaverse ครอบคลุมทั้งด้าน E-commerce, Game, พื้นที่สังคมต่างๆ เช่นงานศิลปะ หรือพื้นที่อัจฉริยะต่างๆ ได้ทั้งหมด
แนะนำกองทุน B-CHINE-EQ และถ้าต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี แนะนำกองทุน B-CHINESSF และ B-CHINAARMF
เศรษฐกิจมหภาคในช่วง 1H2022 เผชิญกับปัจจัยรุมเร้ารอบทิศทั้งเรื่องเดิม (COVID-19, ปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทาน, ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ไต่ขึ้น) และเรื่องใหม่ (ความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างชาติมหาอำนาจ, ราคาพลังงานปรับตัวขึ้นสูง)
ส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจเริ่มพบกับทางตัน ซึ่งเมื่อปัจจัยด้านราคาเข้ามารุมเร้า และเป็นผลให้ธนาคารกลางจำเป็นต้องละนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย แล้วหันเข้าสู่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างจริงจัง
ซึ่งเมื่อผนวกกับภาวะทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปหลังโลกเผชิญกับการระบาดของโรคภัยครั้งใหญ่ ทำให้ประชาชนกลุ่มใหญ่ตัดสินใจหันหลังออกจากตลาดแรงงานไปตลอดกาลหรือที่เราเรียกกันว่า The Great Resignation ก็ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะงักงัน (Stagnation) กำลังจะดิ่งลงสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) หรือไม่
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าภาพใหญ่เชิงเศรษฐกิจ มีส่วนที่กระทบใจของนักลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง COVID-19 ที่เป็นช่วงของการเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ทำให้ผู้คนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันทาง Online และเสพข่าวกันได้เร็ว และไม่ว่าพาดหัวข่าวนั้นจะเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ก็ตาม การตัดสินใจชั่วครู่ด้วยอารมณ์ที่อ่อนไหวอยู่แล้วของนักลงทุน ก็ทำให้ตลาดกระพือทั้งในทิศทางที่บวกและลบอย่างผันผวนและกระทบต่อผลตอบแทนในการลงทุนในช่วงครึ่งปีแรก
ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จาก BBLAM ให้ความเห็นถึงมุมมองเศรษฐกิจในช่วงปีหลังนี้ว่า "ในช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดนั้น มักจะมีแสงสว่างเล็ก ๆ เสมอ เพราะเมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงกลางปี เราได้พบสัญญาณเชิงเศรษฐกิจบางอย่างที่อาจจะพอทำให้นักลงทุนใจชื้นได้บ้าง นั่นคือ
1) อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯน่าจะพีคพร้อมไต่ลง , 2) สถานการณ์ที่แย่ที่สุดในจีนน่าจะจบแล้ว และ 3) ระดับราคาพลังงานและอาหารไม่น่าจะสูงมากไปกว่านี้ แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เล็ก ๆ นี้น่าจะแจ่มชัดขึ้นเมื่อเข้าสู่ปลายปี
เราจึงมองว่าจังหวะนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับการเข้าลงทุนเน้นคุณภาพเพื่อสะสมต้นทุนต่ำ เนื่องด้วยตลาดซึมซับข่าวร้ายสะท้อนผ่านการปรับลดลงของราคาไปมากแล้ว"
ในเชิงของวัฏจักรเศรษฐกิจที่เข้าสู่โหมดกังวลต่อสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจนั้น การเลือกลงทุนในประเทศที่รองรับด้วย ปัจจัยหนุนภายใน และมีค่าสหสัมพันธ์ต่อดอกเบี้ยสหรัฐฯต่ำ เช่น จีน เวียดนาม ดูจะเป็นทางเลือกที่ดี ขณะที่นักลงทุนที่ยังนิยมลงทุนในกลุ่มประเทศ DM ในปีนี้อาจจะสามารถลงทุนเพื่อสะสมต้นทุนต่ำ (เพื่อรอรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว) โดยในช่วงที่เกิดข่าวร้าย หากสามารถยอมรับกับความผันผวนทางเศรษฐกิจมหภาคได้
แม้ว่าหุ้นจีนกำลังจะส่งสัญญาณว่ากำลังเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์แล้ว แต่ด้วยความที่เป็นประเทศกลุ่ม Emerging Markets จะให้ฟันธงไปเลยว่าไม่มีความเสี่ยงอีกแล้วก็คงยังไม่ได้
สำหรับมุมมองของครึ่งปีหลังที่ Spotlight เริ่มกลับไปส่องที่ประเทศจีน ทาง Economist จาก BBLAM ออกมาให้มุมมองที่น่าสนใจ ดังนี้
เศรษฐกิจจีนเผชิญความท้าทายรอบด้าน : ในช่วงต้นปี ตัวเลขเศรษฐกิจจีนรายเดือนถูกกดดันจากการระบาดของ Omicron อย่างมากเนื่องจากรัฐบาลจีนยังคงใช้นโยบาย Zero-covid Policy เป็นผลต้องมีการประกาศล็อกดาวน์ในหลายๆเมืองจึงได้ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศสะท้อนผ่านเครื่องชี้ดด้านการบริโภคและการลงทุนที่ดูแย่ลง ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากความตึงเครียดทางภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นปัจจัยรุมเร้าจากภายนอก
ทำให้นักลงทุนตั้งคำถามว่ารัฐบาลจะสามารถบรรลุเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ที่ 5.5% ได้หรือไม่
อย่างไรก็ตาม เมื่อผ่านเข้าครึ่งปีหลังปรากฏว่าหลาย ๆ เมืองในจีนได้ประกาศชัยชนะเหนือ COVID-19 ได้แล้วโดยที่เซี่ยงไฮ้และปักกิ่งได้ประกาศเปิดเมือง (ภายใต้เงื่อนไข) เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป เป็นการเริ่มต้นครึ่งปีหลังด้วยบรรยากาศที่คึกคัก ตัวเลขการบริโภคในร้านอาหาร คนเดินห้างสรรพสินค้า ยอดขายปลีกในสินค้ากลุ่มฟุ่มเฟือยขยับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว
พร้อมทั้งงานเซล 618 ซึ่งเป็นแคมเปญใหญ่ของบรรดา e-Commerce Platform เป็นการสะท้อนว่าการใช้จ่ายที่ถูกอั้นไว้ (Pent-up Demand) จะได้รับการไขก๊อกอีกครั้ง ดังนั้นจากที่นักลงทุนตั้งคำถามต่อเป้าหมาย GDP ปี 2022 ที่ 5.5% กลายเป็นนักลงทุนต้องกลับมาตั้งคำถามใหม่ว่าในครึ่งปีหลังนี้จีนจะทะยานเกินเป้าไปได้ไกลแค่ไหน
รัฐบาลและธนาคารกลางต่างระดมกำลังหนุนเศรษฐกิจ : รัฐบาลและธนาคารกลางของจีน (PBoC) ต่างผนึกกำลังเชิงนโยบายหวังปลุกจีนให้ฟื้นอีกครั้ง โดย PBoC ได้ผ่อนคลายเชิงนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2021 เป็นต้นมา
กระทั่งในช่วงเดือนพฤษภาคมของปี 2022 PBoC ได้ปรับลดอัตราเงินกู้สำหรับสินเชื่อบ้านเป็น 4.4% จากเดิมที่ 4.6% เป็นการส่งสัญญาณเชิงนโยบายว่าจะผ่อนคลายกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ไปก่อน หลังจากที่คุมเข้มในระยะก่อนหน้า พร้อมกันนี้ ทางฟากฝั่งรัฐบาลได้ออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ 33 รายการเพื่อเร่งให้รัฐบาลส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นออกมาตรการย่อยมารองรับ
ซึ่งภายหลังจากที่มีการประกาศนโยบายดังกล่าวออกมาพบว่าธุรกิจในกลุ่มค้าปลีก ยานยนต์ และ กลุ่มเทค ต่างทะยานราคาขึ้นมารับกับข่าวดีเชิงนโยบายนี้ จนทำให้หลายสำนักออกมาปรับมุมมองเชิงลงทุนที่มีต่อจีนเสียใหม่ว่า “Earning Downgrade น่าจะหยุดเพียงเท่านี้ และหุ้นจีนกำลังจะ Bottoming Out”
จีนจะปรับขึ้นแบบ "แมวดิ้นตาย" หรือ ปรับเป็น "ขากระทิง" ก็ยังมีประเด็นที่ต้องตามต่อ : แม้ว่าหุ้นจีนกำลังจะส่งสัญญาณว่ากำลังเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์แล้ว แต่ด้วยความที่จีนเป็นประเทศกลุ่ม Emerging Markets จะให้ฟันธงไปเลยว่าไม่มีความเสี่ยงอีกแล้วก็คงยังไม่ได้
เนื่องด้วยโดยพื้นฐานของเศรษฐกิจจีนนั้น ก็ยังมีกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เป็นงูที่ยังขว้างได้ไม่พ้นคอ ด้านความเสี่ยงจากปัจจัยทางการเมืองระหว่างประเทศก็ยังคงมีอยู่ แม้ว่าจีนค่อนข้างจะแสดงท่าทีที่เป็นกลางก็ตาม และเหนือสิ่งอื่นใดคือความเสี่ยงจาก COVID-19 เนื่องจากจีนยังคงให้ความสำคัญต่อการควบคุมการติดเชื้อเป็นหลัก หากการแพร่ระบาดของ COVID-19 กลับมาใหม่
ตลาดจีนอาจจะผงกหัวยืนต่อไม่ได้ แต่ถ้าหากรัฐบาลจีนปรับเปลี่ยนนโยบายในการควบคุม COVID-19 อย่างยืดหยุ่น ตลาดหุ้นจีน ณ ตอนนี้ก็จะมี Policy Spring Board ให้ทะยานตัวต่อไปได้ในปีนี้
แนะนำกองทุน B-CHINE-EQ และถ้าต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี แนะนำกองทุน B-CHINESSF และ B-CHINAARMF
ผู้จัดการกองทุน AXA ซึ่งเป็นผู้บริหารกองทุนหลักของ B-HY (UH) AI และ B-HY (H75)AI เปิดเผยถึงภาพรวมตลาดของตราสารหนี้ประเภท High yield bond ในตลาดสหรัฐอเมริกา ว่ามีผลประกอบการไตรมาส 1/2022 ของบริษัทประเภท High Yield ซึ่งมีทิศทางคล้าย ๆ กับช่วง ไตรมาส 4/2021 โดย จำนวนบริษัทที่กำไรออกมาดีกว่าคาด 49% (4Q/2021 อยู่ที่ 38%)
ในขณะที่มีผลประกอบการที่ต่ากว่าคาดจำนวน 17% (4Q/2021 อยู่ที่ 18%) และจำนวนบริษัทที่ให้มุมมองที่เป็นบวกต่อผลประกอบการในไตรมาสถัด ๆ ไป มีถึง 35% (4Q/2021 อยู่ที่ 25%)
ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทยังคงแข็งแกร่ง อัตราการผิดนัดชำระหนี้ปัจจุบันยังคงอยู่ต่ำกว่า 0.5% และน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 25 ปี ที่ 3% เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตราสารหนี้ประเภท High Yield ถูกปรับอันดับความน่าเชื่อถือขึ้นอย่างต่อเนื่อง
พอร์ตของกองทุนหลักเอง ณ สิ้นเดือนเมษายน มี Yield to worst ที่ 7.14% (ไม่รวมเงินสด) ซึ่งสูงกว่า Benchmark ของกองทุนหลัก (ICE BofA US High Yield) ที่ 7.05% กองทุนมีกลยุทธ์ที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือระยะสั้น โดยมีอายุตราสารเฉลี่ยของพอร์ต (Duration) 4.3 ปี ต่ำกว่า Benchmark ที่ 4.6 ปี ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้กองทุนหลักมีผลตอบแทนมากกว่า Benchmark
และในการเลือกบริษัทที่ลงทุนก็เป็นส่วนสนับสนุนให้กองทุนมีผลตอบแทนมากกว่า Benchmark ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทในกลุ่มเฮลธ์แคร์ ค้าปลีก และพลังงาน
ผู้จัดการกองทุน AXA มองว่าในช่วงที่ทุกสินทรัพย์มีความผันผวนทั้งจากเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน และสงครามระหว่างรัสเซียยูเครนนั้น สินทรัพย์ประเภท US High Yield มีแนวโน้มที่จะมีความผันผวนน้อยกว่าสินทรัพย์อื่นโดยเปรียบเทียบ
เพราะมีบริษัทที่เกี่ยวข้องกับพลังงานในสัดส่วนสูงที่สุด และการดำเนินธุรกิจอยู่ในสหรัฐฯเป็นหลัก มีความเสี่ยงจากรัสเซีย/ยุโรป ต่ำ
แนะนำกองทุน B-HY (H75) AI
วิธีที่เปรียบเทียบง่ายที่สุดว่าระหว่างกองทุนประเภทโกลบอลอินฟราสตรัคเจอร์ และกองทุนที่ลงทุนใน REITs อันไหนจะให้โอกาสที่ดีในการลงทุนในช่วงเงินเฟ้อมากกว่ากัน ก็คงต้องนำธุรกิจของสินทรัพย์ที่ทั้งสองกองทุนที่สามารถลงทุนได้มาเปรียบเทียบกันว่าใครจะมีโอกาสที่ได้ผลตอบแทนจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้มากกว่ากัน
เรามาเริ่มต้นดูที่กองทุนที่ลงทุนใน REITs ซึ่งส่วนมากจะมีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุน ,REITs หรือ ETF ในอสังหาริมทรัพย์, โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งธูรกิจในกลุ่มนี้จะมีรายได้จากกลุ่ม Retail กลุ่ม office และกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่ ก็จะเป็น กลุ่มคมนาคม เช่น รถไฟฟ้า สนามบิน หรือกลุ่มสื่อสาร เช่น บริการเครือข่ายสัญญาณไร้สาย เป็นต้น
สำหรับมุมมองของผู้จัดการกองทุน B-IR-FOF ของ BBLAM เองมองโอกาสในช่วงนี้ว่า ส่วนแรก ได้แก่ Property / REITs/ IFF ของไทย ขณะนี้ให้น้ำหนักลงทุนกับ Retail และ IFF โดยมองว่ากลุ่ม Retail ฟื้นตัวได้ดี เพราะช่วงโควิดได้มีการลดค่าเช่า ลงไปมากแล้ว ในไตรมาส 1/2022 ค่าเช่าเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น
และคาดว่าสิ้นปีนี้ค่าเช่าจะปรับเข้าสู่ระดับก่อนโควิด และอัตราผู้เช่า (OccupancyRate)อยู่ในเกณฑ์ดี เฉลี่ยประมาณ 90% และกลุ่ม IFF หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ที่มีรายได้สม่า เสมอ และ ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อจากัด มีสัญญาเช่าระยะยาว มีการกำหนดค่าเช่าชัดเจน
ในขณะที่ลดน้ำหนัก กลุ่มโรงแรม เพราะ ยังต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวซึ่งยังเพิ่มขึ้นไม่มากนัก และกลุ่ม Office เนื่องจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น มีการลดขนาดสำนักงาน อีกทั้ งยังมี Supply เพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ จึงมองว่าอัตราค่าเช่ายังมีความเสี่ยงอยู่
ขณะที่ Property / REITs/ IFF ของสิงคโปร์ มีข้อดีในด้านสภาพคล่องสูงและมีการเพิ่มสินทรัพย์ใหม่ๆ เข้ามาในกองทุนเสมอ อีกทั้งได้ประโยชน์จากการเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว มีการท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นชัดเจน โดยด้านการใช้จ่ายกลับมาอยู่ในระดับก่อนโควิดแล้ว
ผู้จัดการกองทุนให้น้ำหนักลงทุนกับกลุ่ม Retail กลุ่ม Office และกลุ่มโรงแรม โดยกลุ่ม Office จะมีดีมานด์จากจีนและฮ่องกงมากขึ้น และกลุ่มโรงแรมนอกจากจะได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีการจัดประชุมสัมมนาเพิ่มขึ้นด้วย
คราวนี้มาดูในส่วนของกองทุนที่ลงทุนใน "หุ้นโกลบอล อินฟราสตรัคเจอร์" ซึ่งกองทุนประเภทนี้มักจะตั้งในผลการดำเนินงานเอาชนะเงินเฟ้อโดยตรง อย่างเช่น กองทุน B-GLOB-INFRA ซึ่งมีนโยบายลงทุนในในหน่วยลงทุนของ Legg Mason ClearBridge Global Infrastructure Income Fund (กองทุนหลัก)
ซึ่งกองทุนหลักเองมีเป้าหมายที่จะเอาชนะเงินเฟ้อเฉลี่ยของประเทศในกลุ่ม G7 ในระดับ +5.5% ดังนั้น กองทุนนี้ เป็นกองทุน inflationary hedge หรือ ป้องกันเงินเฟ้อได้ โดยกองทุนก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งถ้าดูผลตอบแทนปีต่อปี ก็พบว่า สามารถทำได้ดีกว่าดัชนีชี้วัดที่เป็นเงินเฟ้อประเทศในกลุ่ม G7 +5.5% เกือบทุกปี ยกเว้นปี 2015 และปี 2018
ถึงแม้ว่าลักษณะธุรกิจอินฟราสตรัคเจอร์จะมีหลายกลุ่ม แต่มีอยู่ 2 กลุ่ม ที่ให้ความสำคัญในการลงทุน ได้แก่
Regulated Assets หรือโครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนสูง รัฐบาลพยายามสนับสนุนให้เอกชนลงทุน โดยเสนอผลตอบแทนที่คุ้มค่าให้ เช่น เสาไฟฟ้า สายสื่อสาร หรือท่อก๊าซ เป็นต้น จุดเด่นของโครงสร้างพื้นฐานประเภทนี้ คือ ค่อนข้างปลอดภัย เพราะเศรษฐกิจจะดีหรือแย่ คนก็จำเป็นต้องใช้ แถมการแข่งขันทางธุรกิจก็ค่อนข้างต่ำ เพราะปกติรัฐบาลมองความคุ้มค่าเป็นหลัก
ก็อาจเปิดให้มีเอกชนลงทุนไม่กี่รายเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนและหารายได้
User Pays Assets หรือโครงสร้างพื้นฐานที่ผู้ใช้เต็มใจจ่ายเอง เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย เช่น รถไฟ สนามบิน หรือทางด่วน เป็นต้น โครงสร้างพื้นฐานประเภทนี้ รัฐบาลมักให้เอกชนลงทุน แล้วทำสัญญาระยะยาวเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ แต่ต่างจาก
User Pays Assets ต่างกับ Regulated Assets ตรงที่ User Pays Assets ตรงที่มีโอกาสการเติบโตมากกว่า ถ้าอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น
เพราะคนยินดีจ่ายเพื่อใช้งานมากขึ้น แต่ในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี จำนวนคนใช้ก็อาจจะลดลงได้เช่นกัน ทำให้กลุ่มนี้มีความเสี่ยงในเชิงรายได้มากกว่า ซึ่งผู้จัดการกองทุนเองก็จะลดน้ำหนักลงทุนใน User Pays Assets ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีได้
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกองทุนที่ลงทุนใน REITs และกองทุนที่ลงทุนในหุ้นโกลบอลอินฟราสตรัคเจอร์แล้ว จะเห็นถึงโอกาสที่ลงทุนในภาวะเงินเฟ้อมีเหมือนกัน แต่จะต่างกันตรงที่ หุ้นโกลบอลอินฟราสตรัคเจอร์จะเก็บโอกาสได้มากกว่า เพราะหุ้นโกลบอลอินฟราสตรัคเจอร์เหล่านี้ ธุรกิจสามารถรักษากระแสเงินสด หรือผลประกอบการได้ ในช่วงที่ต้นทุนปรับเพิ่มขึ้น จากคุณสมบัติเด่น 2 อย่าง คือ ความสามารถปรับขึ้นรายได้ เพราะรัฐบาลต้องจูงใจให้เอกชนอยากลงทุน
ดังนั้นมักจะทำสัญญาระยะยาว โดยในสัญญาเปิดทางให้ปรับขึ้นราคาได้ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป เช่น เงินเฟ้อ ส่วนอีกอย่างคือ เวลาขึ้นราคาไปแล้ว ปริมาณการใช้งานก็ถูกกระทบน้อย เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต
ประกอบกับธุรกิจนี้ได้รับโอกาสจากเม็ดเงินมหาศาลของภาครัฐที่เข้ามาลงทุนจากทั่วโลก โดยในฝั่งประเทศกำลังพัฒนา มีความต้องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอีกมาก จากเมืองที่ขยายตัว และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโต แม้แต่ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ยังประกาศลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่ม เพื่อให้เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ
ส่วนประเทศพัฒนาแล้ว ก็เน้นซ่อมแซม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเดิม โดยคาดว่า ในอนาคตประเทศพัฒนาแล้ว จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับไฟฟ้าและพลังงานมากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานสะอาด ส่วนหนึ่งมาจากผลของสงครามที่ทำให้ประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะยุโรปและสหรัฐฯ ตื่นตัวพัฒนาระบบพลังงาน
ลดพึ่งพาการนำเข้าจากรัสเซีย ควบคู่กับการเดินหน้าลดปล่อยก๊าซคาร์บอน ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ยุโรป ออกแผนพลังงาน REPowerEU ส่วนสหรัฐฯ ก็มีแผน Biden Infrastructure Plan ซึ่งคาดว่าจะใช้งบกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ลงทุนพลังงานหมุนเวียน พัฒนาระบบน้ำ พัฒนาทางรถไฟ และ 5G
แนะนำกองทุน B-GLOB-INFRA และ B-IR-FOF และถ้าต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี แนะนำกองทุน B-IR-FOFRMF
ที่ผ่านมากูรูต่างๆ ก็จะแนะนำนักลงทุนให้ลงทุนเป็นพอร์ต เลือกกองทุนที่ธีมหรือเป็นเทรนด์ระยะยาว กำหนดสัดส่วนหุ้นและตราสารหนี้ ให้เหมาะสมกับความเสี่ยงของเรา แต่นักลงทุนไม่น้อยก็ปวดหัวทำไม่ถูก ไม่รู้ตอนนี้ควรปรับพอร์ตยังไง ยิ่งปีนี้ก็มีเหตุการณ์ที่มากระทบตลาดเยอะไปหมด
BBLAM มีกองทุนที่จัดเป็นพอร์ตให้นักลงทุนคือไม่ต้องมานั่งเลือกเองว่าจะเอากองไหนเท่าไร นั่นคือ BMAPS ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะเลือกลงทุนให้เองว่าตอนนี้จังหวะนี้ควรลงทุนกองทุนไหนจาก BBLAM
ซึ่ง BMAPS เองจะประกอบด้วย 3 กองทุน ได้แก่ BMAPS25, BMAPS55 และ BMAPS100 ซึ่งไม่ยากในการเลือก เพราะแค่เลือกว่าตัวเองต้องการกองที่มีกองหุ้นไม่เกิน 25% ของพอร์ต ก็จะเสี่ยงต่ำหน่อย หรือมีหุ้นไม่เกิน 55% ของพอร์ตก็จะกลางๆ หรือ BMAPS100 ที่ลงหุ้นเต็มๆ 80-100% ให้นักลงทุนเลือกตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และเหมาะสมกับตัวเอง
วันนี้เก็บเรื่องเล่าจากผู้จัดการกองทุน BMAPS เพราะในช่วงที่ผ่านมา มีการประเมินและปรับพอร์ต BMAPS ไว้ล่วงหน้าเพื่อรับความผันผวนที่คาดเดาได้ว่าจะมีในปีนี้
ทั้งนี้มีการปรับลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 เนื่องจากมองเห็นแล้วว่า
ในปี 2022 จะเป็นปีที่ธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลก ยกเว้นประเทศจีน เริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ย และลดการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังต่าง ๆ ที่อัดเงินเข้าระบบ จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ว่างงานหรือได้รับผลกระทบจากโควิด รวมถึงดึงเงินที่อัดเข้ามาออกจากระบบด้วย
ประกอบกับมูลค่าหุ้นค่อนข้างแพง เมื่อเทียบกับปัจจัยพื้นฐาน หลายประเทศ ตลาดหุ้นทำ All Time High
ส่วนหุ้นจีนก็ปรับลดน้ำหนักหุ้นจีน ตั้งแต่เดือนเมษายน 2021 เนื่องจากจีนมีปัจจัยกดดันตลาดเยอะในช่วงนั้นทั้ง การคุมเข้มภาคธุรกิจกลุ่มเทคโนโลยี เพื่อป้องกันการผูกขาดหรือการเอารัดเอาเปรียบ การควบคุมสถานศึกษาและสถาบันกวดวิชาให้เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร เป็นต้น ตามมาด้วยปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ในภาค
อสังหาริมทรัพย์ ล้วนแต่เป็นปัจจัยกดดันตลาดและกระตุ้นเงินทุนไหลออกจากจีน และหุ้นจีนหลายตัวก็ราคาสูง
BMAPS ไม่มีการลงทุนใน B-FINTECH และลงทุนใน B-GTO, B-USALPHA และ B-NIPPON ค่อนข้างน้อย เนื่องจากดอกเบี้ยขาขึ้น
จะส่งผลต่อหุ้นประเภท Growth
ขณะที่ฝั่งตราสารหนี้ก็ทยอยขาย BFIXED และลงทุน B-TREASURY ตั้งแต่ปีที่แล้ว
การปรับพอร์ตของผู้จัดการกองทุนเพื่อเตรียมรับมือผลกระทบที่คาดเดาได้นี้แต่เนิ่น (ไม่นับรวมผลของความไม่สงบที่เกิดขึ้นในยุโรปที่คาดเดาไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้น)
การลดสัดส่วนกองหุ้นลงและถือเงินสดมากขึ้น ตั้งแต่ปลายปีก็ช่วย Save/ ผลตอบแทนกองทุน BMAPS ในส่วนของหุ้นให้มีผลตอบแทนที่ติดลบน้อยกว่าที่ควรจะเป็นถึง 10% ส่วนตราสารหนี้ ก็ช่วยให้ผลตอบแทนดีกว่าเกือบ 1% ซึ่งถือว่าเยอะสำหรับตราสารหนี้
แนะนำกองทุน BMAPS25, BMAPS55 และ BMAPS100
และถ้าต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี แนะนำกองทุน BMAPS25RMF, BMAPS55RMF และ BMAPS100RMF
ท่านสามารถแจ้งสมัครรับข่าวสาร BBLAM Weekly Investment Insights ได้ที่ bblampr1@bblam.co.th
#BBLAM #BBLAMWeeklyInvestmentInsights #bualuangfund #กองทุนบัวหลวง #ธนาคารกรุงเทพ #bualuangexclusive #allgenenjoy

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา