5 ก.ค. 2022 เวลา 11:45 • ประวัติศาสตร์
ระบบการจัดการน้ำในเมืองสุโขทัย EP1: การกักเก็บน้ำไว้ใช้ในเมือง
เมืองสุโขทัยตั้งอยู่ที่บนที่สูงลาดเชิงเขา มีภูเขาอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองและห่างจากแม่น้ำยม จึงอาศัยน้ำจากลำน้ำยมไม่ได้ แต่จะมีคลองแม่ลำพันไหลผ่านทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของเมือง ไหลลงสู่แม่น้ำยม จึงมีปัญหาในฤดูฝน เพราะจะมีน้ำป่าไหลหลากเข้าทำลายสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนและไร่นาเรือกสวน ส่วนฤดูร้อนก็แล้งน้ำ
ด้วยเหตุนี้สุโขทัยจึงสร้างสรรค์ระบบการจัดการน้ำไว้สำหรับบริโภคอุปโภค ด้วยการสร้างทำนบดินขนาดใหญ่ขวางกั้นหุบเขาพระบาทใหญ่กับเขากิ่วอ้ายมา ซึ่งห่างกนประมาณ 400เมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง เรียกว่า สรีดภงส์หรือ ทำนบพระร่วง สำหรับกักเก็บน้ำไว้ภายในหุบเขา
สรีดภงส์หรือ ทำนบพระร่วง
แล้วสร้างคันดินบังคับน้ำและคลองส่งน้ำ ตลอดจนวางท่อส่งน้ำที่สร้างด้วยดินเผาหรือสังคโลก เรียกว่า "ท่อพระร่วง" ส่งน้ำเข้าไปในตัวเมืองและบริเวณใกล้เคียง เพื่อกักเก็กน้ำในสระน้ำขนาดใหญ่น้อยที่เรียกว่า "ตระพัง" ซึ่งมีอยู่มากกว่า 400 แห่ง รวมทั้งมีการขุดบ่อน้ำกรุอิฐจำนวนมากเพื่อใช้สอย ทำให้พื้นที่สุโขทัยไม่ขาดแคลนน้ำ มีการชลประทานเพื่อการเกษตร ทำให้สามารถผลิตพรรณธัญญาหารได้อย่างอุดมสมบูรณ์
ตระพังสระศรี กลางเมืองสุโขทัย
อ้างอิง: หนังสือ"ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย " ของศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา