12 ก.ค. 2022 เวลา 04:43 • ประวัติศาสตร์
เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน ฉบับตุรกี
ระหว่างปี ค.ศ.1976-1980 ความมั่นคงของตุรกีเป็นอันต้องสั่นคลอนเมื่อมีความรุนแรงทางการเมือง และปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้า คณะรัฐประหารนำโดย เคนาน เอฟราน(Kenan Evran) จึงยึดอำนาจและเข้าปกครองประเทศ ทำให้ชาวตุรกีลี้ภัยไปต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
คณะรัฐประหารประกาศยึดอำนาจ source:aa.com.tr
ความรุนแรงทางการเมืองเกิดจาก กลุ่มขวาจัดชาตินิยม และ กลุ่มซ้ายจัดนิยมคอมมิวนิสต์ ได้ทำการห่ำหั่นทำสงครามระหว่างกัน และมีตัวเสริมคือพรรคแรงงานชาวเคิร์ด หรือ PKK ได้ก่อความวุ่นวายเพื่อแยกตัวออกจากตุรกี กองทัพเองเมื่อได้รู้ถึงความไม่สงบทางการเมืองก็ได้วางแผนรัฐประหาร
อับดุลละห์ โอจาลาน ผู้ก่อตั้ง PKK(เสื้อเขียว) source:seyler.eksiksozluk.com
12 กันยายน 1980 กองทัพตุรกีทำรัฐประหารยึดสภา ประกาศกฏอัยการศึกตามวิทยุ และให้สัญญาว่าจะอยู่จนกว่าจะสามารถมอบความสงบและประชาธิปไตยให้กับประชาชนได้ ในระหว่างที่ยึดอำนาจกองทัพได้ควบคุมสื่อ และส่งคนเข้าไปควบคุมหลักสูตรของมหาวิทยาลัย นักศึกษาและอาจารย์หลายคนถูกจับเพราะมีความคิดที่ไม่ตรงกับจริยธรรมของกองทัพ นักข่าวหลายคนถูกคุกคาม หนังสือพิมพ์และหนังต่างๆถูกแบน
source:ilkha.com
กองทัพตุรกีถูกก่อตั้งโดย มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก(Mustafa Kemal Atatürk) นายพลผู้กอบกู้ชาติจากการถูกยึดครอง นายพลมุสตาฟาเป็นประธานาธิบดีคนแรกของตุรกี เขามีแนวคิดคือการพัฒนาชาติให้ทันสมัยเท่ายุโรป นำศาสนาออกจากการเมือง และรวมชาติตุรกี กองทัพตุรกีเองได้รับอิทธิพลของนายพลมุสตาฟา เมื่อมีความรุนแรงทางการเมืองและความต้องการแบ่งแยกดินแดนของ PKK เกิดขึ้นกองทัพจึงถือว่าเป็นหน้าที่ในการควบคุมสถาณการณ์ไว้
เคนาน เอฟราน หัวหน้าคณะรัฐประหาร source:dailysabah.com
คณะรัฐประหารได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นโดยอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับเก่าไม่มีความเป็นประชาธิปไตย แต่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เองก็ถูกวิจารณ์เป็นอย่างหนักว่าเอื้อประโยชน์ต่อคณะรัฐประหาร เพราะผู้ร่างรัฐธรรมนูญถูกแต่งตั้งจากคณะรัฐประหาร คณะรัฐประหารได้จัดการเลือกตั้งก็จริงแต่พรรคการเมืองที่สมัครต้องผ่านการเห็นชอบจากสภาความมั่นคงแห่งชาติซึ่งถูกจัดตั้งจากคณะรัฐประหารซึ่งมีเพียงพรรคเดียวที่ผ่าน หัวหน้าคณะรัฐประหารเองก็ถูกแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดียาวถึงเจ็ดปี
ในการรัฐประหารครั้งนี้มีผู้ถูกขึ้นบัญชีดำถึง 1.683.000 คน ถูกคุมตัว 650.000 คน ถูกขึ้นศาล 230.000 คน ถูกประหาร 517 คน มีผู้ลี้ภัยทางการเมือง 30.000 คน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา