5 ก.ค. 2022 เวลา 12:18 • สุขภาพ
#HFCSน้ำตาลมหาภัย !!
🍹 ถ้าจะพูดถึงสารให้ความหวาน (Sweeteners) ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันในการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เราจำเป็นต้องรู้จักกับ High Fructose Corn Syrup (#HFCS) ครับ เพราะเป็นน้ำตาลที่ใช้มากในอุตสาหกรรมขนม เครื่องดื่มต่าง ๆ มากมาย (บางครั้งใช้คำว่า กลูโคสไซรัป) เนื่องจากผลิตได้ง่าย ต้นทุนต่ำ และยังมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 1.73 เท่า
🍹 HFCS มีส่วนผสมของ #น้ำตาลฟลุกโตส และ #น้ำตาลกลูโคส ในสัดส่วนต่าง ๆ แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่มต่างๆ คือ HFCS 55 % หมายถึง มีน้ำตาลฟลุกโตสอยู่ 55 % อีก 45 % เป็นน้ำตาลกลูโคส
🍹 การที่เราทาน HFCS มากจนเกินไปนั้นเป็นประเด็นที่ต้องระวัง เนื่องจาก HFCS เป็นน้ำตาลสังเคราะห์ย่อมส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะโรคที่ฮอตฮิตในปัจจุบัน ได้แก่ Metabolic syndrome ที่ประกอบด้วย 1. อ้วนลงพุง 2. น้ำตาลในเลือดสูงหรือเบาหวาน 3. ความดันเลือดสูง 4. ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และ 5. HDL cholesterol ในเลือดต่ำ รวมถึงมี โรคไขมันเกาะตับ (Fatty liver) และ กรดยูริกในเลือดสูง (จะเห็นว่าหากตรวจพบว่ากรดยูริกสูงควรต้องระวัง อาหาร เครื่องดื่มที่หวาน ๆ ด้วย) เป็นต้น
🌿 ดังนั้น ดีที่สุด คือ การทานหวานให้น้อยจนติดเป็นนิสัย เลี่ยงอาหาร เครื่องดื่มที่เพิ่มน้ำตาลเข้าไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตาล HFCS เพียงเท่านี้เราก็สามารถลดความเสี่ยงการเป็นโรค หรือ ความเสื่อมต่าง ๆ ออกได้หลายอย่างแล้วครับ
#References Sources
.
(1) The beverage Institute for Health and Wellness. Understanding High Fructose Corn Syrup. Retrieved May 20, 2015, from http://www.beverageinstitute.org/article/ understanding-high-fructose-corn-syrup/
.
(2) Bray,G.A., Nielsen S.J. & Popkin, B.M.(2004).Consumption of high-fructose corn syrup in beverages may play a role in the epidemic of obesity. Am J Clin Nutr,79, 537–543.
.
(3) Mercola. (2010). HFCS: This Common Food Ingredient Can Really Mess Up Your Metabolism. Retrieved May 20, 2015, from http://articles.mercola.com/sites/articles/ archive/2010 /01/02/highfructose-corn-syrup-alters-human-metabolism.aspx>
.
(4) Elliott, S.S., Keim, N.L., Stern, J.S., Teff,K. & Havel, P.J.(2002).Fructose, weight gain, and the insulin resistance syndrome. Am J Clin Nutr ,76, 911–922.
.
(5) Undurti N. Das. Sucrose, fructose, glucose, and their link to metabolic syndrome and cancer. Nutrition 31(2015) 249–257. Retrieved May 20, 2015, from http://www.nutritionjrnl.com/article/S0899-9007(14)00282-2/pdf
โฆษณา