14 ก.ค. 2022 เวลา 02:00 • การศึกษา

เข้าพรรษา ไม่ได้เกิดจากพระภิกษุไปเหยียบข้าวกล้าของชาวบ้าน

.
ผมเคยได้ยินคำอธิบายมาตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติเรื่องเข้าพรรษา เพราะพระภิกษุไปเดินเหยียบข้าวกล้าของชาวบ้าน ชาวบ้านจึงตำหนิติเตียน
เมื่อผมโตขึ้นก็รู้สึกว่า คำอธิบายนี้ฟังไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไหร่
พระภิกษุทั้งหลายในสมัยนั้น ไม่ว่าจะมาจากวรรณะใดก็ตามท่านอยู่ในสังคมเกษตรกรรม ท่านย่อมรู้ว่าตรงไหนนา คันนา และถนนหนทางดีอยู่แล้ว ท่านย่อมพยายามเลี่ยงการเบียดเบียนชาวบ้านที่ไม่เกิดผลดีอะไรต่อพระพุทธศาสนาและตัวท่านเอง
1
ถ้าหากบอกว่าอาจจะมีพระภิกษุจากบางชั้นวรรณะไม่รู้จักเรื่องนา ก็คงต้องยกเรื่องจากพระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก จุลวรรค สังฆเภทขันธกะ ที่ว่า เจ้าชายอนุรุทธะปฏิเสธราชสมบัติของแคว้นสักกะออกผนวช เพราะไม่ต้องการที่จะทำนาขึ้นมา
1
ขนาดระดับผู้ปกครองแว่นแคว้น (จะเรียกว่าประเทศก็ได้) ยังรู้จัก เป็นไปไม่ได้ที่ท่านที่มาจากวรรณะอื่นจะไม่รู้จัก
เมื่อลองไปเปิดพระไตรปิฎก ที่พระวินัยปิฎก มหาวรรค วัสสูปานายิกขันธกะ ที่ทรงบัญญัติเรื่องเข้าพรรษาดูก็พบว่า
ไม่มีคำว่า ข้าวกล้า หรือ สสฺสานิ ในภาษาบาลีอยู่เลย
กลับพบคำว่า ติณานิ ที่แปลว่า หญ้า เท่านั้น
ที่จริงแล้วทรงห้ามเพราะฤดูฝน ติณชาติคือหญ้ากำลังขึ้นเขียวสด คนอินเดียสมัยนั้นเชื่อว่า หญ้าเป็นชีวะอย่างหนึ่ง
ก็เลยมองว่าเป็นการเบียดเบียนชีวะ รวมถึงเหยีบสัตว์เล็ก ๆ ตายถึงแม้ไม่ได้ตั้งใจก็ตาม อีกอย่างพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์นอกศาสนาก็ยังหยุดพักในช่วงนี้ อาจจะด้วยคิดถึงความเชื่อที่ว่า จึงเกิดการตำหนิติเตียนขึ้นมา
1
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงมีพุทธบัญญัติเรื่องการเข้าพรรษาของพระภิกษุขึ้นมานั่นเอง
1
ที่มาภาพ e-library.siam.edu

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา