Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สุขภาพดีไม่มีในขวด
•
ติดตาม
17 ก.ค. 2022 เวลา 02:31 • สุขภาพ
🦷 ปวดฟันคุด กินยาก็พอแล้ว จริงหรือ?
===========================
เจ้าฟันคุดแม้จะขึ้นมาเพียงเล็กน้อย ก็สร้างความเจ็บปวดทรมานได้มาก เรามาทำความรู้จัก 🦷 ฟันคุดและการบรรเทาปวดเบื้องต้นกันค่ะ
ฟันคุด : ฟันคุดเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่สามารถป้องกันได้
รู้ได้อย่าไรว่าเป็นฟันคุด : 🦷 ฟันคุดสามารถตรวจได้ด้วยตนเอง หากมีฟันซี่ใดซี่หนึ่งขึ้นมาเพียงบางส่วน ให้สงสัยได้เลยว่าน่าจะมีฟันคุด โดยปกติฟันคุดที่พบได้บ่อยคือ ฟันกรามซี่ในสุดของขากรรไกรบน และขากรรไกรล่าง ถ้าเราสงสัยไม่แน่ใจอาจพบกับทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจ และเอกซเรย์ฟันต่อไป
.
ใครที่ปวดฟันคุดมากๆ และกำลังคิดว่าจะรักษาลดแก้ปวดฟันด้วยการทานยาเพียงอย่างเดียว 🚫 หยุด 🚫 และอ่านเพื่อทำความเข้าใจกับเรื่องปัญหาการปวดก่อนนะคะ
.
มีฟันคุดหากไม่รักษาจะทำให้เกิดอันตรายหรือไม่ :
.... หากมีฟันคุด อาจไม่ถึงกับเป็นอันตราย แต่ผลเสียของการมีฟันคุด คือ เหงือกรอบ ๆ ตัวของฟันที่คุด อาจจะเกิดการอักเสบ แล้วเกิดการติดเชื้อมีหนอง ทำให้มีการลุกลามติดเชื้อไปยังบริเวณรอบช่องปาก ใต้คาง ใต้ขากรรไกร รวมถึงบริเวณลำคอ
.... นอกจากนี้ ฟันที่ติดกันกับฟันคุดเอง อาจจะเกิดฟันผุ อันเนื่องมาจากมีแรงดันของตัวฟันคุด หรือมีเศษอาหารเข้าไปติด ไม่มีอาการปวดเลย จนกระทั่งตัวฟันนี้เกิดการผุจนถึงโพรงประสาทฟัน ซึ่งฟันซี่นี้อาจจะต้องถูกถอนออก พร้อมกับผ่าฟันคุด หรือทำการรักษารากฟัน ร่วมกับการทำครอบฟัน นอกจากนี้แล้ว อาจจะพบถุงน้ำหรือเนื้องอกภายในขากรรไกร ซึ่งเกี่ยวข้องกับตัวฟันคุดนี้เอง และนอกจากนี้ยังพบว่า ตัวฟันคุดอาจจะมีผลต่อการจัดฟันภายในอนาคตด้วย
.
💊 ยาแก้ปวด
==========
ยา : ช่วยให้อาการปวดฟันสามารถทุเลาลง แต่อาจจะไม่หายขาด และ อาจจะลามไปถึงการสูญเสียฟัน‼️
การมาหาหมอฟันเวลาปวดฟันคุดนั้น เกือบทุกกรณีจะยังไม่ได้รับการรักษา ก่อนจะได้รับการรักษาจริง คนไข้ที่กำลังปวดฟันคุดอยู่ต้องได้รับยาบรรเทาอาการปวด อักเสบ จนอาการปวดดีขึ้นหรือหายไปก่อน เพราะการที่มีอาการปวดฟันมากๆ แสดงว่ามีการอักเสบของเนื้อฟันและเหงือก หรืออาจจะมีการผุของฟัน
💊 ยาแก้ปวดฟันที่นิยมใช้บ่อยๆ 2 ประเภท โดยจะแบ่งชนิดของยาแก้ปวดฟันเพื่อรักษาบำบัดอาการปวดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
1️⃣ เพิ่งเริ่มปวดฟัน ปวดเล็กน้อย และไม่รุนแรง
อาจเริ่มต้นด้วยการใช้ยาพาราเซตามอล 500 mg ในผู้ใหญ่ใช้ครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง เฉพาะเวลาที่มีอาการปวด
2️⃣ อาการปวดฟัน ระดับปานกลาง
หลายรายมักเริ่มต้นจากการใช้ยาพาราเซตามอลแล้ว อาจได้ผลเพียงเล็กน้อย หรือไม่ได้ผลเลย ซึ่งแสดงว่าระดับการปวดฟันมีระดับรุนแรงมากขึ้น เภสัชกรมักแนะนำให้หยุดตัวยาจากพาราเซตามอลไปเป็นชนิดอื่นที่ระงับอาการปวดได้ดีกว่าที่มีฤทธิ์แก้ปวดได้ในระดับปานกลาง อาทิเช่น IBUPROFEN (ไอบูโพรเฟน) ชนิดเม็ด 400mg วันละ 3 ครั้ง กินหลังข้าวทันทีเนื่องจากยาแก้ปวดกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นกรด
ในการใช้จึงควรกินหลังอาหารทันที เพื่อช่วยลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และไม่ควรกินติดต่อกันนานๆเพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ เมื่ออาการหายดีแล้ว ก็ควรหยุดยาและรีบไปหาหมอฟันต่อไป
นอกจากนี้อาจมีการพิจารณาจ่ายยากลุ่มอื่นร่วมด้วยตามการประเมินจากแนวทางการรักษา ได้แก่
💊 ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย
💊 ยากลุ่มเมโทรนิดาโซล : บางครั้งการที่ปวดฟันและเหงือกบวม อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจน (anaerobe bacteria) ซึ่งจะต้องใช้ยาต้านจุลชีพ ชื่อเมโทรนิดาโซล metronidazole 200-250mg ซึ่งเป็นยาที่ได้ผลดี ต่อเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้
.
ทั้งนี้การจะรับประทานยาต่างๆ ควรได้รับการสั่งยาจากทันตแพทย์ก่อน หรือควรจะได้รับคำปรึกษาจากเภสัชกรก่อน รวมถึงดูด้วยว่าตนเองแพ้ยาประเภทใดบ้าง การรับประทานยามีรายละเอียดมากกว่าที่คุณคิด เพื่อความปลอดภัย จึงควรปรึกษาทันตแพทย์เมื่อคุณมีอาการปวดฟัน อย่าละเลยจนปัญหาใหญ่นั้นลุกลามจนเกินกว่าเหตุ
.
ข้อแนะนำหากมีฟันคุด 🦷
===============
⭕️ ควรรักษาอย่างเหมาะสม
หลายคนคิดว่ามีฟันคุดแล้วไม่เป็นอะไร ขอแนะนำว่าให้นำฟันคุดออก เนื่องจากฟันคุดอาจทำให้เกิดการติดเชื้อลุกลามได้ การผ่าฟันคุดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ซึ่งคล้าย ๆ กับการถอนฟัน เพียงแต่อุปกรณ์อาจจะมากกว่ากันเล็กน้อย อีกทั้งการผ่าฟันคุดไม่ต้องมีการพักฟื้น อย่างมากแค่มีอาการแก้มบวม 2-3 วัน หลังจากนั้นอาการยุบบวมก็จะหายไป จึงไม่ต้องกังวล
.
.
เรียบเรียงโดย : สุขภาพดีไม่มีในขวด
ขอบคุณข้อมูลจาก :
1. Hersh EV, Kane WT, O'Neil MG, et al. Prescribing recommendations for the treatment of acute pain in dentistry. Compend Contin Educ Dent 2011;32(3):22, 24-30; quiz 31-2.
2. Care Dental. ปวดฟัน ทำยังไงดี ทานยาแก้ปวดอย่างเดียวได้มั้ย.
https://bit.ly/3FRPa7P
3. ทพ. ชวินทร์ อัครวรกุลชัย. ฟันคุด คุดอย่างไร. งานทันตกรรม รพ.ศิริราช; คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล.
https://bit.ly/3JQ3ArR
3 บันทึก
9
1
3
3
9
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย