Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน
•
ติดตาม
22 ก.ค. 2022 เวลา 00:06 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#มะเร็งเต้านมไม่ต้องตัดนมทิ้งก็รักษาได้ ตอนที่ 2
สวัสดีทุกคนครับ สำหรับวันนี้ คุยเองเรื่องศัลย์
หมอจะมาเล่าเรื่องราวต่อจากตอนที่แล้วเกี่ยวกับ
การผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งเต้านมแบบสงวนเต้านม
เรื่องราววันนี้ขอเริ่มต้นด้วย คุณเอ (นามสมมติ)
ซึ่งเป็นคนไข้ของหมอเอง
คุณเอมาหาหมอด้วยอาการคลำได้ก้อนที่เต้านมด้านซ้าย
อาการเป็นมาประมาณ 2 สัปดาห์ ไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ
แต่ทว่าตัวก้อนโตขึ้นเรื่อยๆ คุณเอจึงตัดสินใจมา รพ.
หลังจากที่ได้ตรวจกับหมอแล้ว คุณเอได้รับการตรวจแมมโมแกรม
ผลออกมาน่าเป็นห่วงว่าจะเป็นโรคมะเร็งเต้านม
จึงได้รับการเจาะก้อนส่งตรวจ ซึ่งผลชิ้นเนื้อก็พบว่า
คุณเอเป็นมะเร็งเต้านมนั่นเอง
หลังจากที่ได้พูดคุยกัน หมอได้เสนอให้คุณเอเข้ารับการผ่าตัดแบบสงวนเต้านม
เพราะก้อนที่คุณเอเป้นมีขนาดไม่ใหญ่และหมอน่าจะสามารถผ่าตัดให้คุณเอ
แบบเก็บรักษาเต้านมไว้ได้ หลังจากที่ตรวจร่างกายต่างๆจนพร้อม
หมอก็นัดคุณเอเข้ามาผ่ตัดเอาก้อนเต้านมออกและเก็บต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนล
หลังจากการผ่าตัดที่สำเร็จได้ด้วยดี คุณเอ ก็กลับบ้านในวันรุ่งขึ้น
ผลชิ้นเนื้อที่ออกมา พบว่าหมอสามารถผ่าเอาก้อนมะเร็งออกได้หมด
ทำให้คุณเอ ไม่ต้องตัดเต้านมทิ้ง และยังมีเต้านมแบบคนปกติได้
ขณะนี้คุณเอ ได้รับการฉายแสงและให้ยาเคมีบำบัด สบายดีไม่มีอาการผิดปกติ
เทคนิกที่หมอใช้รักษาคุณเอคือ การผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบสงวนเต้านม
ซึ่งในเทคนิกนี้อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนที่แล้วว่า เป็นเทคนิกการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม
ที่มีศักยภาพรักษาคนไข้ให้หายได้โดยไม่แตกต่างกับการผ่าตัดตัดเต้านมออกทั้งเต้า
แต่ข้อเสียของการผ่าตัดแบบสงวนเต้านมนี้ ก็มีเรื่องที่ต้องไปฉายแสง
เพื่อลดอัตราการกลับมาเป็นใหม่ของมะเร็งเต้านม
สำหรับการฉายแสงนั้น จะแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ
1.WHOLE BREAST RADIOTHERAPY คือการฉายแสงที่เต้านมทั้งเต้า
ซึ่งวิธีฉายแสงแบบนี้ยังแบ่งได้เป็นอีก 2 แบบได้แก่
1.1CONVENTIONAL WHOLE BREAST IRRADIATION
ที่เป็นการฉายรังสีในปริมาณสูงในรูปแบบดั้งเดิม คือ 45-50 GY ในเวลา 25-28 วัน
1.2ACCELERATED WOLE BREAST IRRADIATION
เป็นวิธีใหม่ในการฉายแสง โดยลดปริมาณรังสีลงเหลือ 39-42.5GY โดยใช้เวลาฉายรังสีรวมทั้งหมด 3 สัปดาห์เท่านั้น ซึ่งนอกจากใช้เวลาฉายรังสีน้อยกว่าแล้ว อัตราการไหม้ของผิวหนังที่ฉายรังสียังต่ำกว่าอีกด้วย
2.ACCELERATED PARTIAL BREAST IRRADIATION
เป็นการฉายรังสีเข้าไปเพียงบริเวณที่เป็นมะเร็งเท่านั้น ข้อดีคือ ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีที่น้อยกว่า โดยที่อัตราการรอดชีวิตไม่แตกต่างกับการฉายรังสีทั้งเต้านม แต่ข้อเสียคือ การกลับมาเป็นใหม่ของมะเร็งเต้านมจะสูงกว่าเล็กน้อย
แล้วเป็นไปได้ไหมที่จะไม่ต้องฉายแสงหลังจากผ่าตัด?
มีงานวิจัยที่ยืนยันแล้วว่าการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งเต้านมออกอย่างเดียวไม่สามารถรักษาโรคให้หายได้ ต้องได้รับการฉายรังสีร่วมด้วย แต่ว่าถ้าเป็นผู้ป่วยที่อายุ มากกว่า 70 ปี และ ไม่มีการกระจายของมะเร็งไปต่อมน้ำเหลือและเนื้อมะเร็งเป็นแบบ ER + ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจจะไม่ต้องเข้ารับการฉายรังสีเพิ่มเติมก็ได้ แต่ต้องได้รับการกินยากดฮอร์โมนด้วย
ถ้าคุณมีความผิดปกติที่เต้านมหรือหน้าอกอย่ารอช้า
รีบมาพบแพทย์โดยไว
ด้วยรัก
#หมอโภคิน
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
สุขภาพ
ไลฟ์สไตล์
มะเร็ง
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เล่าเรื่องมะเร็งเต้านม
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย