30 ก.ค. 2022 เวลา 13:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ค่าครองชีพไทยแพงแค่ไหน เมื่อเทียบกับทั่วโลก
หลังจากที่เราดำเนินอยู่ในสภาวะเงินเฟ้อ และของแพงมาสักระยะหนึ่งแล้ว ก็ทำให้ฉุกคิดว่า บ้านเราค่าครองชีพแพงขึ้นขนาดนี้ แล้วถ้าเทียบกับทั่วโลก เราจะอยู่ในระดับไหนกัน
ในบทความนี้ให้กรุงเทพ เป็นตัวแทนของประเทศไทยนะคะ
ซึ่งอ้างอิงการสำรวจจากรายงานดัชนีไลฟ์สไตล์ ของ Julius Baer ธนาคารในสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงเป็นอันดับ 15 ของโลก
1
แต่กรุงเทพฯ เป็นเมืองระดับกลางที่มีค่าครองชีพถูกลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับเมืองอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีราคาสินค้าและบริการหลายรายการต่ำกว่าราคาเฉลี่ยของภูมิภาค
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไทย (GDP) ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่จากการระบาดของโควิด-19
สำหรับดัชนีที่ใช้พิจารณา คือค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการเพื่อการดำเนินชีวิต ซึ่งดูจาก 19 รายการ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าและบริการในกลุ่มฟุ่มเฟือยเป็นหลัก
โดยสินค้าและบริการใน 5 รายการที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่
- ค่าจ้างทนายความ (สูงขึ้น 7%)
- จักรยาน (สูงขึ้น 18%)
- สินค้าเทคโนโลยี (สูงขึ้น 39%)
- ตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจ (สูงขึ้น 51%)
- วิสกี้ (สูงขึ้น 55%)
ทั้งนี้ สินค้าและบริการกลุ่มที่แพงในกรุงเทพฯ นั้น ได้แก่ วิสกี้ รถยนต์ รองเท้าผู้หญิง และค่าบริการทำเลสิก ซึ่งรายการเหล่านี้ สูงเป็นอันดับ 3-4 ของโลกเลยทีเดียว
2
ส่วนสินค้าและบริการที่ปรับราคาลงมามากที่สุดในกรุงเทพฯ ได้แก่ ประกันสุขภาพ (ลดลง 31%) และค่าห้องพักโรงแรม (ลดลง 26%) โดยค่าห้องพักโรงแรมในกรุงเทพฯ จัดว่าถูกที่สุดใน 24 เมืองที่มีการสำรวจ
1
สำหรับดัชนีไลฟ์สไตล์ 5 อันดับแรก เมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก เป็นเมืองในภูมิภาคเอเชียถึง 4 เมือง ได้แก่ เซี่ยงไฮ้, ไทเป, ฮ่องกง และสิงคโปร์
โดยเซี่ยงไฮ้ของจีน เป็นเมืองที่ค่าครองชีพสูงที่สุด ซึ่งแม้แต่คนรวยก็ยังได้รับผลกระทบจากแรงกดดันของภาวะเงินเฟ้อ และทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยมีราคาแพงขึ้นมากนั่นเอง
และอีกเมืองนั้นอยู่ในฝั่งยุโรป คือ ลอนดอน แห่งสหราชอาณาจักร พบราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นถึง 15 รายการจาก 19 รายการ โดยเฉพาะค่าบริการห้องพักโรงแรมที่พุ่งไปกว่า 225%
นอกจากนี้ผลสำรวจใน 10 อันดับแรกนั้น ไม่มีเมืองใดในสหรัฐฯ หรือทวีปอเมริกาอยู่ในดัชนีนี้เลย นั่นเท่ากับว่า ค่าครองชีพของเมืองเหล่านี้จะถูกมองว่าถูกมากในสายตาของคนที่มีเงิน
ในภาพรวมแล้วจะเห็นว่า จากผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้ต้นทุนสินค้าและบริการสูงขึ้น สะท้อนถึงวิกฤตค่าครองชีพทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น
1
ซึ่งหากดูค่าครองชีพเพียงในประเทศไทยแล้ว เราอาจจะพบว่าสิ่งของต่างๆ ล้วนมีราคาแพงขึ้นมากๆ แต่พอเทียบกับทั่วโลกแล้ว ก็มีสินค้าและบริการหลายอย่างที่ในไทยยังถือว่าถูกกว่า ซึ่งอาจเป็นเพราะอัตราเงินเฟ้อของแต่ละประเทศไม่เท่ากันด้วยนั่นเองค่ะ
1
Cr. Ellethailand, pptv
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ 😊
ติดตามอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา