Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
28 ก.ค. 2022 เวลา 05:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไมเงินเฟ้อ แล้วต้องขึ้นดอกเบี้ย
เคยสงสัยไหมคะ ว่าเมื่อเกิดสภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับที่สูงเกินไป ประชาชนก็มักจะคาดหวังว่าธนาคารกลางจะต้องมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย
นั่นเป็นเพราะ ในทางทฤษฎีแล้ว การขึ้นดอกเบี้ยนอกจากจะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อลดลงแล้ว ยังช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงอีกด้วย
เพราะส่วนใหญ่แล้วภาวะเงินเฟ้อมักจะเกิดขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจที่มีความแข็งแกร่ง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคมีความสามารถในการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงมีความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการมากขึ้น ราคาสินค้าและบริการจึงปรับขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคยังคงมีความพอใจที่จะซื้อสินค้าในราคาที่เพิ่มขึ้นนั้น ผลักดันให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
ธนาคารกลางจึงจำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อลดความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคลง และนั่นจะส่งผลให้ราคาสินค้าลดลงหรือเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงนั่นเอง
1
จะเห็นได้ว่า ในบางครั้งหากธนาคารกลางประเมินว่าเศรษฐกิจเติบโตร้อนแรงเกินไป ก็อาจขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดความร้อนแรงของเศรษฐกิจลง ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้น ภาคธุรกิจจึงอาจตัดสินใจลงทุนน้อยลง
1
แต่ทางภาคครัวเรือนนั้นอาจมีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จากค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือจากหนี้บัตรเครดิต จึงลดการใช้จ่ายลง และอาจทำให้ผู้ที่ตั้งใจจะซื้อบ้านหรือรถ อาจตัดสินใจเลื่อนการซื้อออกไปก่อน เนื่องจากภาระดอกเบี้ยที่แพงขึ้น
ภาพจาก Pinterest
ในทางกลับกัน ภาคครัวเรือนก็มีแนวโน้มที่จะออมมากขึ้น เนื่องจากได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
นอกจากนี้ การขึ้นดอกเบี้ยยังอาจช่วยดึงดูดให้มีเงินไหลเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่า รวมถึงวัตถุดิบในการผลิตที่ต้องนำเข้าและสินค้านำเข้าต่างๆ จะมีราคาถูกลง และนั่นก็จะส่งผลให้เงินเฟ้อลดลงด้วย
แต่สำหรับทางภาครัฐแล้ว จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ย เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมจะสูงขึ้นนั่นเอง
1
อย่างไรก็ดี ที่กล่าวมาแล้วนั้น ล้วนเป็นภาคทฤษฎีที่ควรจะเกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงของสภาวะเงินเฟ้อของไทยที่พุ่งขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดจากความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจแต่อย่างใด
แต่เกิดจากปัจจัยของต้นทุนที่สูงขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้วัตถุดิบขาดแคลน และเกิดการอ่อนค่าของเงินบาท
ภาพจาก Sanook
และปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างคือ มาตรการช่วยค่าครองชีพของรัฐบาลในหลายๆ มาตรการ รวมถึงภาคเอกชนส่วนใหญ่ ก็มีการทำโปรโมชั่นลดราคาหรือตรึงราคาสินค้าและบริการ เพื่อกระตุ้นยอดขาย จึงอาจมีโอกาสที่เงินเฟ้อของไทยจะทรงตัวในระดับสูงเช่นนี้ต่อไป
โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้ออาจจะเริ่มชะลอตัวลงในช่วงปลายปีนี้ หลังเศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและอย่างต่อเนื่อง หรือกลับไปสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ได้
ทั้งนี้ ประเทศไทยเองดำเนินนโยบายการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำมานาน แอดมินคาดว่า ธนาคารกลางอาจจำเป็นต้องขยับขึ้นสู่ภาวะปกติในเร็วๆนี้
ยิ่งถ้าไทยสามารถขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้มีความแข็งแกร่งมากพอ และมีแนวโน้มเติบโตดีต่อเนื่อง การปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางคงจะได้เห็นในอีกไม่นานค่ะ
Cr. Fund insight
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ 😊
ติดตามอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
https://www.blockdit.com/pages/5ef4aee94e90fa1adecae03e
การเงิน
เศรษฐกิจ
การลงทุน
9 บันทึก
21
22
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เศรษฐกิจและการเงิน
9
21
22
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย