Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Trick of the Trade
•
ติดตาม
2 ส.ค. 2022 เวลา 06:00 • ธุรกิจ
คำถามนี้น่าสนใจมากครับ
เชื่อว่าหลายคนน่าจะกำลังเจอปัญหาคล้ายๆกันอยู่
ทำธุรกิจโลจิสติกส์เข้าสู่ปีที่ 11 มีสาขาบริการ 5 สาขา สมุทรสาคร (สนญ.) และอีก 4 จังหวัดกระจายไปทั่วประเทศ มีผลประกอบการขาดทุนทุกปี แต่มีความเชื่อว่าเทรนด์ธุรกิจนี้ไปต่อได้ แต่เพราะเราโตเร็วเกินไป ระบบการทำงานเลยมีปัญหา
มีโอกาสทบทวนตัวเองจึงรู้เลยว่า เรา"ขาด" ปัจจัยหลายอย่างที่จะพลิกกลับมาสร้างผลกำไรได้ โดยเฉพาะพนักงานระดับหัวหน้าที่มีคุณภาพ
1. พนักงานระดับหัวหน้าและปฎิบัติการเปลี่ยนบ่อยโดยเฉพาะสาขา
2. รายได้น้อยกว่ารายจ่าย
3. คุณภาพของพนักงานที่ไม่ทันต่อสถาวะปัญหา
4. การลดราคาของคู่แข่ง
คำถามเดียวค่ะ ไปต่อ..หรือพอแค่นี้
คำตอบ
มีหลายมุมที่เจ้าของเรื่องต้องนำไปคิดและทำการบ้านต่อนะครับ ขออนุญาตให้เป็นแนวทาแก้ปัญหาเพื่องเอาไปลงรายละเอียดการทำงานต่ออีกที
1. เรื่องระบบบัญชี
ที่บอกว่าขาดทุนต่อเนื่องมาทุกปี ผมไม่แน่ใจว่า "ทุกปี" ในที่นี้ เป็นเวลากี่ปี และขาดทุนต่อเนื่องรวดเดียวไหม หรือกำไรสลับขาดทุน เพราะความต่างตรงนี้ ตีความได้หลายอย่าง
- ระบบบัญชี แน่นและทำได้ละเอียดแค่ไหน มีการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายให้ผู้บริหารดูละเอียดมากพอหรือไม่ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีทรัพย์สินเป็นส่วนประกอบหลักแบบธุรกิจขนส่ง บัญชีต้นทุนต้องแม่นมาก เพราะโอกาสรั่วไหลเยอะมากจริงๆ
- ที่ว่าขาดทุน คือตัวเลขขาดทุนต้ังแต่บรรทัด "กำไรก่อนหักค่าเสื่อม EBIDTA" หรือ ขาดทุนที่บรรทัด "กำไรสุทธิ Net Profits" กันแน่ ในการทำธุรกิจ ถ้า EBIDTA เป็นบวก ถือว่าธุรกิจไม่ได้แย่นะครับ เพราะคุณยังมีกำไรจากการทำธุรกิจ เพียงแต่แพ้ค่าเสื่อมเท่านั้นเอง วิธีแก้เรื่องนี้ คือการจัดการทรัพย์สินและใช้วิชาบัญชีเข้ามาช่วย ผลประกอบการก็จะกลับมากำไรได้เอง
- มีการทำบัญชี กำไร/ขาดทุน แยกตามสาขาหรือไม่ จะได้รู้ว่า สาขาไหนยังกำไรอยู่ สาขาไหนไปไม่ไหวแล้ว เราจะได้ตัดสาขาที่ขาดทุนออกไปก่อน เพื่อให้งบภาพรวมของบริษัทดีขึ้น อย่ากลัวที่จะต้องปิดสาขา ถ้าสาขานั้นคือภาระของธุรกิจ บางทีอาจจะเป็นเพราะเราเลือกไปเปิดในพื้นที่ ที่มูลค่าตลาดยังใหญ่ไม่พอหรือแข่งขันสูงเกินไปก็ได้
สรุปของส่วนแรกคือ อย่าเพิงสรุปว่าตัวเองขาดทุนหรือกำไร ถ้ายังไม่มีข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องครบถ้วนมาวิเคราะห์สาเหตุนะครับ
2. ผมสงสัยเพิ่มเติมว่า ถ้าขาดทุนทุกปีจริง แล้วเจ้าของแก้ปัญหาอย่างไร ใส่เงินเพิ่มเข้าไปทุกปี หรือกู้แบงค์ หรือขาดทุนแต่เงินสดก็ไม่ได้ขาด ยังมีพอจ่ายทุกอย่างตามปกติ
- ถ้าเติมเงินเพิ่มเข้าไปทุกปี แสดงว่ายังมีทุน ผมก็อยากจะแนะนำให้ลงเงินกับธุรกิจใหม่เป็นทางเลือกไว้บ้าง เพราะที่ทำอยู่อาจจะไม่ใช่ทางของเราแม้ว่าภาพรวมของวงการนี้มันจะโต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกบริษัทจะโตตามตลาดได้นะครับ อะไรที่เราไม่ถนัด แม้ตลาดจะดีแค่ไหน เราก็ทำให้เจ๊งได้ อันนี้คือเรื่องจริง
- ถ้าไม่ได้ใส่เงินเพิ่ม และธุรกิจก็ใช้เงินในบริษัทหมุนเวียนอยู่ได้ กรณีนี้ผมฟันธงว่าธุรกิจไม่ได้ขาดทุน แต่แค่ขาดทุนทางบัญชีเท่านั้น แบบนี้ ยังจัดการและไปต่อได้
3. ถ้ายังอยากทำธุรกิจโลจิสติกส์ต่อไป ลองเปลี่ยนไปทำด้านรถส่งของแช่เย็น/แช่แข็ง เป็นธุรกิจขนส่งเหมือนกันแต่ได้ค่าส่งดีกว่า แต่ต้องมีการลงทุนเพิ่มคือทำห้องเย็น
จากข้อมูลที่ทราบมา ธุรกิจคลังสินค้าแช่แช็งยังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่มาก โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนที่ต้องมีการขนส่งอาหารแช่แข็งข้ามไปประเทศเพื่อนบ้าน
ลองเปลี่ยนสาขาปัจจุบันที่ขาดทุน เป็นคลังสินค้า/ขนส่งสินค้าแช่แข็ง เราสามารถเปลี่ยนรถขนส่งปัจจุบันให้กลายเป็นรถส่งแช่แข็ง แค่ไปทำตู้เย็นเพิ่ม เสริมแหนบ ติดระบบวัดอุณหภูมิ เท่านั้น
4. เรื่องรายได้น้อยกว่ารายจ่าย
สาขาไหนมีปัญหานี้ต่อเนื่องยาวนาน ลองปิดสาขานั้นก่อนครับ พร้อมเมื่อไหร่แล้วค่อยกลับมาเปิดใหม่ยังได้ แต่ถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายทุกสาขา แปลว่าเราไม่ถนัดกับธุรกิจนี้แล้ว
5. เรื่องพนักงานไม่มีคุณภาพ แก้ง่ายมากครับ คือไล่ออก
เราจะไม่เก็บคนทำงานห่วยไว้ เพื่อให้คนทำงานดีเห็นแล้วทำร้ายจิตใจว่า จะทำดีไปทำไมวะ ในเมื่อคนห่วยยังอยู่ได้ดี อย่าคิดว่าตัวเองใจร้าย เราต้องคิดว่า เรากำลังปกป้องคนดี และรักษาคนทำงานที่ดีไว้
พยายามทำให้องค์กรของเรามีแต่คนตั้งใจทำงาน เวลามีปัญหาอะไร เราก็จะมีแต่คนที่ช่วยกันคิดแก้ไขปัญหา ไม่ใช่นั่งเฉยๆ สบายใจ ได้เงินเดือนเท่าเพื่อน
6. เรื่องคู่แข่งตัดราคา ลองหนีไปทำธุรกิจแช่แข็งเย็นตามที่บอก คู่แข่งจะหายไปมากกว่า 50% ครับ เพราะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิแบบนี้ จัดการยากมาก ถึงไม่ค่อยมีใครอยากทำ
ก็เพราะว่าไม่ค่อยมีใครทำไงครับ
ผมจึงแนะนำให้รีบลองทำ
พัฒนาตัวเอง
ธุรกิจ
trickofthetrade
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Self-Development
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย