ความหนาแน่นของสารกาแฟ (Density) : เราแบ่งสารกาแฟเป็น 2 กลุ่มคือ Hard Bean และ Soft Bean เมล็ดกาแฟจากแหล่งปลูกที่สูงกว่า 1,200-1370 เมตร เราจะนับเป็น Hard bean หรือ High grown แต่ถ้าสูงกว่า 1370 เมตรขึ้นไปก็เรียกเป็น Strictly Hard Bean ส่วนกาแฟที่ปลูกต่ำกว่า 1200 เมตรนับเป็น Soft bea
นักคั่วจะใช้ไฟหรือให้ความร้อนเริ่มต้นที่ค่อนข้างสูงสำหรับกาแฟ Hard Bean เพื่อให้ความร้อนสามารถทะลุเนื้อในเมล็ดได้ ในขณะที่เมื่อคั่ว Soft Bean จะใช้ไฟที่นุ่มนวลกว่า
หากวัดความหนาแน่นของสารกาแฟ เราจะนับสารกาแฟที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า 0.65 kg/litre เป็นกาแฟ Low Density ส่วนกาแฟที่ความหนาแน่นสูงกว่า 0.7 kg/litre ถือเป็นกาแฟ High density
กาแฟตามดอยต่างๆในบ้านเรามักจะอยู่ในข่าย Medium Density คือมีความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 0.65-0.7 kg/litre
เรื่องตัวเลขกลุ่มนี้ไม่ต้องซีเรียสกับมันมากครับ เราแค่รู้ว่ากาแฟเนื้อแน่นกัดไม่ค่อยเข้าเนี่ยจัดเป็นพวก hard bean ปลูกบนพื้นที่สูงมากๆ ส่วนบ้านเราเป็นเนื้อไม่ได้แน่นขนาดนั้นครับจัดเป็นพวกกลางๆเพราะดอยที่ปลูกกาแฟของเราส่วนใหญ่ไม่ได้สูงจัดอย่างกาแฟอาฟริกา
Process ของกาแฟ : การแปรรูปด้วยเทคนิคที่ต่างกันจะให้ผลเป็นสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งส่วนองค์ประกอบทางเคมีที่ค่อนข้างเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาก็คือ ปริมาณน้ำตาลและกรดของสารกาแฟตัวนั้น กาแฟ Dry Process และ Honey Process มักจะมีน้ำตาลที่สูงกว่า Wash ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสีและการพัฒนาของความหวานและความขมที่เร็วกว่า
ดังนั้นการปล่อยให้เวลา Development time หลัง first crack ที่มากเกินไปก็อาจทำให้กาแฟกลุ่มนี้ติดรสขมได้ หรือในกรณีการคั่วเอสเปรสโซ เราอาจไม่สามารถคั่วกาแฟ Dry Process ในระดับที่เข้มแบบ Dark Roast ได้เหมือนกับ Wash Process แต่อาจจะเลือกนำมาคั่วอ่อนแล้วเบลนด์ผสมลงไปกับ wash process เพื่อสร้างให้เกิด flavour ที่มีมิติน่าสนใจ