7 ส.ค. 2022 เวลา 09:06 • กีฬา
“บิว ภูริพล” ควร #กายภาพบำบัด อย่างไร? หลังได้รับบาดเจ็บจาก #การแข่งวิ่งผลัด
เมื่อช่วงดึกวันที่ 4 ส.ค. 2565 ตามเวลาไทย “บิว-ภูริพล บุญสอน” #นักกรีฑา วัย 16 ปีของไทย ได้รับบาดเจ็บระหว่างลงแข่งวิ่งผลัด 4×100 เมตรชาย รอบคัดเลือก รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี ในศึกกรีฑาเยาวชนชิงแชมป์โลก 2022 ที่เมืองคาลี ประเทศโคลอมเบีย
แอดมินจึงได้ไปดูคลิปขณะแข่งขัน ทำให้ทราบได้เลยว่า น้องบิวได้รับการบาดเจ็บของ #กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ซึ่งมีชื่อภาษาอังกฤษว่า “hamstring”
ในวันนี้แอดมินจะมา #สรุป สาระสำคัญเกี่ยวกับการกายภาพบำบัดหลังบาดเจ็บกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (hamstring) ในนักกรีฑา ดังนี้
1️⃣ การบาดเจ็บดังกล่าวพบได้บ่อยในนักกรีฑา และมีโอกาสบาดเจ็บซ้ำอีกครั้งได้สูงสุดถึง 60%
2️⃣ มักจะเกิดบริเวณรอยต่อระหว่างกล้ามเนื้อและเอ็นกล้ามเนื้อส่วนต้น
3️⃣ ส่วนใหญ่จะเกิดในขณะวิ่งด้วยความเร็วสูง (sprint) และมีส่วนน้อยที่เกิดจากกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังถูกยืดมากเกินไป
4️⃣ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ ได้แก่
4.1 ประวัติการบาดเจ็บในอดีต
4.2 การเปลี่ยนแปลงการฝึกซ้อม
4.3 ตารางการแข่งขัน
5️⃣ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) สามารถใช้เพื่อช่วยในการระบุความรุนแรงของการบาดเจ็บได้ เช่น ในเอ็นกล้ามเนื้อ ในเนื้อกล้ามเนื้อ เป็นต้น ซึ่งมีผลต่อการวางแผนในการรักษาฟื้นฟู
6️⃣ องค์ประกอบสำคัญในการทำกายภาพบำบัดหลังได้รับบาดเจ็บกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ได้แก่
6.1 ลดอาการปวดหรือกระตุ้นการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ (pain healing) เช่น
- low-level isotonic exercise
- isometric training
- dynamic movement
6.2 พัฒนาให้เนื้อเยื่อสามารถรับแรงได้มากขึ้น (tissue capacity) เช่น eccentric exercise
6.3 พัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหว (movement capability) เช่น jump squat
กายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การกีฬาโดย Sahavate
Line OpenChat: Sahavate (https://bit.ly/3jQG5Eb)
ที่มาของรูปภาพ:
1. @ไทยรัฐออนไลน์
2. Macdonald B, McAleer S, Kelly S, et al. Hamstring rehabilitation in elite track and field athletes: applying the British Athletics Muscle Injury Classification in clinical practice. British Journal of Sports Medicine 2019;53:1464-73.
ที่มาของบทความ: van Dyk N, Glasgow P. “Clinical Approach to the Sprinter with Repeated Hamstring Muscle Injuries.” Aspetar Sports Medicine Journal. 2019;8:286-92.
โฆษณา