นอกจากนี้ Green Bond จะต้องมีกระบวนการประเมินโครงการว่าเป็นไปตามเกณฑ์สีเขียว (Project Evaluation and selection) หรือไม่ อีกทั้งต้องมีการจัดทำรายงานและเปิดเผยข้อมูลต่อนักลงทุนถึงการใช้จ่ายเงินตามรอบระยะเวลา
เช่น รายปี หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอะไรที่สำคัญ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของ International Capital Market Association (ICMA) ที่เรียกว่า Green Bond Principal หรือ GBP นั่นเอง
Green Bond รุ่นแรกออกในปี 2550 โดย European Investment Bank (EIB) ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของตลาด Green Bond โดยผู้ออกส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สวีเดน และจีน (ยืนหนึ่งเป็นผู้นำตลาด Green Bond ในเอเชีย)
นอกจาก Green Bond แล้ว ยังมีตราสารหนี้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันอยู่ในหมวดนี้อย่าง "Social Bond" (ตราสารหนี้เพื่อสังคม) ที่ระดมทุนเพื่อนำไปพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
และ "Sustainability Bond" (ตราสารหนี้เพื่อส่งเสริมความยั่งยืน) ที่ระดมทุนเพื่อนำไปพัฒนาและส่งเสริมความยั่งยืน โดยมีทั้งองค์ประกอบของทั้ง Green และ Social รวมอยู่ด้วยกัน
อีกทั้งยังมีตราสารหนี้ประเภท “Climate Bond” ซึ่งเน้นการระดมทุนเพื่อลดโลกร้อน หรือจะเป็น "Blue Bond" ที่ระดมทุนเพื่อดูแลฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล โดยทั้ง 2 ประเภทหลังนี้ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของ Green bond ด้วยเช่นกัน.