11 ส.ค. 2022 เวลา 06:49 • ความคิดเห็น
“ทำไมทนายความหรืออัยการผู้หญิงในซีรีส์เกาหลี ถึงใส่กางเกงว่าความได้ โคตรเท่เลย”
ลึกลงไปในประโยคที่ ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ทนายความอิสระ เปรยขึ้นขณะนั่งดูซีรีส์เกาหลี คือการตั้งคำถามต่อกฎระเบียบในฐานะวิชาชีพทนายความ ว่าเหตุใด เพียงทนายความผู้หญิงในประเทศไทยสวมกางเกงขายาวทรงสุภาพไปว่าความ จึงกลายเป็นเรื่องผิด และอาจถึงขึ้นถูกตำหนิและลงโทษ
มากกว่าการตั้งคำถาม ศศินันท์เลือกที่จะเป็นหนึ่งในผู้ผลักดันแคมเปญ #ทนายความหญิงมีสิทธิสวมใส่กางเกงไปศาล ใน change.org ที่มีผู้สนับสนุนแล้วกว่า 16,000 รายชื่อ ที่เริ่มต้นโดยกลุ่ม Nitihub และสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เพื่อตั้งคำถามถึงระเบียบมรรยาททนายความว่าด้วยการแต่งกายของทนายความหญิงนั้นยังคงดำรงอยู่ด้วยเหตุผลใด สมเหตุสมผลหรือไม่ ขัดกับหลักความเสมอภาคและสะท้อนถึงการเลือกปฏิบัติระหว่างเพศอย่างไรบ้าง
หลังกลุ่ม Nitihub และสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ยื่นหนังสือขอแก้ไขข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2507 ข้อ 17 ว่าด้วยเรื่องการแต่งกายของทนายความ ต่อคณะกรรมการรวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.) และท้ายที่สุด ในวันที่ 27 เมษายน 2565 มีรายงานว่า วลพ. ได้มีคำวินิจฉัยตัดสินให้สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ แก้กฎการแต่งกายเพื่อรับรองสิทธิของทุกเพศสภาพ และกำหนดระยะเวลาดำเนินการภายใน 90 วัน
ทว่าหลังคำตัดสิน สภาทนายความในประบรมราชูปถัมภ์กลับฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ด้วยข้อกล่าวหาว่า วลพ. กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
WAY ชวนฟังเรื่องราวของทนายความหญิงที่กำลังทวงคืนกางเกงและความเป็นธรรมในวิชาชีพ ตลอดจนทวงคืนสิทธิและเสรีภาพในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
INTERVIEWER : ORRASA SEEDAWRUANG
EDITOR : LATTANAPHON THIPMANEE
GRAPHIC DESIGNER : PITCHAPORN ARIN
#ทนายความ #ทนายความผู้หญิงใส่กางเกง #nitihub #ทนายแจม #สิทธิในการแต่งกาย #wayconversation
โฆษณา