Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บันทึกของคนโง่
•
ติดตาม
28 ส.ค. 2022 เวลา 14:19 • ความคิดเห็น
How to Stop Being a Loser ตอนที่ 2: "7 เทคนิคการพูดคุยกับผู้อื่น"
หลายคนคงเคยประสบปัญหาในการเริ่มต้นบทสนทนากับผู้อื่น บางคนอาจรู้สึกประหม่า ไม่เป็นตัวของตัวเอง บางคนอาจคิดคำพูดดีๆ ไม่ออก จนทำให้พลาดโอกาสสำคัญหลายๆอย่างไป ในวันนี้เราจะมาเรียนรู้เทคนิคการพูดกันครับ
สำหรับผู้ที่สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความ How to Stop Being a Loser ตอนที่ 1: "8 ขั้นตอน การดูแลตัวเอง" สามารถไปติดตามต่อได้จาก link ท้ายบทความได้เลยครับ
ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลยครับ
ตอนที่ 2: "7 เทคนิคการพูดคุยกับผู้อื่น"
1. สร้างความมั่นใจในความสามารถของตัวเอง
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด สำหรับคนหนึ่งคนซึ่งมองว่าตัวเองว่าเป็น "คนขี้แพ้" จะสามารถทำได้เพื่อพัฒนาทักษะในการพูดคุย ก็คือการสร้างความมั่นใจในตนเอง สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการเห็นคุณค่าของตัวเราเอง การพูดคุยจะง่ายขึ้นมาก เมื่อคุณเชื่อว่าการพูดคุยไม่ใช่เรื่องน่ากลัว และรู้ว่าคุณจะได้อะไรกลับมา
ตัวอย่างในการสร้างความมั่นใจ
●
จิตนาการว่าคุณกำลังมีช่วงเวลาที่ดี ในการพูดคุยกับผู้อื่น คิดว่าคุณกำลังพูดอะไร หรือกำลังทำอะไร ให้จำลองสถานการณ์ในหัวแล้วทำไปตามนั้น
●
ลองมองว่าการสนทนาที่ผิดพลาด เป็นแค่เรื่องชั่วคราว ที่ทำให้เราได้เรียนรู้เทคนิคการสนทนาที่ยอดเยี่ยมกว่าเดิม
●
ฟังเพลงปลุกใจ หรือเพลงตื่นเต้น ก่อนพูดคุย เพื่อทำให้คุณรู้สึกฮึกเหิม
●
อย่ามัวแต่พะวงว่าอะไรจะออกมาไม่ดี แค่เริ่มต้นบทสนทนา เผชิญหน้ากับความกลัวเลย!
●
ถามตัวเองว่าอะไรคือสิ่งที่แย่ที่สุด ถ้าการพูดคุยครั้งนี้ออกมาไม่ดี บางทีมันก็อาจจะไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิดก็ได้
●
จำไว้ว่าคุณจะมั่นใจมากขึ้น เมื่อคุณผ่านมันไปได้ แม้ว่าในครั้งนี้มันจะไม่ได้ออกมาสมบูรณ์แบบก็ตาม
2. ลองมองโลกในแง่ดี
ถ้าคุณเป็นคนที่ทำอะไรได้ด้วยตัวเอง คุณก็ไม่จำเป็นต้องกังวล อย่าไปคิดว่าอะไรจะออกมาไม่ดี แต่มาคิดกันดีกว่าดีกว่าว่าจะทำให้มันออกมาดีได้อย่างไร ลองคิดถึงคนที่คุณจะได้เจอ คิดถึงความประทับใจที่คุณสามารถสร้างขึ้นมาได้ และความสุขที่คุณจะได้รับดูสิ
การตั้งใจทำให้มันออกมาดีย่อมสร้างความเป็นไปได้ที่ดีได้มากกว่า ความเป็นไปได้ที่มันจะออกมาไม่ดีนะ
3. เริ่มบทสนทนาด้วยการถามเกี่ยวกับคู่สนทนา
เมื่อคุณนึกไม่ออกว่าจะพูดอะไร ในสถานการณ์การที่ต้องพูด ไอเดียที่ไม่เลวเลยคือการถามเค้าเกี่ยวกับตัวของเค้า สิ่งที่คุณต้องทำคือการแสดงความสนใจในสิ่งที่เค้าพูด และทำให้การพูดคุยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่คุณกำลังฟังคู่สนทนา คุณต้องคอยตอบรับด้วยคำพูดสั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น “โอ้โห!” “ครับ” หรือ “จริงเหรอครับ?” เพื่อให้คู่สนทนาของคุณรู้สึกว่าคุณสนใจสนสิ่งที่เค้าพูด
แต่บางครั้งการถามมากเกินไปก็อาจจะกลายเป็นการสอดรู้สอดเห็น ต้องพยายามจำกัดคำถามทำนองหยอกล้อไว้ จนกว่าคุณจะสนิทกับคู่สนทนาของคุณ
สมมติว่าคุณพึ่งพบคนแปลกหน้าในงาน สิ่งที่คุณควรถามคือ
●
“คุณมาจากที่ไหนครับ?”
●
“คุณกำลังเรียน/ทำงานอะไรครับ”
คำถามที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น
●
“คุณมีรายได้เท่าไหร่ครับ?”
●
“คุณโอเคกับแม่ของคุณไหม?”
●
“คุณจูบกับคนแปลกหน้าหรือเปล่า?”
4. มีความจริงใจเกี่ยวกับสิ่งที่ชอบ และสิ่งที่ไม่ชอบ
ในการพูดคุย คุณไม่ควรต้องรู้สึกว่า ต้องโกหกเพียงเพื่อให้คุณเข้าได้กับบทสนทนา ตราบใดที่คุณยังรักษาความสุภาพ และความเป็นมิตร คุณไม่จำเป็นต้องยอมรับทุกสิ่งที่คู่สนทนาของคุณพูดกับคุณ จงมีความมั่นใจที่จะไม่เห็นด้วยอย่างสุภาพ เป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณเคารพและเป็นเกียรติที่ได้สนทนากับคู่สนทนาของคุณ
ในทางตรงกันข้าม การเห็นด้วยทันทีอาจทำให้เค้ารู้สึกว่า คุณพยายามจะทำอะไรบางอย่าง ที่มีเจตนาแอบแฝงได้ กลับกันการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเป็นมิตร สามารถทำให้การสนทนาน่าสนใจได้มากขึ้นด้วยซ้ำ แต่ต้องมั่นใจว่าการสนทนาจะเป็นไปอย่างประนีประนอม
อย่าได้คิดใช้คำพูดที่เป็นการโจมตีผู้อื่น เพียงเพื่อพิสูจน์ว่าคุณคิดถูก จงจำไว้ว่าถ้าคุณไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคุณถูกได้อย่างมีเหตุผล คุณก็จะเป็นฝ่ายผิด!
5. อย่าเล่าเรื่องส่วนตัวมากเกินไป
ถ้าหากว่าคุณกำลังมีบทสนทนาที่ดี คุณอาจจะรู้สึกว่าอยากพูดหัวข้อที่จริงจัง เพื่อดูว่าคู่สนทนาของคุณคิดเห็นอย่างไร แต่ถ้าคุณไม่ได้สนิทกับคู่สนทนามากพอ คุณควรหลีกเลี่ยงเพื่อให้การสนทนาสามารถดำเนินต่อไปได้ การเปิดประเด็นคุยเรื่องที่จริงจังกับคนที่คุณไม่รู้จักสามารถทำลายบรรยากาศได้ ซึ่งจะทำให้คู่สนทนาขอบคุณรู้สึกกระอักกระอ่วน และเป็นเรื่องที่เสียมารยาท
ตัวอย่างของหัวข้อที่ควรหลีกเลี่ยงในการพูดคุยถ้าไม่ใช่เพื่อนสนิท
●
ปัญหาที่ค่อนอ่อนไหวของคุณ
●
ความยุ่งยากของความสัมพันธ์
●
การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
●
เรื่องน่ากลัว (เช่น ความตาย หรอ การสังหารหมู่ เป็นต้น)
●
เรื่องลามก
6. จำไว้ว่าคุณกำลังพูดคุยกับมนุษย์
ถ้าหากคุณพบว่าคุณกำลังกังวลกับการสนทนาที่กำลังจะมาถึง จำไว้ว่า ไม่สำคัญว่าเค้าจะสามารถคุกคามคุณได้แค่ไหน คนที่คุณคุยด้วยก็แค่คนธรรมดาคนหนึ่ง มีความหวัง มีความฝัน มีความกลัว และมีข้อผิดพลาด ไม่ต่างกันกับเรา
เพราะฉะนั้นอย่างนั้น อย่าไปคิดว่าพวกเค้าสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับความสามารถในการสื่อสารของพวกเค้า พวกเค้าอาจจะมีทักษะการสือสารที่ยอดเยี่ยม หรืออาจจะไม่ใช่ก็ได้ ดังนั้นถ้าคุณเริ่มรู้สึกกระอักกระอ่วน คุณก็ไม่จำเป็นต้องโทษตัวเอง เพราะมันอาจไม่ใช่เพราะคุณผิดพลาด
ข้อควรจำ: ไม่สำคัญว่าคนหนึ่งคนจะดูยอดเยี่ยมหรือใจเย็นแค่ไหน เมื่อคุณต้องพูดกับเค้า วันพรุ่งนี้เค้าก็ยังคงเป็นแค่คนธรรมดาที่สวมกางเกงได้ทีละข้าง ถ้าใครคนนั้นคุกคามคุณ คุณสามารถิดถึงพวกเค้าในสถานการณ์ที่จริงจังน้อยลงได้ (เช่น สถานการณ์ที่เค้าสวมแต่ชั้นใน กำลังซื้อถุงท้า หรือว่าดูโทรทัศน์พร้อมกินขนม เป็นต้น)
7. ผ่อนคลาย!
ในบทสนทนาที่ค่อนข่างตึงเครียด สิ่งนี้อาจเป็นสิ่งที่ทำได้ยากที่สุด แต่มันก็เป็นทางเลือกที่ฉลาดที่สุดที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆ การทำตัวตามสบายช่วยทำให้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับการพูดคุยง่ายขึ้น หัวข้อการพูดคุยจะผุดขึ้นมาได้เองอย่างเป็นธรรมชาติ คุณจะมีเซ้นส์เกี่ยวกับคนอื่นดีขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้นถ้าคุณมีเทคนิคหรืองานอดิเรกที่ช่วยผ่อนคลาย ให้ลองทำก่อนการสนทนาที่ทำให้คุณเครียด น่าจะช่วยผ่อนคลายลงได้ ทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันไป แต่อาจจะมีเทคนิคบางอย่างที่สามารถใช้ร่วมกันได้
เช่น คนจำนวนมากพบว่าการทำสมาธิเพียงไม่กี่นาทีช่วยให้ผ่อนคลายขึ้นได้ ในขณะที่สำหรับบางคน การออกกำลังกายหรือฟังเพลงบรรเลงช่วยให้ผ่อนคลายได้ง่ายกว่า
อ้างอิงจาก:
https://www.wikihow.com/Stop-Being-a-Loser
จบแล้วครับ มีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้าง สามารถแสดงความคิดเห็นด้านล่างได้เลยครับ ถ้ารู้สึกอย่างไร สามารถกดแสดงความรู้สึกได้เบย ถ้าถูกใจก็ฝากกดแชร์ให้ด้วยนะครับ ถ้าผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ขอบคุณครับ พบกันใหม่อาทิตย์หน้าคร้าบ
คอนที่ 1: "8 ขั้นตอน การดูแลตัวเอง"
blockdit.com
[บันทึกของคนโง่] How to Stop Being a Loser ตอนที่ 1: “8 ขั้นตอนดูแลตัวเอง”
How to Stop Being a Loser ตอนที่ 1: “8 ขั้นตอนดูแลตัวเอง”
อ่านเพิ่มเติม
พัฒนาตัวเอง
สุขภาพจิต
ข้อคิด
4 บันทึก
2
2
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
How to Stop Being a Loser
4
2
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย