Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิทย์อาหาร
•
ติดตาม
29 ส.ค. 2022 เวลา 09:25 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Pasturization at home 🧃
บทความนี้จะมาแชร์ความรู้ของวิทย์อาหารที่ทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในครัวเรือน เพื่อการถนอมอาหารหรือยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหารของเรา ซึ่งวิธีการที่จะนำมาเล่าให้ฟังคือ ‘การพาสเจอร์ไรซ์’
https://www.newfoodmagazine.com/article/100417/milk-pasteurization-could-tuberculosis-be-slipping-into-our-breakfast-bowls/
กระบวนการพาสเจอร์ไรซ์คืออะไร?
กระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ (pasturization) หรือการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน เป็นวิธีการทำลายจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหาร รวมทั้งเอนไซม์และจุลินทรีย์อื่น ๆ ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย ซึ่งหลังจากผ่านกระบวนการนี้อาหารก็จะปลอดภัยมากขึ้นนั่นเอง
แล้วมันทำอย่างไร?
โดยทั่วไปกรรมวิธีของมันคือการให้ความร้อนกับอาหารที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์แล้วหรือยังไม่บรรจุก็ได้ เพียงแต่หลักการคือจะมีการให้ความร้อน ณ อุณหภูมิ และ เวลาที่กำหนดไว้ ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์และเรามักจะพบบ่อย เช่น นม น้ำผลไม้ ไข่ขาว หรือ น้ำเก็กฮวย เป็นต้น
แล้วเราทำเองได้ไหม?
คำตอบคือ ‘ได้’ สำหรับใครที่ต้องการยืดอายุการเก็บรักษาของอาหารหรือมีแผนที่จะทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารแต่ประสบปัญหาเรื่องของวันหมดอายุหรืออาหารเสียไว การพาสเจอร์ไรซ์ถือเป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ในระดับที่ดีเลยทีเดียว
โดยผมจะยกตัวอย่างอาหารเป็น นม
สมมติว่าเรามีน้ำนมดิบอยู่จำนวนหนึ่ง แต่เราต้องการยืดอายุของมัน ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการนำมันไปให้ความร้อนในอุณหภูมิและเวลาที่กำหนด และวิธีที่ง่ายที่สุดคือการนำไปต้ม เราสามารถเลือกได้ว่าจะพาสเจอร์ไรซ์แบบใด ซึ่งผมจะมาแนะนำวิธีง่าย ๆ สองวิธี ได้แก่
1.
LTLT (Low Temp Long Time) หรือก็คือการให้ความร้อนต่ำแต่ใช้เวลานาน โดยนำนมไปต้มที่อุณหภูมิ ประมาณ 63-66 องศา เป็นเวลา 30 นาที หรือ
2.
HTST (High Temp Short Time) เป็นการใช้อุณหภูมิที่สูงแต่ใช้เวลาไวขึ้น โดยปกติจะอยู่ที่ประมาณ 72 องศา เป็นเวลา 15 วินาที
หลังจากนั้นเราก็จะได้ นมพาสเจอร์ไรซ์ ที่พร้อมบรรจุขวดนั่นเอง
อย่างไรก็ตามทั้งสองวิธีต่างมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน อีกทั้งตัวอย่างที่ผมยกขึ้นมาเป็นประเภทอาหารเหลว ดังนั้นหากเป็นอาหารที่มีลักษณะเป็นชิ้นเนื้อก็อาจจะต้องพิจารณากันอีกที
หากใครมีข้อสงสัยหรือข้อเสนอแนะดี ๆ สามารถทิ้งไว้ที่ comment ด้านล่างได้เลยครับ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย