29 ส.ค. 2022 เวลา 13:43 • สุขภาพ
#ต่อมหมวกไตล้า_สาเหตุอ่อนเพลียเรื้อรังของคนยุคนี้
"ภาวะต่อมหมวกไตล้า หรือ Adrenal fatigue syndrome" เป็นปัญหาสุขภาพหนึ่งที่พบบ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน ยังไม่จัดเป็นโรค มีอาการได้หลากหลาย ความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันออกไป และ ที่สำคัญยังไม่มีเกณฑ์การวินิจฉัยที่จำเพาะหรือตายตัว เพราะเป็น Clinical Diagnosis เป็นส่วนใหญ่ เป็นภาวะที่ Dynamic คือ เกิดขึ้นแล้ว ดูแลฟื้นฟูตัวเองแล้ว อาการอาจจะดีขึ้นและหายไปได้ ดังนั้น การตรวจวินิจฉัยภาวะนี้จึงต้องพิจารณาอาการคนไข้ ร่วมกับผลการตรวจเลือดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกัน
.
#อาการที่เราพบบ่อยในผู้ที่มีปัญหานี้ ได้แก่
- เหนื่อยเพลียเรื้อรัง มักตรวจหาสาเหตุต่าง ๆ แล้วไม่พบสาเหตุแน่ชัดของอาการ (ต้องตรวจหาสาเหตุที่ทำให้มีอาการเหนื่อยเพลียเรื้อรังต่าง ๆ ก่อนเสมอ เช่น โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไต ตับ โรคมะเร็ง โรคเลือดจาง และ อื่น ๆ เป็นต้น)
- รู้สึกว่ามีพละกำลังเรี่ยวแรงลดลง รู้สึกเหนื่อยง่ายขึ้น ออกกำลังกายได้น้อยลง แรงตก
- ร่างกายต้องการสิ่งกระตุ้นให้ตื่นตัวมากขึ้น เช่น ต้องดื่มกาแฟมากขึ้น ดื่มเครื่องดื่มรสหวานมากขึ้น เพื่อให้สดชื่น มีพลังในการทำงาน การช้ชีวิตประจำไวัน
- นอนไม่ค่อยหลับ หรือ หลับไม่ค่อยสนิท ตื่นนอนตอนเช้าลำบาก ลุกจากที่นอนยาก
- เจ็บป่วยบ่อย เช่น เป็นไข้ ไอ หวัด เจ็บคออยู่บ่อย ๆ
- เวียนหัว มึนหัวบ่อย ๆ หรือ ปวดไมเกรน ปวดหัวคล้ายไมเกรนบ่อย ๆ
- อารมณ์ไม่ดี บางคนมีซึมเศร้าง่าย วิตกกังวล ชีวิตขาดความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
- อาจมีอาการกลุ่มภูมิแพ้ได้ง่าย เช่น ผื่นคัน น้ำมูกใสไหล ไอ จาม เป็นต้น
 
- น้ำหนักขึ้นเร็ว ลดน้ำหนักได้ยากขึ้น บางครั้งอาจดูเหมือนบวมง่ายขึ้น
- ในผู้หญิง อาจส่งผลทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
- สมรรถภาพทางเพศลดลง ความต้องการทางเพศลดลง
- รู้สึกว่าตัวเองทนต่อความเครียดได้น้อยลง เป็นต้น
.
#สาเหตุสำคัญที่อาจนำไปสู่อาการต่อมหมวกไตล้า?
เป็นผลจาก ความเครียด (Stress) ที่เกิดขึ้น ทั้งความเครียดทั้งทางร่างกาย (Physical stress) ทางจิตใจ และอารมณ์ (Psychological and Emotional stress) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะนี้ เพราะเมื่อเรามีความเครียดเกิดขึ้น ร่างกายจะตอบสนองโดยระบบประสาทและฮอร์โมนที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะฮอร์โมนที่สำคัญ ได้แก่ ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นนอก (Adrenal Cortex Hormone) ได้แก่
.
Ⓜ️ #คอร์ติซอล (Cortisol) - ฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกายรับมือกับความเครียดได้
Ⓜ️ #ดีเอชอีเอ (DHEA: Dehydro-epiandrosterone) - ฮอร์โมนที่ช่วยร่างกายต้านความเครียดที่เกิดขึ้น
เมื่อเกิดภาวะนี้ อาจส่งผลให้ระดับฮอร์โมนทั้ง 2 ตัว สูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็น และ ความรุนแรงของอาการที่เป็นนั่นเอง
.
ภาวะนี้ อาจมีผลกระทบต่อฮอร์โมนตัวอื่น ๆ ในร่างกายตามมา เช่น ฮอร์โมนอะดรีนาลีน นอร์อะดรีนาลีน (จากต่อมหมวกไตชั้นใน) ฮอร์โมนเพศชาย/เพศหญิง ทั้ง Testosterone & Estrogen & Progesterone ฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนอินซูลิน เป็นต้น เนื่องจาก ระบบฮอร์โมนในร่างกายของเราทำงานสัมพันธ์กัน
.
ภาวะต่อมหมวกไตล้า สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางยุคและสถานการณ์เช่นปัจจุบันนี้ ที่วิถีชีวิตของเราล้วนแล้วแต่ต้องเผชิญหน้ากับความเครียด ไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่มาจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ปัญหารถติด กินไม่ดี นอนไม่หลับ เร่งรีบในการทำงาน การเรียน การสอบ ข่าวสารชวนเครียด และอื่น ๆ อีกมากมาย สิ่งเหล่านี้ ล้วนแต่ส่งผลต่อฮอร์โมนที่กล่าวมาแทบทั้งสิ้น
.
โดยทั่วไปแล้ว จะมีการแบ่งระยะของอาการของภาวะต่อมหมวกไตล้า (AFS) เป็น 4 ระยะ (Stage) ตามอาการที่เป็น และ ตามระดับฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้
.
1️⃣ #Alarming_phase : ระยะเริ่มแรก
เมื่อเราเริ่มมีความเครียดเกิดขึ้น ร่างกายจะตอบสนองด้วยการผลิตฮอร์โมนมากขึ้นเพื่อรับมือกับความเครียด ทั้ง คอร์ติซอล และ DHEAS รวมถึง Epinephrine (หรือ Adrenaline) Norepinephrine และ Insulin ให้ออกมามากขึ้น
การตรวจวัดฮอร์โมนต่าง ๆ ในช่วงนี้ มักจะพบว่ามีค่าสูงกว่าระดับที่เหมาะสมทุกตัว ทั้งนี้ เป็นกระบวนการที่ร่างกายปรับตัวเพื่อให้เรามีพลังงาน มีความตื่นตัว มีเรี่ยวแรงที่จะจัดการกับปัญหาหรือความเครียดที่เข้ามาได้นั่นเอง
.
2️⃣ #Continuing_the_Alarming_phase : ระยะเตือนภัย
เป็นระยะที่ต่อมาจาก Alarming phase เป็นช่วงที่ร่างกายเราเริ่มใช้พลังงานมากขึ้น ใช้สารอาหารต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อนำมาผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ในการรับมือกับความเครียด ที่ยังถาโถมเข้ามาเรื่อยๆ ทำให้เริ่มร่างกายเราขาดแคลนสารอาหารต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตฮอร์โมนตัวสำคัญ โดยเฉพาะฮอร์โมนคอร์ติซอล ส่งผลให้ร่างกายเราต้องปรับตัว จึงลดการผลิตฮอร์โมนตัวอื่น ๆ ที่ตอนนี้สำคัญน้อยกว่าลง เช่น ฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนเพศหญิง ฮอร์โมน DHEAS เป็นต้น
ในช่วงนี้บางคนจะพบว่า เริ่มมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย อารมณ์ความรู้สึกทางเพศลดน้อยลง สมรรถภาพทางเพศลดลง ไม่กระชุ่มกระชวย กระฉับกระเฉงเหมือนแต่ก่อน
.
3️⃣ #Resistance_phase : ระยะอ่อนล้า
เป็นระยะที่ 3 ของภาวะนี้ ช่วงนี้บางคนจะเริ่มมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียชัดเจนมากยิ่งขึ้น บางคนอาจจะมีอาการที่เป็นอยู่ตลอด บางคนอาจจะสังเกตว่าเริ่มป่วยบ่อย ป่วยง่ายขึ้น เป็นภูมิแพ้ต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัวง่ายขึ้น เนื่องมาจากฮอร์โมนทั้ง คอร์ติซอล และ DHEAS เริ่มต่ำลง อาจทำให้ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immunity) ให้ทำงานได้น้อยลง หรือ ทำงานได้ผิดไปจากปกติ ระยะนี้การผลิตฮอร์โมนหลาย ๆ ตัวเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะ #ฮอร์โมนเพศ (Testosterone & Estradiol & Progesterone)
เนื่องจากมีเปลี่ยนแปลงของการผลิตฮอร์โมนที่ต้องถ่ายเทกำลังการผลิตไปที่ฮอร์โมนต่อมหมวกไตมากขึ้นกว่าปกติ เราเรียกว่า #Pregnenolone_steal_effect นั่นเอง สามารถวินิจฉัยจากการตรวจระดับฮอร์โมนจากเลือดได้
.
4️⃣ #Burnout_phase : ระยะหมดไฟ
เป็นระยะสุดท้าย ระยะที่ 4 ของภาวะนี้ เป็นช่วงที่มีอาการเหนื่อยล้าอ่อนเพลียชัดเจน ทำอะไรก็เหนื่อย ก็ไม่มีเเรง บางคนอาจมีปัญหาเรื่องความดันเลือดที่ค่อนต่ำ วิงเวียนศีรษะง่าย เวลาต้องเปลี่ยนท่าทาง เช่น จากนอนเป็นนั่ง (Orthostatic hypotension) บางคนก็มีปัญหาน้ำตาลต่ำบ่อย ๆ (Hypoglycemia) หิวง่าย แต่พอกินแล้วก็ยังไม่หายเหนื่อย
ภาวะนี้มักพบบ่อยในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังต่างๆ หรือ ผู้ป่วยที่กำลังรักษาตัวอยู่ทั้งที่รพ.และที่บ้านเป็นระยะเวลาที่นานๆ เมื่อตรวจวิเคราะห์ระดับฮอร์โมนทุกตัวในร่างกายมักจะพบว่าต่ำหรือผิดปกติ รวมทั้งอาจจะตรวจพบโรคอื่นๆ ร่วมด้วยอีกมากมาย แนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อดูแลรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
.
👨‍⚕️ ปัจจุบันนี้ มีการตรวจวัดระดับฮอร์โมนต่างๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยภาวะนี้ร่วมด้วย เช่น ระดับฮอร์โมน Cortisol DHEA sulfate Testosterone Estradiol Progesterone และ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ซึ่งก่อนเข้ารับการตรวจดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนนะครับ
.
👨‍⚕️ เรื่องราวของ "กลุ่มอาการต่อมหมวกไตล้า (Adrenal Fatigue Syndrome)" ที่เล่าให้ฟังกันในวันนี้ น่าจะเป็นประโยชน์หลายท่านที่กำลังมีอาการเหนื่อยล้าอ่อนเพลียอยู่ ตรวจหาสาเหตุต่างๆ แล้วไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน (เช่น โรคไทรอยด์ เบาหวาน โรคหัวใจ ไต ตับ อื่น ๆ เป็นต้น) ดังนั้น การตรวจตามข้างต้นนี้ น่าจะช่วยให้เราได้ทราบว่าตัวเองกำลังมีปัญหานี้หรือไม่ ? หากมี จะได้วางแผนการรักษา ป้องกันอย่างเหมาะสมต่อไป นั่นเอง
.
#AdrenalFatigueSyndrome #AFS
#ChronicFatigueSyndrome #CFS
#HormoneWellnessCheckupProgram
#DoctorWeightWellnessClinic
#หมอหล่อคอเล่า
.
References :
James L. Wilson, N.D.,D.C.,Ph.D., Adrenal fatigue : The 21st Century Stress Syndrome.
โฆษณา