Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ขนมปังยามเช้า
•
ติดตาม
6 ก.ย. 2022 เวลา 13:00 • ประวัติศาสตร์
ขอให้โลกนี้ไม่มีพันธุฆาต (No More! Genocide)
EP.6: Oswiecim เมืองที่ถูกความเศร้าล้อมกรอบ 🏘
เอาจริงๆประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของโปแลนด์เป็นอะไรที่น่าเห็นใจมากๆเลย ใน post นี้ ถ้าใครที่รู้สึกเห็นดีเห็นงามกับเรื่องปูตินบุกยูเครน หรือคนที่ take side แบบโปรรัสเซียสุดๆ อยากให้มาชมพิพิธภัณฑ์ที่ Auschwitz สักครั้งจังเลย เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในยุโรปตอนนี้มีความคล้ายกับเรื่องราวในช่วง 1939 หลายอย่างทีเดียว เดี๋ยวจะทยอยเล่าให้ฟังนะครับ … กับ Holocaust and Genocide studied workshop ในวันที่หกก 🇵🇱🇺🇦
เริ่มวันด้วยการฟัง Lecture เรื่องทหารนาซีหน่วย SS (Schutzstaffel) หรือ หน่วยทหารกึ่งพลเรือนที่ฮิตเลอร์วางไว้ให้มีบทบาทเป็นผู้จัดการค่ายกักกันต่างๆทั่วยุโรป และมีบทบาทโดยตรงต่อการสังหารพลเรือนนับล้าน (ทั้ง Jews, political prisoner, Soviet POW, Roma-sinti and etc.) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
(ขออนุญาตไม่ลงดีเทลนะครับ) แต่สรุปให้ฟังแทนว่า เป็นหน่วยที่รับพลเรือนเยอรมันทั่วไปผู้สนใจเรื่องชาติพันธุ์อารยันอย่างเข้มข้น และอยากใส่เครื่องแบบทหาร เข้ามา ดังนั้นจึงมีทั้งพวกคลั่งนาซี, เชิดชูฮิตเลอร์ บลาบลา อยู่ในหน่วยนี้ และงานในค่ายกักกัน Auschwitz เปรียบได้ดั่ง “สวรรค์” ของพวกเขาเพราะจะได้ไม่ต้องไปเสี่ยงชีวิตในแนวหน้า และถ้าพวกเขาทรมานหรือฆ่าเชลยแต่ละที ก็จะได้รับรางวัลจากเจ้านายอีกด้วย
จากนั้นก็มีโปรแกรมเดินทางไปชมเมือง Oswiecim ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่ตั้งของค่าย Auschwitz I และ Auschwitz II- Birkenau เท่าไรนัก
Oswiecim เป็นเมืองเล็กๆในโปแลนด์ ที่มีประชากรเบาบาง แต่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ที่หนักอึ้งอยู่ทีเดียว
แรกเริ่มเมืองนี้มีประชากรชาวยิวอาศัยอยู่ประมาณ 60% ของจำนวนประชากรทั้งหมด แต่พอนาซีบุกโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน 1939 และสามารถยึดเมือง Oswiecim ได้ในเวลาไล่เลี่ยกัน (ในภาพคือ Synagogue หรือสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาของชาวยิวในเมือง Oswiecim ส่วนตู้ที่เห็นด้านซ้ายนั้น คือที่เก็บคัมภีร์โบราณโทราห์)
นับแต่นั้นประชากรยิวในเมืองก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง (ถูกฆ่า หรือไม่ก็ถูกส่งไปที่ค่าย Auschwitz I & II) จนกระทั่งปัจจุบัน ปรากฏว่าไม่มีประชากรยิวหลงเหลืออยู่ในเมืองนี้เลย!
ออกจาก Synagogue มาก็เจอหลังคาโบสถ์คาทอลิก ที่ชื่อ Church of the Assumption of the Blessed Virgin Mary
Graffiti in Oswiecim
โรงแรมในเครือ Hilton ที่เมื่อช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตว้อดก้าชื่อดัง Jakob Haberfeld Story ซึ่งดำเนินงานโดยชาวยิว
หมุดเล็กๆหน้าทางเข้าโรงแรม เพื่อเป็นการระลึกถึง Jakob Haberfeld Story
บรรยากาศในเมือง Oswiecim (จะเห็นโบสถ์คาทอลิกที่ใหญ่มากอยู่ข้างหน้า)
แล้วพอหมุนกล้องมาทางขวา … ณ จุดนี้ เคยเป็นที่ตั้งของ the great synagogue ของชาวยิว ที่ใหญ่ที่สุดใน Oswiecim (นาซี SS สั่งให้ระเบิด Synagogue นี้ทิ้งแล้วเรียกแรงงานชาวยิวในค่าย Auschwitz มาให้มาช่วยเก็บกวาด
โฉมหน้าของมหาวิหาร (the great synagogue) ซึ่งของจริงสูงกว่าตึกสามชั้น
ถนนที่ในอดีตเมื่อ 90 ปีก่อน เป็นย่านที่คึกคักมากๆของชาวยิว
Church of the Assumption of the Blessed Virgin Mary
Market Square (จัตตุรัสกลาง) ในเมือง Oswiecim
เห็นพื้นที่ภายในเส้นสีน้ำตาลกลางจัตุรัสนั่นไหม
• นาซีเคยสร้างป้อมบังเกอร์ไว้ เพื่อใช้หลบภัยทางอากาศ
• และเมื่อนาซีแพ้สงครามไป ทหารโซเวียตเข้ามาแทนที่ พวกเขาสั่งให้ชาวเมืองสร้างตึกใหญ่สองชั้น เพื่อใช้เป็นหลุมหลบภัย อยู่ตรงกลางจัตุรัสเลย (ก่อนที่จะถูก remove ออกไปช่วงสงครามเย็นจบลง)
กลับจาก Oswiecim แล้วก็มาเดินชมนิทรรศการต่างๆ ที่จัดแสดงใน blocks ของค่าย Auschwitz ต่อ
Block 15 ที่ภายในมีนิทรรศการเกี่ยวกับ ชะตากรรมของประเทศโปแลนด์ในช่วงปี 1930-1945 และสิ่งที่ได้จากนิทรรศการนี้คือ …
“Germanization” vs “Sovietization”
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า ครั้งหนึ่งประเทศโปแลนด์เคยถูกกองทัพจากสองประเทศรุมทึ้งในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน (นาซีเยอรมันบุกโปแลนด์ทางชายแดนด้านตะวันตกในวันที่ 1 กันยายน 1939 ขณะที่โซเวียตรัสเซียบุกโปแลนด์ด้านตะวันออก ในวันที่ 17 กันยายน 1939)
นาซีเยอรมันดำเนินนโยบายที่โหดร้ายกับคนโปแลนด์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการห้ามคนโปลใช้สาธารณูปโภคร่วมกับคนเยอรมันที่เริ่มอพยพมายัง “ดินแดนใหม่” นี้มากขึ้นเรื่อยๆ
มีการเปลี่ยนป้ายถนนทั้งหมดในเขตยึดครอง จากภาษาโปลลิช เป็นภาษาเยอรมัน/ ห้ามเด็กโปลเรียนหนังสือ ห้ามใช้สนามเด็กเล่น/ มีการโฆษณาชวนเชื่ออยู่ตลอดเวลาว่า คนโปลนั้นด้อยค่ากว่าเผ่าพันธ์ุอารยันเยอรมัน และควรจะเป็นทาสรับใช้คนอารยันเยอรมัน/ มีการประหารชีวิตแบบรายวันกลางท้องถนน/ ส่งคนโปลออกไปทำงานหนัก/ และจากนั่นก็ส่งไปค่ายกักกัน
กระบวนการทั้งหมดนี้เรียกรวมๆว่า “การเปลี่ยนให้เป็นเยอรมัน หรือ Germanization” ซึ่งประมาณการว่ามีคนโปแลนด์เสียชีวิตไปราว 450,000 คน
ขณะเดียวกันทางแนวรบด้านตะวันออกที่โซเวียตรัสเซียบุกเข้ามา โซเวียตนำเดินนโยบายที่แข็งกร้าวและโหดเหี้ยมกับชาวโปลเช่นกัน เพราะนอกจากส่งพวกเขาบางส่วนไปใช้แรงงานในค่าย Gulag ที่ไซบีเรียแล้ว ยังมีการสังหารหมู่คนโปแลนด์โดยกองทัพโซเวียตรัสเซียเกิดขึ้นมากมายในหลายพื้นที่ (โดยเฉพาะเหตุการณ์ khatyn massacre ที่มีคนโปลเสียชีวิตไปคราวเดียว 25,000 คน)
และประมาณกันว่า มีคนโปแลนด์เสียชีวิตจากเงื้อมมือทหารโซเวียตไปราว 200,000 คน ตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ …. ภายหลังสงคราม ไม่มีทหารโซเวียตรัสเซียคนไหน ถูกไต่สวนหรือได้รับโทษใดๆเลย
และด้วยประวัติศาสตร์ที่นองเลือดเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมผู้คนที่นี่ถึงเป็นห่วงผู้ลี้ภัยชาวยูเครน กังวลกับสถานการณ์สงครามในยูเครน และประณามการบุกยูเครนของปูติน … เพราะเมื่อเวลาผ่านไป 90 กว่าปี (เริ่มนับจาก 1939) บัดนี้ สงครามครั้งใหญ่กำลังกลับมารอเคาะประตูเรียกพวกเขาอีกครา
พอดูนิทรรศการเสร็จ ก็ออกมาเก็บภาพค่าย Auschwitz ด้วยความอึนๆในใจ และ…
ปรารถนาเหลือเกิน ที่จะให้ …
สถานที่ …
แห่งนี้ …
เป็นดั่งหมุดหมาย …
ที่จะคอย …
ย้ำเตือนใจ ว่า …
มนุษย์ทุกคนมีคุณค่า …
มีความเท่าเทียม …
มีความรัก มีความสุข และมีความทุกข์ เหมือนกันทุกคน
และพวกเขาไม่สมควรถูกกระทำเยี่ยงนี้ …แบบที่เกิดขึ้นใน Auschwitz และค่ายกักกันอีกหลายแห่งบนโลกของเรา #neverAgain
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม 🙏🏻
#aDailyBread🍞
ปล. Series เกี่ยวกับ Workshop ครั้งนี้จะมี 8 EP
ซึ่งผมจะทยอยลงทุกๆวัน อังคาร กับ ศุกร์
ตอนสองทุ่มครับ 👋🏻
ประวัติศาสตร์
ความรู้รอบตัว
ข่าวรอบโลก
1 บันทึก
3
2
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
#a Daily Bread with JAM 🍞🍒📚
1
3
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย