2 ก.ย. 2022 เวลา 13:00
ขอให้โลกนี้ไม่มีพันธุฆาต (No More! Genocide)
EP.5: With “passion” u can shake the world ((🌍))
“ถ้าเราค้นพบ passion กับอะไรบางอย่าง แล้วลงมือทำให้เต็มที่ ไม่มีหรอกคำว่า passion นั้นมันเล็กน้อยเกินไป ไม่มีใครตัดสินใครได้ เพราะอย่าลืมว่าโลกนั้นช่างกว้างใหญ่ ทุกอย่างล้วนมีความหมาย และมีที่มีทางของมันเสมอ”
ขอเกริ่นเข้าเรื่องราวของ Holocaust and Genocide studied workshop ในวันที่ห้าด้วยข้อความด้านบนก่อนละกันครับ สำหรับตารางโปรแกรมในวันนี้ไม่ได้ออกไปลุย Museum เหมือนสองสามวันที่ผ่านมาสักเท่าไร ส่วนใหญ่เป็น lecture เปิดโลก แล้วก็อีกหนึ่ง highlight ในช่วงเย็น ที่เดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังเป็นลำดับครับ
เริ่มจาก Lecture เรื่อง From the liberation of the camp to the establishment of the State Museum in Oswiecim (1945-1947) โดย Dr. Jarek Lachendo ที่อธิบายถึงเหตุการณ์ต่างๆภายหลังจากที่ทหารโซเวียตบุกเข้ามาปลดปล่อยค่ายกักกัน Auschwitz I และ Auschwitz II- Birkenau ได้สำเร็จในช่วงท้ายของ WWII (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมของ lecture นี้ได้ต่อในรูปครับ)
จากนั้นก็เป็น Lecture เรื่อง “การแพทย์ในค่าย Auschwitz” โดย Teresa Wontor-Cichy ซึ่งพาร์ทนี้ขอไม่ลงดีเทลมาก แต่จะสรุปคร่าวๆว่า ในค่ายมีการจับนักโทษมาเป็น Subject ในการทดลองทางการแพทย์ที่โหดร้ายในด้านต่างๆมากมาย และทุกอย่างดำเนินไปภายใต้การ support ของบริษัทเอกชนชื่อดังต่างๆหลายแห่งในเยอรมัน
แล้วก็เป็น workshop กิจกรรมกลุ่มในประเด็นชะตากรรมของชาว Roma-Sinti หรือที่คนไทยเรียกกันติดปากว่าชาวยิปซี ที่ซึ่งถูกจับมาคุมขัง/ทรมาน/ใช้แรงงาน/ และสังหารหมู่ภายในค่าย Auschwitz ทั้งสองแห่งเฉกเช่นเดียวกับชาวยิว (ประมาณการว่า มีคนกลุ่มนี้เสียชีวิตในค่ายราว 21,000 คน - และส่วนใหญ่เป็นเด็ก)
Lecture สุดท้ายของวัน เป็นเรื่องของ “กีฬาในค่าย Auschwitz” ปรากฏว่าในค่ายเองนั้นมีนักกีฬาชื่อดังต่างๆถูกจับเข้ามาขัง และเสียชีวิตที่นี่มากมาย อาทิเช่น (Arpad Weisz เป็นนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติ Austro-Hungary เชื้อสายยิวที่เล่นให้กับทีม Inter Milan - เขาถูกจับส่งมาที่ค่าย Auschwitz ในเดือนตุลาคม 1942 และเสียชีวิตในค่ายเดือนมกราคม 1944) นอกจากนี้ในค่ายยังมีสระว่ายน้ำ (บ่อเก็บน้ำ) และสนามฟุตบอลกับสนามวอลเลย์บอลชั่วคราว ให้นักโทษใช้แข่งขันเพื่อเอนเตอร์เทรนเจ้าหน้าที่ทหารนาซี อีกด้วย
และอย่างที่เกริ่นไปในตอนต้น ว่ามี highlight ของวันเกิดขึ้นในช่วงเย็น นั่นก็คือ ใน session สุดท้ายได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมในเขตหวงห้ามของพิพิธภัณฑ์ Auschwitz - Birkenau กล่าวคือ ได้เข้าไปดูการทำงานของเจ้าหน้าที่ในศูนย์อนุรักษ์โบราณวัตถุต่างๆของค่ายกักกันทั้งสองแห่ง (Preservation Department)
โดยในโซนนี้เขาห้ามถ่ายภาพใดๆทั้งสิ้น จึงต้องขออภัยที่ไม่สามารถเอาภาพมาฝากได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ได้กลับมาภายหลังจากฟังเจ้าหน้าที่อนุรักษณ์ผู้ซึ่งเดินทางมาจากบ้านเกิดในเยอรมัน เพื่อเป็นอาสาสมัครในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มาแล้ว 4 ครั้ง จนกระทั่งวันนี้เธอได้ทำงานที่รัก เป็นนักอนุรักษ์อย่างสมใจ และดูมีความอิ่มใจไปกับวัตถุพยานที่แสดงถึงความความโหดร้ายของมนุษย์ ที่เธอถือขึ้นมาโชว์ให้เราดูอยู่จริงๆ
ก่อนกลับ เธอบอกกับพวกเราว่า “งานเล็กๆที่ทีมงานของเธอช่วยกันดูแลโบราณวัตถุเหล่านี้ มันไม่ได้มีความหมายเฉพาะต่อตัวเธอเองเท่านั้น แต่เธอยังคาดหวังว่าสิ่งที่ทำ สักวันมันจะส่งผลกระทบทางจิตสำนึกอย่างมหาศาลต่อเด็กๆในรุ่นถัดไป ให้พวกเขาได้เข้าใจถึงความสำคัญของความรักและสันติภาพกันอย่างแท้จริงเสียที”
“จะได้ไม่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุกันอีกต่อไป…”
พอฟังนักอนุรักษ์เล่าจบ เดินออกจากประตูมา ใจมันอยากบอกกับทุกคนว่า “ถ้าเราค้นพบ passion กับอะไรบางอย่าง แล้วลงมือทำให้เต็มที่ ไม่มีหรอกคำว่า passion นั้นมันเล็กน้อยเกินไป ไม่มีใครตัดสินใครได้ เพราะอย่าลืมว่าโลกนั้นช่างกว้างใหญ่ ทุกอย่างล้วนมีความหมาย และมีที่มีทางของมันเสมอ”
นั่นละครับ ตามนั้นเลย ✌🏻 #youguysrock
เดินผ่านค่ายในยามเช้า
เดินเข้ามาที่อาคาร Lecture ของพิพิธภัณฑ์ (ตึกสามชั้นทางขวามือ)
หัวข้อบรรยายในเช้านี้
ขอเรียบเรียง Timeline เรื่องการปลดปล่อยค่ายให้ฟัง:
12 Jan 1945: กองทัพโซเวียตเริ่มตีโต้นาซี
17 Jan 1945: พวกเขาบุกเข้าถึงเมือง Oswiecim
ขณะเดียวกันทหารนาซีก็บังคับให้เชลยศึกและชาวยิวในค่าย Auschwitz I & II จำนวนกว่า 56,000 คน เดินเท้าออกจากค่ายเพื่อไปยังค่ายอื่นที่อยู่ในเขตแดนเยอรมัน (โดยทิ้งชาวยิวและเชลยจำนวน 9,000 คนที่ร่างกายอ่อนแอเกินไป ไว้ในค่าย) ซึ่งมีหลายคนเสียชีวิตจากการเดินทางครั้งนี้
27 Jan 1945: ค่าย Auschwitz I , Auschwitz II- Birkenau, Auschwitz III - Monowitz และค่ายแรงงานขนาดเล็กต่างๆในเมือง Oswuecim ถูกปลดปล่อย (Liberated) โดยทหารโซเวียต ท่ามกลางซากศพของชาวยิวและคนกลุ่มอื่นในค่ายที่ถูกทหารนาซีฆ่าตาย ที่กองรวมกันอยู่ตามมุมต่างๆในค่ายมากมาย
หนึ่งอาทิตย์หลังจากค่ายถูกปลดปล่อย ทหารโซเวียตได้มีการตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้นภายในค่าย Auschwitz I เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย อ่อนแรงเพราะขาดสารอาหารของชาวยิวและอดีตนักโทษในค่าย
วันที่ 6 Feb 1945: องค์กรกาชาดสากลของโปแลนด์ได้เข้ามาตั้งโรงพยาบาลสนามที่ Auschwitz I เช่นกัน
ซึ่งอาการเจ็บป่วยที่พบบ่อยของอดีตนักโทษในค่าย ได้แก่ ถ่ายเป็นเลือด, ท้องเสียขั้นรุนแรง, โรคผิวหนังเรื้อรัง, ขาดสารอาหารขั้นรุนแรง เป็นต้น (พบว่านักโทษชายส่วนใหญ่เหลือน้ำหนักตัวอยู่ที่ 25-35 กิโลกรัม เท่านั้นเอง)
โดยโรงพยาบาลสนามทั้งสองแห่งใน Auschwitz I เปิดช่วยเหลือนักโทษถึงเดือน Sep 1945 เท่านั้น แล้วก็ย้ายออกไป
สำหรับอดีตนักโทษที่แข็งแรงจนพอเดินทางได้แล้ว พวกเขาจะได้รับการออกใบรับรองจากทางโรงพยาบาลสนามทั้ง 2 แห่งนี้ เพื่อใช้แทน Passport และบัตรประชาชน สำหรับการเดินทางกลับบ้านตนเองที่อยู่ในประเทศต่างๆทั่วยุโรป (ภาพด้านบนคือ รูปของใบรับรองดังกล่าวครับ)
ต่อมาในเดือน May 1945 รัฐบาลโซเวียตเริ่มทำการสอบสวนในประเด็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่กองทัพนาซีกระทำต่อชาวยิว, ชาว Roma-sinti, เชลยศึกโซเวียต และคนกลุ่มอื่นๆในค่าย Auschwitz I, Auschwitz II และ Auschwitz III
จากนั้นในเดือน June 1945 กองทัพโซเวียตเปลี่ยน Auschwitz I และ Auschwitz II ให้เป็นค่ายกักกันเชลยศึกนาซีแทน (อีกทั้งโซเวียตยังมีการรื้อถอนอาคารหลายหลังในค่าย เพื่อเอาวัสดุไปขาย, เปลี่ยนข้อความภาษาเยอรมันในค่ายให้เป็นภาษารัสเซียแทน ฯลฯ)
ถ้าสังเกตจากภาพจะเห็นว่า ที่หน้าแระตูทางเข้า Auschwitz I ป้ายเหล็กที่เขียนว่า “จงทำงานเพื่ออิสรภาพ (ARBEIT MACHT FREI)” ได้หายไป เนื่องจากทหารโซเวียตถอดออก เพื่อจะเอาไปขาย แต่โชคดีที่อดีตนักโทษชาวยิวของค่ายนี้คนหนึ่งรู้เข้า เลยติดสินบนทหารโซเวียตผู้นั้น เพื่อที่จะเอาป้ายกลับคืนมาอยู่ที่เดิม
Sport in Auschwitz (lecture): Arpad Weisz เป็นนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติ Austro-Hungary เชื้อสายยิวที่เล่นให้กับทีม Inter Milan - เขาถูกจับส่งมาที่ค่าย Auschwitz ในเดือนตุลาคม 1942 และเสียชีวิตในค่ายเดือนมกราคม 1944
แผนผังแสดงให้เห็นว่า ครั้งหนึ่งในค่าย Auschwitz I มีการตั้งสนามวอลเลย์บอลด้วย (สีเขียวในภาพ)
แผนผังแสดงให้เห็นว่า ครั้งหนึ่งในค่าย Auschwitz II- Birkenau มีสนามฟุตบอลด้วย (สีเขียวในภาพ)
ภาพที่ถูกวาดโดยอดีตนักมวยเชื้อสายยิว ที่ถูกส่งมา Auschwitz
ภาพที่นักโทษในค่าย Auschwitz I วาดบอกเล่าเรื่องราวว่า ทหารนาซีเคยจัดการแข่งขันฟุตบอลเพื่อสร้างความอับอายให้แก่นักโทษ (โดยในภาพจะเห็นว่า ทีมหนึ่งเป็นคนอ้วนมาก vs อีกทีมที่มีรูปร่างผอมมากๆ)
แผนผังแสดงให้เห็นว่า ในค่าย Auschwitz I มีสระว่ายน้ำด้วย (สีน้ำเงินในภาพ)
สภาพสระว่ายน้ำของจริงที่ตั้งอยู่ท้ายค่าย
อีกมุมหนึ่งของสระว่ายน้ำ ที่ปกติถูกใช้เป็นสถานที่พักสำรองน้ำของค่าย
สำหรับ session ที่เกี่ยวกับงานอนุรักษ์ เนื่องจากเขาไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพใดใดภายในตึก Preservation Department ได้ … ผมเลยขอถ่ายภาพการทำงานของนักอนุรักษ์จากในหนังสือที่ผู้บรรยายนำมาแจกให้ดูแทนนะครับ :)
แล้วเจอกันใหม่วันอังคารหน้า ผมจะพาทุกคนไปดูผู้คนในเมือง Oswiecim สถานที่ที่ค่ายกักกัน Auschwitz ทั้ง 3 แห่งตั้งอยู่ครับ … do widzenia!😊👋🏻
.
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม ^^
#aDailyBread🍞
ปล. Series เกี่ยวกับ Workshop ครั้งนี้จะมี 8 EP
ซึ่งผมจะทยอยลงทุกๆวัน อังคาร กับ ศุกร์
ตอนสองทุ่มครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา