6 ก.ย. 2022 เวลา 16:41 • ธุรกิจ
Bias EP2 - Self-Serving Bias (เข้าข้างตัวเองเก่งนะเรา)
คือความคิดแบบไหน ?
ความคิดที่ว่าถ้าเราทำอะไรสำเร็จ เราจะคิดว่าความสำเร็จนี้มาจากความเก่งของเรา แต่ถ้าล้มเหลวเราจะคิดว่าเป็นเพราะปัจจัยภายนอก!!! 😡
ตัวอย่างในชีวิตประจำวัน
- เมื่อเราสอบได้เกรด A เราจะคิดว่าเราโคตรเก่งเลย ฉลาดมาก ทบทวนเนื้อหามาตลอดเลยประสบความสำเร็จ🥳 แต่พอเราได้เกรด C เพราะแก นังมุก!!! อยู่กลุ่มเดียวกับแกเลยทำให้คะแนนงานกลุ่มน้อยแล้วอาจารย์ยังสอนไม่ดีอีก🤬
- เวลาที่เราสัมภาษณ์งานแล้วเราได้งาน เราจะคิดว่าเราเตรียมตัวดี ขณะที่ถ้าไม่ได้เป็นเพราะคนสัมภาษณ์มันมองไม่ออกว่าชั้นเก่ง เสียใจด้วยนะ!! 😤
- เวลาที่เราจีบใครสักแล้วแล้วจีบติด เราจะคิดว่าชั้นโคตรสวยเลย แต่ถ้าเค้าไม่เอาเราละ…อิคนเฮงซวย!! 😠
ทำไมเราถึงคิดแบบนี้?
ในโลกที่สิ่งแวดล้อมมักจะคอยบั่นทอนความมั่นใจของเรา เราจึงหาวิธีปกป้องตัวเองและสร้างความมั่นใจให้ตัวเองเพื่อให้มีความกล้าในการทำสิ่งต่างๆมากขึ้น ดังนั้นเราจึงเข้าข้างตัวเองโดยสัญชาตญาณ
อคตินี้ส่งผลอย่างไรต่อตัวเราและคนรอบข้าง ?
- เมื่อเราเข้าข้างตัวเองมากเกิดไป เราจะกลายเป็น”คนหลงตัวเอง” และโยนความผิดทุกอย่างให้คนอื่นทำให้กลายเป็นมนุษย์ที่ไม่สามารถพัฒนาตัวเองจากข้อผิดพลาดได้ (ก็ชั้นไม่ผิด ชั้นถูกเสมอ ชั้นจะเรียนรู้ได้ไงละ!!! 🙄)
- แต่ถ้าเราไม่ชมตัวเอง ในทางตรงข้ามเราจะกลายเป็นมนุษย์ที่ขาดความมั่นใจและเวลาสำเร็จจะยกความดีความชอบให้ปัจจัยภายนอกหมดทำให้เราไม่มีความกล้าในการลงมือทำและพัฒนาตัวเองได้ช้าเพราะความกลัวแทน 😨
- ในระยะยาวคนประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะถูกเกลียดสูง เนื่องจากเอาดีเข้าตัว เอาชั่วให้คนอื่นหมด 🤯
- ในสังคมถ้าต่างฝ่ายต่างมีอคติแบบนี้ทั้งคู่จะเกิดอะไรขึ้น นังมุกแกนั่นแหละผิด!! ไม่ใช่แกต่างห่างที่ผิด!! ใช่แล้วทุกคนจะต่างโทษกันเองและนำไปสู่การทะเลาะกันหรือเกลียดกันได้
เราจะป้องกันอคติแบบนี้ได้อย่างไร ?
- หาคนให้ feedback เสมอไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวและเมื่อเราเป็นคนรับ feedback สิ่งที่ควรมีคือ
  • 1.
    ฟังอย่างตั้งใจและเปิดกว้าง อย่าเพิ่งเถียงหรือแก้ตัว
  • 2.
    ถามเพื่อหาสาเหตุหรือข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาตัวเอง
  • 3.
    ทำแผนพัฒนาอย่างมีรูปธรรมและ Deadline ชัดเจน
- ในทางกลับกันถ้าเราเป็นคนต้องให้ feedback ผู้อื่น สิ่งที่ควรทำคือ
  • 1.
    ให้ feedback ทันทีที่จบงานเพราะเราจะยังจำได้ดี
  • 2.
    ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นว่ามีผลอย่างไร
  • 3.
    ให้คำแนะนำเพื่อพัฒนา
  • 4.
    ถามคนที่มาถามเรากลับว่าคิดว่าอย่างไร
ตัวอย่างเช่น
จากการพรีเซ้นงานครั้งล่าสุดกับนังมุกและเราทั้งคู่ต่างต้องการพัฒนาตัวเอง บทสนทนาที่ควรเป็น
คุณผู้อ่าน: แกว่าชั้นพลาดตรงไหนวะ
 
นังมุก: ตอนพรีเซ้นแกดูมึนๆนะ (อันนี้ไม่ดีเพราะคนฟังจะงง)
 
คุณผู้อ่าน: มึนตอนไหนฟะ
 
นังมุก: เช่นตอนเริ่มพรีเซ้นแกลืมแนะนำตัวเองไงทำให้อาจารย์เค้าตัดคะแนนตรงส่วนนี้ แกคิดว่าไงละ (อันนี้ดีเพราะชี้ให้เห็นถึง สถานการณ์และพฤติกรรมและผลลัพธ์คือโดนตัดคะแนน)
คุณผู้อ่าน: เออจริงแล้วพัฒนายังไงดีอะแก
นังมุก: ทีหลังก็อย่าลืมสิ!! (อันนี้เวิร์คเพราะไม่รู้จะทำไงต่อ)
คุณผู่อ่าน: ก็เพราะมันลืมถึงได้เกิดไง!!
ทั้งคู่: ตบตีๆๆๆๆๆ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา