17 ก.ย. 2022 เวลา 02:33 • สุขภาพ
#ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้รักษามะเร็งเต้านม
สวัสดีทุกคนครับ วันนี้ คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน หมอมีเรื่องราวเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม ระยะที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งมาที่ต่อมน้ำเหลืองรักแร้ มาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันนะครับ
อย่างที่ได้ทราบกันแล้วว่า การกระจายของมะเร้งเต้านม นอกจากการกระจายในตัวต่อมน้ำน้ำเองแล้ว ยังมีการกระจายของเซลล์มะเร็งออกมาทางทางเดินน้ำเหลือง https://www.blockdit.com/posts/630ff48dd959a0f09a314e9b
โดยต่อมน้ำเหลืองรักแร้จะเป็นตัวที่ดักจับการกระจายของมะเร็งเต้านม ดังนั้น ถ้าพบเจอเซลล์มะเร้งเต้านมที่ต่อมน้ำเหลืองรักแร้ ศัลยแพทย์ก็จะต้องทำการผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองรักแร้ออกทั้งหมด เพื่อลดอัตราการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม
การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้นี้เราเรียกว่า
AXILLARY LYMPH NODE DISSECTION (ANLD)
โดยการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้ANLDนี้ มีภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง ดังนี้
1.แผลผ่าตัดติดเชื้อ (SURGICAL SITE INFECTION)
โดยปกติแล้วการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดสามารถเกิดขึ้นได้ประมาณ 1 % ซึ่งเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อนี้มักเกิดจากเชื้อโรคจำพวก STAPHYLOCOCCOUS และ STREPTOCOCCUS ที่เป็นเชื้อที่อาศัยอยู่ที่ผิวหนังของเรานั่นเอง โดยการลดอัตราการเกิดการติดเชื้อเหล่านี้สามารถทำได้โดยการทำความสะอาดผิวหนังที่ดีก่อนการลงมีดผ่าตัด
2.ภาวะเลือดคั่งใต้แผลผ่าตัด (HEMATOMA)
ภาวะเลือดคั่งใต้แผลผ่าตัดหลังจากการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้ มีอัตราการเกิดประมาณ 2-10 % โดยสาเหตุมักเกิดมาจากการมีเลือดออกหลังจากผ่าตัด การรักษามักทำโดยการประคบอุ่น เพื่อให้ก้อนเลือดสลาย แต่ถ้ามีปริมาณมากก็อาจจะต้องเข้าไปทำการผ่าตัดเอาก้อนเลือดออก
3.น้ำเหลืองคั่งใต้รักแร้ (SEROMA)
การเกิดน้ำเหลืองคั่งใต้รักแร้เกิดจาการที่เราผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองรักแร้ออกทั้งหมดแล้วทำให้เกิดการรบกวนระบบทางเดินน้ำเหลือง ทำให้เกิดการบวมที่ใต้รักแร้ โดยปกติหลังการผ่าตัดแพทย์จะทำการวางสายระบายไว้ที่รักแร้อยู่แล้ว เพื่อลดอัตราการเกิดน้ำเหลืองคั่ง แต่ในผู้ป่วยบางรายก็ยังเกดอาการได้ภายหลังจากที่กลับบ้านไปแล้ว ถ้าเกิดอาการ แพทย์จะนัดเจาะดูดเอาน้ำเหลืองออกเพื่อลดอการกดเบียดของน้ำเหลืองคั่งนั่นเอง
4.ภาวะแขนบวม (LYMPHEDEMA)
เนื่องจากากรผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้จะมีการรบกวนการไหลของระบบทางเดินน้ำเหลืองของแขนข้างที่ได้รับการผ่าตัด ทำให้เกิดการคั่งของน้ำเหลืองที่แขน จนทำให้เกิดาภวะแขนบวมหลังผ่าตัด การรักษาภาวะนี้ทำได้เพียงการพันด้วยผ้ายืดELASTC BANDAGEที่แขนข้างที่บวม เท่านั้น
5.ข้อไหล่ติด (SHOULDER STIFFNESS)
การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้ อาจจะทำให้เกิดความเจ็บปวดหลังผ่าตัดจนทำให้คนไข้ไม่ยอมขยับข้อไหล่ ส่งผลให้เกิดภาวะข้อไหล่ติดหลังการผ่าตัด ภาวะนี้สามารถป้องกันได้โดยการกายบริหารข้อไหล่ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดนั่นเอง
6.การบาดเจ็บของเส้นประสาท (NERVE INJURY)
ที่บริเวณรักแร้จะมีเส้นประสาทจำนวนมากวิ่งผ่านทั้งที่ไปควบคุมแขนและกล้ามเนื้อไหล่ ซึ่งการผ่าตัดอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาททำให้เกิดข้อไหล่อ่อนแรงหรือมีอาการชาที่ท้องแขนได้
จะเห็นได้ว่า การผ่าตัด ANLD มีภาวะแทรกซ้อนที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดค่อนข้างมาก ทำให้ในปัจจุบัน ศัลยแพทย์เราพยามยามลดความเสี่ยงของการทำการผ่าตัดแบบ ANLD โดยการทำ SENTINEL LYMPH NODE BIOPSY ก่อน เพราะ ถ้าไม่มีการกระจายของมะเร็งมาที่ต่อมน้ำเหลือง ก็ไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดANLD นั่นเอง
ถ้าคุณมีอาการผิดปกติที่เต้านมอย่ารอช้า
รีบมาพบแพทย์โดยไวนะครับ
ด้วยรัก
#หมอโภคิน
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
อ้างอิง
Grube BJ, Giuliano AE. Observation of the breast cancer patient with a tumor-positive sentinel node: implications of the ACOSOG Z0011 trial. Semin Surg Oncol. 2001;20(3):230–237.
Halsted WS. I. The results of operations for the cure of cancer of the breast performed at the Johns Hopkins Hospital from June, 1889, to January, 1894. Ann Surg. 1894;20(5):497–555.
Halsted WS. I. A clinical and histological study of certain adenocarcinomata of the breast: and a brief consideration of the supraclavicular operation and of the results of operations for cancer of the breast from 1889 to 1898 at the Johns Hopkins Hospital. Ann Surg. 1898;28(5):557–576.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา