16 ก.ย. 2022 เวลา 11:01 • ศิลปะ & ออกแบบ
เมืองเก่าสงขลา
เรามาถึงยามเย็น บ่ายแก่ๆ วนรถหาจนเจอที่พักที่เราจองกันไว้
สงขลาแต่แรก เป็นโรงแรมที่ได้รับการปรับปรุงใหม่
ห้องพักคืนแรก เป็นห้องใหญ่สุด และมีแขกพิเศษคนสำคัญมาใช้บริการหลายท่าน
เราเคยเขียนอะไรเล่นๆตอนมาที่สงขลาเมืองเก่าเกือบ 5 ปีก่อน ลองไปอ่านย้อนอดีตกันได้นะ(สำนวนยังแข็งกระด้างอยู่ ตอนนี้ก็กระด้างแหละแค่ไม่ดูทางการแบบเก่า)
บรรยากาศนึกถึง ซีรีย์บาบ๋าญาญ๋า จริงๆเป็นคำที่ไม่ควรใช้ เพราะเหยีดด้านเชื้อชาติ ลูกจีนอพยพผสมกับมุสลิมในแถบทางใต้ ซึ่งส่วนมากมีฐานะดี เป็นรอยต่อยุคสมัยหนึ่ง ทาง ปีนังมะละกา มีกลุ่มชนเหล่านี้ที่มีวัฒนะรรม อาคาร อาภรณื อาหาร ของตนเอง ทางใต้ของไทยมีเด่นๆ เช่น ตะกั่วป่า สงขลา ภูเก็ต
คิดถึงยายตัวเอง ใส่ผ้าถุง แต่งเข็มขัดนากรัดเอว เสื้อลายดอก บางทีคอกระเช้า กินกะปิอาหารเผ็ดได้
ภายในอาคารเมื่อเดินเข้ามา มีบรรยากาศคล้ายโรงแรมแห่งหนึ่งที่ภูเก็ต
มุมมองเมื่อมองออกไปด้านนอก
ทางขึ้นลงบันไดชั้นสอง
ที่นี่มีแนวคิดการตกแต่ง คือ การทำให้ของเก่าของสะสม มาาเป็นที่พักแบบร่วมสมัย
ห้องนอนที่ดีที่สุด สำหรับแขกพิเศษคนสำคัญ
ห้องน้ำมีความทันสมัย
แต่เราหลังจากเข้าพัก กลางคืนประมาณ 03.00 น. เกิดเหตุการณ์ประสบการประหลาดบางประการ จนรุ่งเช้าต้องถามพนักงานว่ามีคนเข้าพักห้องข้างๆเราหรือไม่ แม้แต่การค้นหาประวัติในอดีตของโรงแรมแห่งนี้เอง เป็นประสบการณ์ที่หาเหตุผลก็ยังหาไม่ได้ ...เสียงรถจอแจมีตลอดคืน เรามักจะเป็นคนนอนหลับๆตื่นๆ หรือไวต่อสิ่งรอบตัวถ้าไม่เพลียจนหลับลึก แต่ตอนนั้นพื้นไม้สั่น เสียงคล้ายนาฬิกาโบราณทองเหลืองแบบตุ้มถ่วงดัง เราคุ้นกับเสียงนี้เพราะที่บ้านมีอยู่เรือนหนึ่งของปู่ แต่นี่ดังจนผิดปกติและในห้องไม่มีนาฬิกา
ทิศทางมาจากฝั่งที่เรานอนใกล้ตู้ไม้โบราณ เราไม่ได้เปิดตู้ดูออก แต่ดูนาฬิกาแล้วไปเข้าห้องน้ำ เปิดไฟ ทั้งห้องไม่พบอะไร แต่เสียงยังดัง จนเราเลิกสนใจ นอนต่อจนเช้า เสียงโทรทัศน์จากลอปบี้ดังลอบขึ้นมาและเสียงการสัญจรก็กลับมาปกติของวันที่จอแจในชั่วโมงเร่งด่วน เพราะถนนแถบนี้มีโรงเรียนและมหาวิทยาลัยใหญ่
เราเดินสำรวจ เมืองเก่าสงขลาสามวัน ภาพบางตึกอาจมีซ้ำ แต่ช่วงเวลาไม่เหมือนกัน แสงตกกระทบ หรือวิถีชีวิต เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงตลอด
กลุ่มของอาคารที่นี่มีผู้จำแนกและทำข้อมูลไว้พอสมควร และมีหุ่นจำลองให้ศึกษา
ที่น่าสนใจคือ การเชื่อมระหว่างที่นี่กับ ตลาดน้อย กทม. ร่วมสมัยกันบางอย่าง โดยอาคารบ้านจีนแบบตอนลึกเราสันนิษฐานเองว่า อยู่ในยุคใกล้เคียงกัน ช่วง ร.3 ของกรุงรัตนโกสินทร์
ยามเย็นให้แสงสวยพอๆกับยามเช้า
ที่พักและอาคารข้างเคียง ติดวัด ไกลออกไปมีมัสยิด
บางอาคารหรือถนนบางเส้น เราไม่เคยมาสำรวจ หลังจากเคยมาใช้ชีวิตคนเดียวที่นี่ 7 วัน ช่วงวันเกิดเรา เพราะพี่หัวหน้าเก่าทิ้งเราไว้แล้วโยกย้ายทีมงานไปโซนอื่น เราเลยได้สำรวจตอนนั้นเกือบห้าปีมาแล้ว
อาคารไม้เตี้ย กรุหลังคาด้วยกระเบื้องแบบนี้ อาจเป็นรูปแบบที่ค่อนข้างเก่า ระยะแรกของการปลูกสร้าง ก่อนพัฒนาเป็นแบบอื่น แต่อาจมีอาคารตึกแบบก่ออิฐ ที่เก่ากว่า เนื่องจากการก่อสร้างที่ไม่มีการเสริมเหล็ก ผนังอาคารจะหนา บ้านห้องแถวจะใช้คานไม้ขวางรับถ่ายแรงลงผนัง ฉาบปูนแบบหยาบไม่เรียบเสมอกัน คล้ายอาคารแถบ ตลาดน้อย ช่วงเวลาใกล้เคียง ร.3 ของกรุงรัตนโกสินทร์
ต่มามีการพัฒนาการ บ้านอิฐบ้านปูน เสริมด้วยเหล็ก ผนังจึงบางลง และตัวอาคารสูงขึ้น ที่น่าสนใจคือการกรุกระเบื้องกันสาดหรือหลังคา ที่มีการตั้งแนวให้น้ำไหลตามร่อง ฉาบปูนไว้ด้านหน้าสุด สีน้ำตาลอมส้มของกระเบื้องดินเผาตัดสีขาวของอาคารปูน มีบานประตูไม้ บานเฟี้ยมบ้างทาสี บ้างสีไม้เดิมๆที่ผสมคราบฝน ช่องลมให้อากาศถ่ายเท เพราะแถบนี้ร้อนชื้นสูงมาก ฝนพรำทั้งวันสลับแดดจ้า ความเหนียวตัวและร้อนของการโดนเผา
ไอศกรีมเจ้าดัง ตั้งแต่ กทม. จนมาถึงนี่ก็ยังมีให้กิน โคนแบบวาฟเฟิล (เคยอ่านที่มาการเอาโคนแบบนี้กับไอติมมารวมกัน ที่ดังๆก็ เบลเยี่ยมอร่อยมาก หรือทางอิตาลี)
ศาลเจ้าปรับปรุงใหม่ เราไม่เคยเห็นคราวก่อน
บ้านนครใน เจ้าของเดียวกับโรงแรมสงขลาแต่แรกที่เราพัก จากการคุยกับพนักงาน บ้านนครในเปิดให้เข้าชมไม่เสียค่าใช้จ่าย
ความตลกของเราคือ อาคารที่มีต้นไม้คลุมหลังนี้ มีพี่ช่างรับเหมาทีมหนึ่ง เราไปเจอเขาเอาวันที่สองของทริปที่นี่ แล้วได้เข้าไปดูอาคารเก่าที่กำลังปรับปรุงเป็นห้องสมุดชุมชน จนมาเจอกันอีกครั้งตอนเราหยุดดูอาคารนี้อีกวัน เขาจำเราได้ เลยทักกัน เป็นเรื่องประทับใจ
หน้าบ้านแบบกล่องและประตูหน้าต่าง ด้านล่างเป็นเหล็กพับ
ด้านข้างของอาคารทรงบ้านแบบจีน
อาคารรูปแบบคล้ายสมัยหลัง พ.ศ. 2475 บางคนแบ่งเป็นช่วงสงครามโลก ที่นี่ก็มีเรื่องเล่าของสายลับญี่ปุ่นแฝงตัวมา เพราะเส้นทางรถไฟและท่าเรือแถบนี้มีความสำคัญ
เราคิดถึงข้าวต้มปลาร้านเจ๊นิมาก คือตอนที่มาคนเดียว 7 วัน เราต้องเก็บมื้อสุดท้ายของวันให้ร้านนี้เสมอ ปลากระพงสด น้ำซุปร้อนๆ ที่สงขลาหรือหาดใหญ่ มันมีเมนู หมี่ซั่ว ที่คนภาคกลางหรือภาคอื่นเอามาผัด แต่คนที่นี่เอามาลวกแทนเส้นอื่นแล้วกิน จะเหนียวนุ่ม บางร้านใช้น้ำแกงใส่ขิงอ่อนตุ๋นไก่หรือเป็ด จะหวานหอมร้อนคอ ใส่เม็ดพริกไทยลงไปอีกช่วยให้ร่างกายอบอุ่น
จำโซนนี้ได้เสมอ เพราะมีบ้านน่าสนใจ แถมมีพิพิธภัณฑ์ผ้าและเครื่องเคลือบ พี่เจ้าของจะเปิดแค่เสาร์อาทิตย์ คราวก่อนหลายปีได้มีโอกาสคุยสนทนา ได้ความรู้มากมาย คราวนี้มาร้านคาเฟ่ร้านที่ติดกับพิพิธภัณฑ์ผ้า ร้านปรับปรุงเปลี่ยนไปจนจำไม่ได้แต่อร่อยทุกเมนู
สมาคมสถาปนิกสยาม
ไฮไลท์โซนนี้ คืออาคารสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แต่มีฝั่งตรงข้าม เราชอบมาก อาคารเตี้ยสองหลัง หลังซ้ายจะปรับปรุงเป็นห้องสมุด ส่วนหลังขวามมีทางเชื่อมให้ไปดูพระอาทิตย์ตกดินทะเลสาบสงขลา
ค้างคาว เหมือนดาวประดับผนัง
ค้างคาวมันจ้องเรากลับ ขยับตัวกันไปมา นี่แอบหลอนถึงโรคระบาดกับเชื้อต่างๆ แต่มูลค้างคาวมาทำปุ๋ย แอมโมเนียรุนแรงเหลือเกิน
ลานกว้างตรงกลาง บางบ้านเรียก ฉิ่มแจ้ ให้อากาศถ่ายเท จะมีบ่อน้ำรับน้ำฝนหรือน้ำใต้ดิน
เห็นบ่อน้ำไหมใกล้กลุ่มตุ่มใส่น้ำ
เรือนไม้ด้านหลัง
นี่บ่อน้ำ
ชอบอาคารที่กรุกระเบื้องแบบนี้
ภาพสรีทอาร์ตฝาผนัง
ทะเลสาบสงขา เป็นทะเลสาบใหญ่ ก่อนออกสู่ทะเล มีท่าเรือใหญ่
อาคารทรงสมัยใหม่
เราเคยมาดูนิทรรศการที่อาคารนี้ รุ่นพี่ที่คณะจัดแสดงและมีสินค้าที่ระลึกจำหน่าย
คาเฟ่ดังที่นำบ้านเก่ามาปรับปรุง หรืออาจสร้างใหม่บางส่วน
โรงสีสีแดง
ขนมไข่ที่ใส่เนยด้านใน ใช้เตาถ่านนาบฝั่งแรกแล้วพลิกนาบอีกฝั่ง หอมกลิ่นเนย สัมผัสแป้งนุ่ม
เราเคยเขียนไว้แล้ว บทความเก่าๆ
อาหารมื้อเช้าของโรงแรมสงขลาแต่แรก ประทับใจขนมไทยมาก
พิพิธภัณฑสถาน สงขลา
วันที่สอง เราเดินดูตึกเก่าช่วงเช้า เข้าพิพิธภัณฑ์สองสามแห่งตามด้วยร้านคาเฟ่ ตกเย็นโชคดีมีถนนคนเดิน ได้ลองกินอาหารที่มาขายในงานหลายร้าน
ตึกเก่าที่น่าสนใจในถนนนางงาม
คืนวันที่ 2 เราเปลี่ยนห้องเป็นห้องเล็กกว่า เตียงแบบจีน
มื้อเช้าวันที่สาม เราเลือกขนมจีน มีขนมโค คล้ายขนมต้ม ที่เป็นแป้งนุ่มห่อหุ้มมีไส้มะพร้าวเคี่ยวน้ำตาล แล้วมีน้ำตาลก้อนให้กัดแบบระเบิดรสชาติ
ร้านขายของที่ระลึก
ร้านนี้มีบางท่านแนะนำว่า เป็นอาคารแบบเดิมๆของที่นี่ไม่เคยปรับปรุง ด้านบนเป็นไม้ด้านล่างเป็นปูน
ร้านหนังสือเล็กๆ ถนนยะหริ่ง ที่ย้ายไปเชียงใหม่เสียแล้ว เราตามเพจเฟสบุ๊คเขาอยู่
ตรงข้ามเป็นร้านขนมบ้าบิ่นคุณยายสองท่านน่ารัก คุยดี
ร้านสถานีสงขลา เดิมเป็นบ้านหมออัมพร ด้านบนมีโถงโล่งไว้จัดแสดงงานศิลปะ
มุมดังในโลกออนไลนื ให้มาถ่ายภาพ
ของที่ระลึก
เห็นตุ่มๆตรงช่องลม เหนือกรอบหน้าต่างไหม มันคือตัวบังคับบานประตูไม้ให้ปิดสนิทก่อนมีระบบราง ตอนเรานอนบ้านเก่าถนนนางงาม เราทุละทุเลในการเปิดปิดประตูพวกนี้มาก ต้องใช้ไม้ยาวเขี่ย เหนื่อยมากแต่ก็เป็นกิมมิคบ้านเก่า กว่าจะเปิดหมดได้ใช้เวลากำลังกาย ตอนหลังเลยเปิดแค่พอเอาตัวแทรกออกมาได้
ซาชิมิหมึกสด และสปาร์เก็ตตี้ขี้เมา
ซาชิมิหมึกและปลาทราย จานที่สอง
บันไดสูง บ้านเก่าจะเพดานสูงมาก
ข้อดีของบ้านหัวมุม จะรับแสง ลม และเป็นจุดเด่น
ตรงนี้น่าสนใจ ปกติบางบ้านจะตอนลึกยาวตัดขวางถนนสองเส้นเลยมีหน้าบ้านสองทางติดถนน แต่บางบ้านไม่มีแบบนั้น โดนบ้านขวาง เลยมีบ้านซ้อนแนวด้านข้าง ภาพนี้ถ่ายมุมสูงจึงเห็นบ้านที่มาซ้อนตัดตอนตรงกลาง ไม่ให้บ้านทางซ้ายมือยาวทะลุไปถึงถนนอีกฝากทางขวามือ
อาคารแบบยุคสงครามโลก แต่ถ้าเรียกจริงๆ ขอเรียกรูปแบบโมเดิร์นจะดีกว่า เน้นความเรียบง่าย แต่เส้นโครงสร้างแข็ง ดูแรง ยุคหลังคณะราษฎร์ นิยมทำเส้นสายแบบนี้
ไอติมไข่แข็ง ดั้งเดิม ไม่มีสาขา(แต่ก็แอบเห็นที่นี่มีไอติมสามสี่ร้าน บางร้านบอกเจ้าแรก งงเลย)
อาคารดับเพลิง ที่มีหน่วยงาน ด้านการออกแบบ กำลังปรังปรุง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา