20 ก.ย. 2022 เวลา 06:58
🍺 Ale Beer (เบียร์เอล) ผลิตโดยใช้อุณหภูมิอยู่ที่ 18- 24 องศาเซลเซียส และหมักแบบ Top-Fermenting Yeast (ยีสต์หมักลอยผิว) คือการที่ยีสต์ จะลอยอยู่ที่ผิวหน้าของเบียร์เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการหมัก ความโดดเด่นของเบียร์เอลนั้น อยู่ที่รสชาติค่อนไปทางหวาน, มีสีหลากหลาย ตั้งแต่ทองสว่าง จนถึงสีน้ำตาล โดยแตกต่างกันไปตามเมล็ดข้าวที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต และแบ่งแยกย่อยลงไปได้อีก ดังนี้
🍺Wheat Beer (วีทเบียร์) / Weissbier (ไวซ์เบียร์) / Hefeweizen (เฮเฟอไวเซ็น) เบียร์ที่โดดเด่นด้วยสีเหลืองสว่าง และรสสัมผัสที่สดชื่นเช่น Wheat Beer (วีทเบียร์) เหมาะจะดื่มคู่กับ อาหารทะเล, เนื้อไก่, หมู, สลัด หรือชีสเนื้อนุ่มก็ได้เช่นกัน
🍺Pale Ale (เพลเอล) มีเอกลักษณ์แสนสะดุดตาด้วยสีสว่าง ให้รสสัมผัสของ Malt (ข้าวมอลต์) และ Hops (ฮอปส์) ที่หนักแน่น ควรดื่มคู่กับ ปลา, อาหารทะเล, Cheddar Cheese (เชดด้าชีส) และเนื้อ เป็นต้น
🍺India Pale Ale (อินเดียเพลเอล) หรือ IPA (ไอพีเอ)เป็นเบียร์ที่แตกออกมาจาก Pale Ale (เพลเอล) อีกทีหนึ่ง เป็นเบียร์ที่ให้สีทองสว่าง จนถึงเข้ม และด้วยรสที่เน้น Hops (ฮอปส์) จึงมีรสติดขมที่ปลายลิ้นอีกด้วย ควรดื่มคู่กับ เนื้อ และปลา เป็นต้น
🍺Amber Ale (อัมเบอร์เอล)มีต้นกำเนิดมาจาก ประเทศเบลเยี่ยม (Belgium) และถูกเรียกว่า "Amber" หรือ "อัมพัน" จากสีน้ำตาลสวยคล้ายกับอัมพัน มีรสชาติค่อนไปทางหวาน จากการใส่ Malt (ข้าวมอลต์) ที่ค่อนข้างเยอะลงไปในการผลิต สามารถดื่มคู่กับ เนื้อหมู, ปลา และบลูชีส (Blue Cheese) ได้
🍺Stout (สเตาท์)เป็นเบียร์ที่นำ Malt (ข้าวมอลต์) หรือ Barley (ข้าวบาเลย์) มาคั่วก่อนที่จะนำไปหมัก และผสม Hops (ฮอปส์) เพียงเล็กน้อย จึงให้รสชาติที่ค่อนข้างหวาน และให้กลิ่นคล้ายช็อกโกแลต, เมล็ดกาแฟแฟคั่ว หรือข้าวโอ๊ต Stout Beer (เบียร์สเตาท์) จึงเข้าได้ดีกับ เนื้อที่ผ่านการย่าง เช่น บาร์บีคิว, เบอร์เกอร์ รวมถึง ช็อกโกแลต อีกด้วย
🍺Porter (พอร์เตอร์) Porter (พอร์เตอร์) ผลิตขึ้นจาก Malt (ข้าวมอลต์) ที่ผ่านการคั่ว และอบ ด้วยความร้อนที่สูงกว่า Stout Beer (เบียร์สเตาท์) จึงให้รสสัมผัสที่หนักแน่น แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีความสดชื่น, สดใส อีกด้วย เหมาะกับการจับคู่กับอาหารหนัก ๆ เช่น เนื้อแดง, ช็อกโกแลต และชีสเนื้อแข็ง
โฆษณา