24 ก.ย. 2022 เวลา 00:29 • สุขภาพ
#ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมประจำปีคุณหมอเขาตรวจอะไรบ้าง
สวัสดีครับ คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน วันนี้หมอมีเรื่อราวเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมประจำปี ว่าในแต่ละปีที่เราไปหาคุณหมอนี้ คุณหมอเขาตรวจอะไรกันบ้าง ดรื่องราวเป็นอย่างไร เรามาฟังกันเลยครับ
โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้หญิงทั่วโลกเป็นอันดับหนึ่งมาหลายสิบปี โดยในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยหญิงรายใหม่ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมอยู่ที่ปีละ 2 ล้านคน และกว่า 2 หมื่นคน เสียชีวิตในทุกๆปี
ในปัจจุบัน การคัดกรองมะเร็งเต้านมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ เพราะจะทำให้เราสามารถเจอโรคมะเร็งในระยะต้นๆและสามารถรักษาหายได้ โดยอัตราการรักษาหายของผู้ป่วยที่เจอมะเร็งไวมีอัตราการรอดชีวิตถึง 99-100 % เลยทีเดียว
การคัดกรองมะเร็งเต้านมคือการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของเต้านม โดยมีเป้าหมายไปที่การตรวจจับโรคมะเร็งเต้านมโดยไวที่สุด ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมตามมาตรฐานที่เรียกว่า TRIPPLE ASSESSMENT ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 อย่าง ดังนี้
1.การซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์
2.การส่งตรวจรังสีวินิจฉัย
3.การส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา
1.การซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์
คือการซักถามเรื่องอาการผิดปกติของเต้านม เช่น
-อาการเจ็บเต้านม
-คลำได้ก้อน
-มีน้ำไหลออกจากหัวนม
-หัวนมบอด
-อาการคันเต้านม
-อาการผิวหนังบริเวณเต้านมเปลี่ยนสี
-อาการเต้านมโตขึ้นผิดปกติ
นอกจากนี้ยังมีการซักถามถึงความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมต่างๆ โดยจะมีการซักประวัติเสี่ยงต่างๆ ดังนี้
-ประวัติประจำเดือน มาครั้งแรกเมื่อไร มาปกติไหม มากี่วัน และใช้ผ้าอนามัยกี่ผืนต่อวัน
-การมีลูก โดยจะถามถึงอายุที่ผู้ป่วยมีลูกเป็นครั้งแรก เพราะ ถ้ามีลูกตอนอายุเยอะ จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมากกว่าปกติ
-ประวัติการเป็นมะเร็งในครอบครัว เพราะ โรคมะเร็งเต้านม สามารถส่งต่อได้ทางกรรมพันธุ์
-ประวัติการรับการฉายแสงรังสีรักษาที่ทรวงอก
-ประวัติการกินยาคุมกำเนิด เพราะ ยาคุมกำเนิดจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งเต้านม
2.การส่งตรวจรังสีวินิจฉัย
การส่งตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยา จะเป็นการส่งตรวจเพื่อดูความผิดปกติของเต้านม เพื่อทำการวินิจฉัยโรคต่อไป
-อุลตร้าซาวด์ - ULTRASONOGRAPHY เป็นการยิงคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านเต้านมแล้ววัดการสะท้อน เพื่อน้ำมาสร้างภาพหาความผิดปกติในเต้านม
-แมมโมแกรม – MAMMOGRAPHY เป็นการยิงรังสีเอกซ์ผ่านเต้านมที่มีอากรบีบอัดเพื่อมองหาการก่อตัวของก้อนหรือการก่อตัวของหินปูนแคลเซี่ยมที่ผิดปกติในเต้านม
-MRI – MAGNATIC RESONANCE IMAGING เป็นการยิงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านเนื้อเต้านมทำให้เกิดภาพโครงสร้างภายในเต้านม และเห็นความผิดปกติได้ชัดเจน
3.การส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา
เมื่อเราพบความผิดปกติที่เต้านมแล้ว ในบางสภาวะที่เราสงสัยโรคมะเร็งเต้านม แพทย์จะมีการนำชิ้นเนื้อตำแหน่งที่สงสัยออกมาตรวจ เพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งเต้านมจริงหรือไม่ โดยการเอาชิ้นเนื้อออกมามีวิธีดังนี้
-FNA – FINE NEEDLE ASPIRATION เป็นการเจาะดูดชิ้นเนื้อด้วยเข็มขนาดเล็ก มีความแม่นยำในการวินิจฉัยที่ประมาณ 80 %
-CNBX – CORE NEEDLE BIOPSY เป็นการเจาะเอาชิ้นเนื้ออกมาส่งตรวจด้วยเข็มขนาดใหญ่ มีความแม่นยำในการวินิจฉัยประมาณ 90- 95 %
-EXCISIONAL BIOPSY เป็นการผ่าตัดเอาก้อนออกมาส่งตรวจทั้งก้อนเลยนั่นเอง
-VAB – VACCUM-ASSISSTED DIAGNOSTIC BIOPSY เป็นการดูดชิ้นเอส่งตรวจด้วยเข็มขนาดใหญ่ที่มีความดันลบ ทำให้สามารถดูดเอาชิ้นเนื้อออกมาส่งตรวจได้จำนวนมาก
ถ้าคุณมีปัญหาหน้าอกอย่ารอช้า
รีบมาปรึกษาแพทย์นะครับ
ด้วยรัก
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
#หมอโภคิน
ศัลยแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ
อ้างอิง
National Institute for Health and Care Excellence. NICE quality standard for breast cancer. Quality Standard 12 2011, updated 2016. https://www.nice.org.uk/guidance/QS12.
This is the updated NICE Quality Standard for breast cancer management. The first quality statement is that ‘People with suspected breast cancer referred to specialist services receive the triple diagnostic assessment in a single hospital visit.’
Willett A.M., Mitchell M.J., Lee M.J.R. Best practice diagnostic guidelines for patients presenting with breast symptoms. Association of Breast Surgery; 2010. http://associationofbreastsurgery.org.uk/media/ 1416/best-practice-diagnostic-guidelines-for-patients-presenting-with-breast-symptoms.pdf.
This is a useful document outlining multidisciplinary investigation of women who present with symptoms to the breast service.
Maxwell A.J., Ridley N.T., Rubin G., et al. Royal College of Radiologists Breast Group. The Royal College of Radiologists Breast Group breast imaging classification. Clin Radiol. 2009;64(6):624–627. 19414086.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา