26 ก.ย. 2022 เวลา 23:54 • สุขภาพ
#มะเร็งเต้านมที่ไม่ใช่มะเร็งเต้านมทั่วไป ตอนที่ 1
สวัสดีทุกคนครับ วันนี้ คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน หมอมีเรื่องราวชวนงงของโรคมะเร็งเต้านมแบบที่ไม่ใช่มะเร็งเต้านม “ทั่วไป” มาเล่าให้ทุคนฟังกันนะครับ เรื่องราวเป็นอย่างไร เรามาฟังกันเลย
มะเร็งเต้านม “ทั่วไป” ที่คนเรารู้จักกันนั้น มักมีต้นกำเนิดมาจากการกลายพันธุ์ของเซลล์ท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม ที่เกิดการกล่ายพันธุ์เป็นก้อนมะเร็ง มะเร็งกลุ่มนี้เราเรียกว่า “CARCINOMA”
แต่ก็ยังมีมะเร็งเต้านมชนิดอื่นๆที่ไม่ค่อยพบเจอกัน “ทั่วไป” ได้แก่ มะเร็งที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน CONNECTIVE TISSUE ที่มีหน้าที่เป็นโครงสร้างเสมือนเสาและลวดสลิงที่คอยพยุงอวัวยวะ โดยมะเร็งกลุ่มนี้เราเรียกว่า “SARCOMA” โดยมีหลายชนิดย่อย ได้แก่
1.ANGIOSARCOMA มะเร็งที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์หลอดเลือด
2.LIPOSARCOMA มะเร็งที่เกิดจากการกล่ายพันธุ์ของเซลล์ไขมัน
3.LEIOSARCOMA มะเร็งที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์กล้ามเนื้อ
4.OSTEOSARCOMA มะเร็งที่เกิดจากการกลายพันธ์ของเซลล์กระดูก
5.CHONDROSARCOMA มะเร็งที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์กระดูกอ่อน
มะเร็งเหล่านี้ มักเกิดช่วงวัย 40-60ปี โดยมักมีอาการคลำได้ก้อนที่หน้าอก โดย “ไม่มีอาการปวด” ร่วมด้วย และก้อนมะเร็งจะโตค่อนข้างเร็ว และมีการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นๆที่รวดเร็วมาก
การวินิจฉัยมะเร็งประเภทนี้ จะต้องอาศัยการทำแมมโมแกรมและการเจาะชิ้นเอ เพื่อส่งตรวจโดยการส่องกล้องจุลทรรศน์ และการส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อหาการกระจายของมะเร็ง
การแบ่งระยะของโรคมะเร็งชนิดนี้ จะดูจาก
1.TUMOR SIZE ขนาดของก้อน
2.NODAL STAGE การกระจายของเซลล์มะเร็งไปต่อมน้ำเหลือง
3.METASTASIS การกระจายของมะเร็งไปอวัยวะที่อยู่ห่างไกลออกไป
4.HISTOLOGIC GRADE ความดุร้ายของเซลล์มะเร็ง โดยสามารถเห็นได้จากการย้อมสีส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งจะบอกความดุร้ายของมะเร็งและอัตราความเร็วในการแพร่กระจาย
การรักษา
การรักษาหลักของมะเร็งชนิด SARCOMA นี้ คือการผ่าตัดเอาตัวมะเร็งออกทั้งหมด โดยต้องตัดเนื้อดีที่อยู่รอบๆก้อนออกเพิ่มอีก 1 เซนติเมตร เพื่ออัตราการหลงเหลือเซลล์มะเร็งไว้ในร่างกายคนไข้หลังการผ่าตัด
นอกจากการผ่าตัดแล้ว ในผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องฉายแสงรังสีรักษาร่วมด้วย เพื่อลดอัตราการกลับมาเป็นใหม่
ส่วนการให้ยาเคมีบำบัดในมะเร็งชนิดนี้ พบว่ายังให้ผลการรักษาที่ไม่ดีและไม่ได้เพิ่มอัตราการรอดชีวิตหลังผ่าตัดแต่อย่างใด
ถ้าคุณมีปัญหาหน้าอกอย่ารอช้า
รีบมาปรึกษาแพทย์นะครับ
ด้วยรัก
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
#หมอโภคิน
ศัลยแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ
อ้างอิง
N.N. Esposito, D. Mohan, A. Brufsky, Y. Lin, M. Kapali, D.J. Dabbs
Phyllodes tumour: a clinicopathologic and immunohistochemical study of 30 cases
Arch Pathol Lab Med, 130 (10) (2006), pp. 1516-1521
A.H. Lee, Z. Hodi, I.O. Ellis, C.W. Elston
Histological features useful in the distinction of phyllodes tumour and fibroadenoma on needle core biopsy of the breast
Histopathology, 51 (3) (2007), pp. 336-344
L.M. Foxcroft, E.B. Evans, A.J. Porter
Difficulties in the pre-operative diagnosis of phyllodes tumours of the breast: a study of 84 cases
Breast, 16 (1) (2007), pp. 27-37

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา