Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร
•
ติดตาม
26 ก.ย. 2022 เวลา 03:26 • การเกษตร
การให้น้ำแบบฉีดฝอย (Sprinkler Irrigation)
การให้น้ำแบบฉีดฝอย (Sprinkler Irrigation) เป็นการให้น้ำโดยฉีดน้ำขึ้นไปบนอากาศเหนือต้นพืชกระจายเป็นฝอย แล้วให้เม็ดน้ำตกลงมาบนพื้นที่เพาะปลูก โดยมีเครื่องสูบน้ำเป็นอุปกรณ์ส่งน้ำผ่านระบบท่อด้วยแรงดันที่สูง เพื่อให้น้ำฉีดเป็นฝอยออกทางหัวจ่ายน้ำ
หัวจ่ายน้ำ เป็นอุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่รับน้ำมาจากท่อย่อย และจ่ายให้กับต้นพืชตามปริมาณที่กำหนด หัวจ่ายน้ำมีมากมายหลายแบบ ซึ่งผู้ใช้จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของพืช
สิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณา คือ
• อัตราการจ่ายน้ำ หมายถึง ปริมาณน้ำต่อหน่วยเวลา
• แรงดันที่ใช้ของหัวจ่ายน้ำ
• รูปแบบการกระจายน้ำ
สปริงเกลอร์ (Sprinkler)
เป็นระบบที่ใช้แรงดันตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป และมีอัตราการไหลของน้ำ ตั้งแต่ 200 ลิตรต่อชั่วโมงขึ้นไป เหมาะสำหรับการให้น้ำในบริเวณกว้าง ครอบคลุมพื้นที่ได้มาก เช่น พืชไร่ และพืชผัก
ระบบสปริงเกลอร์ เหมาะกับสภาพแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากเพียงพอ คุณภาพน้ำปานกลาง การดูแลง่าย ปัญหาอุดตันน้อย จึงไม่ต้องการระบบการกรอง แต่ถ้าคุณภาพน้ำต่ำและมีสิ่งเจือปนมาก ก็จำเป็นต้องมีระบบการกรอง แรงดันที่ต้องใช้ในระบบค่อนข้างสูง ทำให้การลงทุนด้านเครื่องสูบน้ำและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสูงที่สุด
หัวสปริงเกลอร์
หัวสปริงเกลอร์ ทำหน้าที่จ่ายน้ำ โดยฉีดน้ำจากหัวฉีดไปในอากาศแตกให้กระจายเป็นเม็ดน้ำเล็ก ๆ ตกลงมายังพื้นที่เพาะปลูก การกระจายน้ำมีรูปแบบเป็นวงกลม ระบบสปริงเกลอร์ต้องการ 2 สิ่ง คือ อัตราการไหลของน้ำและแรงดัน หากแรงดันไม่พอ ระบบจะใช้งานไม่ได้ดี แรงดันเหมือนพลังงานในการผลักดันให้สปริงเกลอร์ทำงานจึงจะได้อัตราการไหลของน้ำออกมาอย่างถูกต้อง
แต่ก่อนที่น้ำจะไหลมาถึงบริเวณหัวสปริงเกลอร์จะเสียแรงดันไปในเส้นทางที่ผ่าน เช่น มิเตอร์วัดน้ำ ท่อ วาล์ว ข้อต่อ และประตูน้ำต่าง ๆ แล้วจึงผ่านถึงหัวสปริงเกลอร์ และต้องมีแรงดันเหลือพอให้หัวสปริงเกลอร์ทำงานได้ แรงดันมีผลต่อการกระจายของน้ำ ให้โปรยทั่วพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ
สำหรับต้นกล้าหรือพืชที่เพิ่งปลูก ควรใช้แรงดันที่สูงกว่ากำหนด เพื่อให้การแตกตัวของน้ำเป็นละอองมากขึ้น จะได้ละอองน้ำที่ละเอียด ระบบสปริงเกลอร์นิยมใช้กับพืชไร่และพืชผัก
รูปแบบการวางหัวจ่ายน้ำ
รูปแบบการวางหัวสปริงเกลอร์ จะวางตามแนวท่อย่อย (a) และระยะระหว่างท่อย่อย (b) สามารถจัดวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยม โดยทั่วไประยะที่เหมาะสมคือระยะ a=b
1. การวางแบบสี่เหลี่ยม
1) ไม่มีลม วางห่าง 55% ของเส้นผ่านศูนย์กลางเขตเปียก
2) 0-6 กม./ชม. วางห่าง 50% ของเส้นผ่านศูนย์กลางเขตเปียก
3) 6-12 กม./ชม. วางห่าง 45% ของเส้นผ่านศูนย์กลางเขตเปียก
กรณีไม่มีลม หมายถึงการใช้งานภายในอาคาร
แสดงการติดตั้งหัวสปริงเกลอร์แบบรูปสี่เหลี่ยม
2. การวางแบบสามเหลี่ยม
1) ไม่มีลม วางห่าง 60% ของเส้นผ่านศูนย์กลางเขตเปียก
2) 0-6 กม./ชม. วางห่าง 55% ของเส้นผ่านศูนย์กลางเขตเปียก
3) 6-12 กม./ชม. วางห่าง 50% ของเส้นผ่านศูนย์กลางเขตเปียก
กรณีไม่มีลม หมายถึงการใช้งานภายในอาคาร
แสดงการติดตั้งหัวสปริงเกลอร์แบบรูปสามเหลี่ยม
เรียบเรียง : กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
หมายเลขโทรศัพท์ : 02 579 3804
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ระบบการให้น้ำพืช
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย