26 ก.ย. 2022 เวลา 08:29
สวัสดีค่ะ ครั้งนี้เป็นการ Post ครั้งที่ 2 จะขอขยายความเรื่อง BPA แบบย่อๆ ทุกท่านคงจะเคยเห็นผ่านตา ภาชนะพลาสติก ที่ระบุข้อความ "BPA Free" มาบ้างแล้ว และคงคิดว่า BPA เป็นสารอันตรายที่มีเฉพาะในพลาสติกเท่านั้น
แต่ความจริงแล้ว BPA เป็นสารเคมีที่ใช้กับมานานมาก และมีอยู่ในชีวิตประจำวันของเราเลยค่ะ ที่เราอาจจะคาดไม่ถึงคือ ใบเสร็จรับเงิน ที่เราไปซื้อของใน Supermarket หรือในห้างสรรพสินค้า ซึ่งทาง EU ก็ได้ออกข้อกำหนดไว้ว่าต้องมีได้ในปริมาณที่ไม่เกินเท่าไหร่
สำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ EU ยังอนุญาตให้ BPA สามารถมีได้ ปัจจุบันคือ 0.05 mg/kg ของน้ำหนักอาหาร และอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (อันนี้เป็นควาทคิดเห็นส่วนตัว ถ้าหน่วยงานที่รับตรวจสอบมีเครื่องที่มีความละเอียดมากกว่านี้)
และเป๋็นที่มาที่ประเทศไทยมีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 295 พ.ศ.2548 เรื่องกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก โดยปัจจุบันได้มีประกาศกระทรวงฉบับใหม่คือ ฉบับที่ 435 พ.ศ.2565 มาใช้แทน
โฆษณา