Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
7 ต.ค. 2022 เวลา 12:19 • เพลง & ซีรีส์ เกาหลี
Love in Contract : Theory of Marriage…คนเราแต่งงานไปเพื่ออะไร?
จะเป็นไปได้ไหม ถ้าเราแต่งงานกับใครสักคนโดยไม่จำเป็นต้องรักกัน?
Love in Contract ซีรีส์ที่ว่าด้วยเรื่องราวของสาวสวยคนหนึ่งที่มีความสามารถรอบด้าน พูดได้หลายภาษา มีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างชาญฉลาด
เธอนำทักษะทั้งหมดนี้ไปทำเป็นอาชีพ “เจ้าสาวตามสั่ง” หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การให้บริการเป็นภรรยา คอยแก้ปมปัญหา และช่วยเหลือลูกค้าของเธอ จนกว่าจะหมดอายุสัญญาที่ตกลงกันไว้ ซึ่งเป็นธุรกิจที่เธอภูมิใจมากว่าได้ช่วยเหลือ และสร้างความสุขให้แก่ผู้อื่น
พอซีรีส์เล่าเรื่องการแต่งงานในมุมของธุรกิจ ไม่ใช่ความรักอย่างที่เราคุ้นชินกัน
มันทำให้ Bnomics นึกถึงทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับการแต่งงานที่โด่งดัง คือ Theory of Marriage ว่าที่จริงแล้ว คนเราแต่งงานกันไปเพื่ออะไร
ทฤษฎีนี้จะน่าสนใจขนาดไหน เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจอย่างไร ในบทความนี้ Bnomics จะเล่าให้ฟัง
📌 Theory of Marriage…คนเราแต่งงานไปเพื่ออะไร?
หากพูดถึงทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการแต่งงานแล้ว เราจะไม่พูดถึง Gary Becker ผู้ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์สังคมวิทยาเจ้าของรางวัลโนเบลปี 1992 ก็คงไม่ได้ เขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่นำมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ไปประยุกต์กับพฤติกรรมมนุษย์
โดยหนึ่งในงานที่เป็นที่รู้จักอย่างมากก็คือ Theory of Marriage หรือ ทฤษฎีการแต่งงาน
Gary Becker มองการแต่งงานด้วยกรอบแนวคิดการแบ่งงานของแรงงาน (Division of labor) โดยหัวใจหลักของโมเดลนี้ คือ
1.
คนเราจะตัดสินใจแต่งงานก็ต่อเมื่อชีวิตหลังแต่งงานให้ประโยชน์มากกว่าการอยู่คนเดียว โดยที่การแต่งงานนั้นต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของคู่บ่าวสาว (หรือพ่อแม่ของบ่าวสาว)
2.
มีตลาดของการแต่งงานที่ทั้งผู้หญิงและผู้ชายต่างแข่งขัน เพื่อหาคู่ครองที่เหมาะสมกับตนเอง
หลักการทั้งสองข้อข้างต้นจึงช่วยอธิบายว่า ทำไมคนถึงแต่งงาน และทำไมคนเรามักจะมองหาคู่ครองจากฐานะ การศึกษา และลักษณะอื่นๆ
📌 เราจะเลือกแต่งงานกับใคร สำคัญต่อเศรษฐกิจอย่างไร?
ทฤษฎีของคุณ Gary Becker ได้ถูกนำไปต่อยอดเป็นโมเดลเกี่ยวกับการหาคู่ครองอีกมากมาย และพัฒนาแนวคิดไปเรื่อยๆ ตามบริบทของยุคสมัยและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงพยายามใส่ความซับซ้อนลงไปในโมเดล เพื่อให้โมเดลนั้นสามารถนำมาอธิบายการตัดสินใจเลือกคู่ครองของคนๆ หนึ่งได้อย่างสมจริงมากขึ้น
คุณ Paulina Restrepo-Echavarria นักเศรษฐศาสตร์จาก Fed สาขาเซนต์หลุยส์ ได้ศึกษาโมเดลการเลือกคู่ในตลาดการแต่งงาน เธอได้เปรียบเทียบตลาดการแต่งงานกับตลาดอื่นๆ ที่เราคุ้นเคย
การแต่งงานก็เหมือนการที่เราเลือกซื้อรองเท้าสักคู่หนึ่ง เราต้องไปเลือกจากหลายๆ ร้าน จนกว่าเราจะลองแล้วถูกใจจึงซื้อมา หรืออาจจะเหมือนกับเวลาที่เราหางาน เราก็ต้องดูว่ามีบริษัทไหนประกาศรับสมัคร เราจึงจะสมัคร ผ่านขั้นตอนการสัมภาษณ์งานจนเจองานที่ใช่ แล้วจึงเริ่มทำงานนั้น
ตลาดการแต่งงานก็เช่นกัน เมื่อเราต้องการจะหาคู่ชีวิต ก็ต้องเริ่มจากการเดทไปเรื่อยๆ จนพบคนที่ถูกใจ แล้วเมื่อคบกันจนแน่ใจ ถึงจะตัดสินใจแต่งงาน
คุณ Paulina Restrepo-Echavarria ค้นพบสิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง คือโดยเฉลี่ยแล้ว ทั้งผู้ชายและผู้หญิงมักจะหาคู่ครองที่ดีกว่าตนขึ้นไปสัก 25% พูดง่ายๆ ก็เหมือนกันการพยายามปีนป่ายบันไดขึ้นไปเพื่อหาคนที่ต้องการ
การที่คนไม่ได้แต่งงานโดยเลือกคนที่คุณลักษณะเหมือนๆ กับตัวเองไปเลย เช่น คนรวยแต่งงานกับคนรวย คนการศึกษาสูงแต่งงานกับคนการศึกษาสูง แต่กลับมีความแตกต่างกัน ซึ่งมันก่อให้เกิดข้อดีอย่างหนึ่งคือ ลดความเหลื่อมล้ำในแง่ต่างๆ (อย่างน้อยก็ในระดับครัวเรือน) และช่วยให้เกิดการขยับสถานะทางสังคมขึ้นมาได้
พูดให้เห็นภาพง่ายๆ ถ้าคนที่มีการศึกษาสูง แต่งงานกับคนที่มีการศึกษาต่ำกว่า มีแนวโน้มที่ลูกของทั้งคู่จะได้รับการศึกษาสูงกว่า เมื่อเทียบกับการที่หากคนการศึกษาต่ำกว่า ไปแต่งงานกับคนการศึกษาต่ำเช่นเดียวกัน
ทำให้เด็กที่เกิดมา ได้สะสมทุนมนุษย์ผ่านทางการศึกษา มีแนวโน้มที่จะมีรายได้สูง สามารถขยับสถานะทางสังคมขึ้นมาได้ในอนาคต ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำในเศรษฐกิจโดยรวมลดลง
สุดท้ายนี้ Bnomics อยากจะทิ้งท้ายบทความนี้ ด้วยแง่คิดจากคุณ Paulina Restrepo-Echavarria ซึ่งตกตะกอนจากงานวิจัยชิ้นนี้คือ
การมองหาแต่ความรัก ไม่ใช่วิธีหาคู่ครองที่มีประสิทธิภาพมากพอ แต่เราต้องพยายามตามหาคู่ชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะและความเป็นตัวตนของเรามากที่สุด…
ผู้เขียน : ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
●
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7382948/
●
https://www.annualreviews.org/doi/10.1146/annurev-economics-012320-121610
●
https://www.stlouisfed.org/open-vault/2020/october/how-economist-views-marriage-market
เครดิตภาพ : Prime Video และ tvN
งานแต่งงาน
แต่งงาน
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
3 บันทึก
7
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Economic Edutainment
3
7
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย