14 ต.ค. 2022 เวลา 12:04 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สวัสดีค่ะ การนำเสนอในครั้งนี้ (ครั้งที่ 4) จะเป็นรายละเอียดในเรื่องของคุณภาพหรือมาตรฐานของพลาสติกที่ใช้เป็นภาชนะบรรจุ ที่ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
เนื่องจากประกาศสาธารณสุขฉบับที่ 435 (2565) มีการกำหนดมาตรฐานของประเทศไทยแล้ว ยังอ้างอิงกฎหมายของสหภาพยุโรป: EU 10/2011_ Commission Regulation EU 10/2011 on plastic materials and articles intended to come to contact with food ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ จะประกอบด้วยกฎหมายลูกอีกหลายฉบับ
(จะมีการสรุปโดยย่อ หลังจากที่จบรายละเอียด ประกาศกระทรวงฉบับนี้)
รายละเอียดในครั้งนี้ จะพูดถึงเกณฑ์ที่ต้องระวังสารอันตรายที่แพร่กระจายออกมา (Migration) หมายถึง ภาชนะที่ใช้ในการบรรจุ จะต้องไม่มีการปนเปื้อน เช่น ละลายปะปนมาในอาหาร ที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค
รวมถึงต้องไม่เกินปริมาณที่กำหนดในรายชื่อที่อนุญาต (Authorized List) ใน EU 10/2011 ให้ถือว่าสารนั้นมีปริมาณในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หากสารที่ตรวจพบ ไม่มีใน Authorized List EU 10/2011 โดยที่ปริมาณที่ตรวจพบเกิน 0.01 mg/kg ให้ถือว่าสารนั้นอาจมีผลต่อสุขภาพ ซึ่งต้องประเมินความปลอดภัยตามความเสี่ยงจากปริมาณการได้รับสัผัสของสารเคมีนั้นเป็นรายกรณี โดยที่สารที่ตรวจพบต้องไม่เป็นสารก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ (Mutagenic), สารก่อมะเร็ง (Carcinogenic) หรือสารที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ (Toxic to reproduction)
นอกจากจะต้องไม่มีการปนเปื้อนจากสารเคมีที่กล่าวข้างต้น สารที่แพร่กระจายจากภาชนะบรรจุจะต้องไม่ทำให้ลักษณะของอาหารหรือองค์ประกอบอาหารเกิดการเปลี่ยนแปลงจนยอมรับไม่ได้ หรือทำให้อาหารเกิดการเสื่อมสภาพของลักษณะทางประสาทสัมผัส หมายถึง จะต้องไม่ทำให้เกิดกลิ่น และ/หรือกลิ่นรสของอาหารแปลกไปจากปกติ หรือเปลี่ยนแปลงจนยอมรับไม่ได้
คุณภาพหรือมาตรฐานการแพร่กระจายสำหรับภาชนะที่ทำจากพลาสติก แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. คุณภาพหรือมาตรฐานการแพร่กระจายทั้งหมด (Overall Migration Limit)
2. คุณภาพหรือมาตรฐานการแพร่กระจายโลหะหนัก จำนวน 19 ชนิด ซึ่งภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกแต่ละชนิดต้องตรวจวิเคราะห์การแพร่กระจายโลหะหนักทุกรายการ
3. คุณภาพหรือมาตรฐานการแพร่กระจายสาร Primary aromatic amines: PAAs)
ครั้งต่อไปจะนำเสนอรายละเอียดการแพร่กระจาย Primary aromatic amines แบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง
โฆษณา