18 ต.ค. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
IMF และ World Bank เตือน ปัญหาที่แท้จริงทางเศรษฐกิจอาจเกิดขึ้น
2
IMF และ World Bank ออกมาเตือนถึงผลกระทบจากการกระทำของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่  เช่น การที่ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง
1
การกระทำในลักษณะนี้ จะไปกดดันให้ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ต้องแบกรับภาระหนี้ที่สูงขึ้น
1
และอาจทำให้โลกต้องก้าวเข้าสู่ภาวะ Recession
1
ปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาด้านความมั่นคง หรือ ปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังรุมเร้าอยู่ในขณะนี้ เป็นสิ่งที่ผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ ไม่เคยเห็นมาก่อนตั้งแต่ปี 1945
2
อย่างไรก็ตาม ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 1980 บางประเทศใน Emerging Markets ก็เคยประสบกับปัญหาหนี้จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาก่อนแล้ว
2
IMF ได้คำนวณว่า 1 ใน 3 ของโลก จะต้องเจอกับการหดตัวทางเศรษฐกิจอย่างน้อย 2 ไตรมาสในปีนี้และปีหน้า นอกจากนี้ IMF ยังออกมาเตือนอีกว่า เศรษฐกิจโลกจะต้องเตรียมตัวรับมือกับความสูญเสียทางเศรษฐกิจมูลกว่ากว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
2
ซึ่งตัวเลขความเสียหายนี้ มีขนาดเทียบเท่ากับขนาดของเศรษฐกิจประเทศเยอรมนีเลยทีเดียว
3
โดยเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายที่ยากลำบากหลายประการ
2
ทั้งจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ยืดเยื้อ ปัญหาเงินเฟ้อที่สูงแบบที่เราไม่เคยเห็นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา และสภาวะทางการเงินที่ตึงตัวไปทั่วโลก
2
ในขณะที่ผู้กำหนดนโยบายต่างก็พยายามทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับคืนสู่เป้าหมาย
มาตรการทางการเงินและการคลังที่ใช้ช่วงโควิดกำลังถูกปรับให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
1
อย่างไรก็ตาม หลายประเทศกำลังประสบกับภาวะการชะลอตัวของการเติบโตหรือ แย่กว่านั้น คือ การที่เศรษฐกิจหดตัว
1
โดยอนาคตของเศรษฐกิจโลกนั้นจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับการปรับนโยบายการเงิน
สงครามในยูเครน หรือ จะมีความท้าทายอื่น ๆ เช่น การหยุดชะงักด้านอุปทานเพิ่มเติมจากการของโควิด เช่น ในประเทศจีนอีกหรือไม่
1
จากการคาดการณ์ของ IMF การเติบโตทั่วโลกจะลดลงจาก 6.0% ในปี 2021 เป็น 3.2% ในปี 2022 และ 2.7% ในปี 2023
1
ซึ่งเป็นการเติบโตที่อ่อนแอที่สุดนับตั้งแต่ปี 2001 ตัวเลขนี้ ไม่นับรวมกรณีที่อาจเกิดวิกฤติการเงินโลกและความรุนแรงของการระบาดใหญ่ของโควิด 19 อีกหลายระลอก
2
โดยตัวเลขนี้ สะท้อนถึงการชะลอตัวที่สำคัญของประเทศเศรษฐกิจที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่
รวมถึงการหดตัวของ GDP สหรัฐในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 การหดตัวของสหภาพยุโรป ในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 และการระบาดของโควิด และการล็อกดาวน์ในจีนที่ยืดเยื้อ และความเสี่ยงของวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น
1
1 ใน 3 ของเขตเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะประสบกับการเติบโตติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน
📌 การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของโลกคาดว่า
จะเพิ่มขึ้นจาก 4.7%  ในปี 2021 เป็น 8.8% ในปี 2022
1
ก่อนที่จะลดลงเหลือ 6.5% ในปี 2023 และ 4.1% ภายในปี 2024
1
อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว
ในขณะที่เขตเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และ เศรษฐกิจกำลังพัฒนาจะมีความผันผวนมากขึ้น
1
📌 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
การเติบโตในสหรัฐอเมริกาคาดว่าจะลดลงจาก 5.7% ในปี 2021 เป็น 1.6% ในปี 2022 และ 1.0% ในปี 2023  รายได้ที่แท้จริงที่ลดลง และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นกำลังส่งผลกระทบที่สำคัญต่อการใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้จ่าย เพื่อการลงทุนที่อยู่อาศัย
1
แม้ว่าอัตราการว่างงานลดลงเหลือ 3.5% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1969 แต่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจทำให้ตลาดแรงงานสูญเสียโมเมนตัม
เนื่องจากผลกระทบของต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น
📌 เศรษฐกิจสหภาพยุโรป
การหดตัวทางเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปคาดว่าจะมีความรุนแรงน้อยกว่าในสหรัฐอเมริกาในปี 2022 แต่คาดว่าจะแย่ลงในปี 2023 โดยการเติบโตคาดว่าจะอยู่ที่ 3.1% ในปี 2022 และ 0.5% ในปี 2023
1
ขณะที่ในสหราชอาณาจักร คาดว่าการเติบโตจะอยู่ที่ 3.6% ในปี 2022และ 0.3% ในปี 2023 โดยอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจะทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงและการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น
1
ซึ่งจะไปกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนภาคธุรกิจ
1
นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์อีกว่าราคาพลังงานจะพุ่งสูงขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
1
ที่เป็นผลมาจากสงครามยูเครน รัสเซีย จะส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร ไตรมาสที่ 2 ที่มีหนี้เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2009
2
📌 เศรษฐกิจเอเชีย
การเติบโตในญี่ปุ่นคาดว่าจะคงที่ที่ 1.7% ในปี 2021 และ 2022 และ 1.6% ในปี 2023
1
อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1992 (ไม่รวมผลกระทบจากการเพิ่มภาษี ) ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจมีความยากลำบากในการใช้นโยบายการเงินมากขึ้น
1
Bangkok Bank Post ฉบับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา