24 ต.ค. 2022 เวลา 23:30 • หนังสือ
ภาษี (เงินได้บุคคลธรรมดา) ต้องรู้
1
ตอนที่ 6 วิธีคำนวณภาษีแบบเงินได้สุทธิ (Part 2 อัตราภาษี)
เมื่อ Part ที่แล้วเราได้หา "เงินได้สุทธิ" ของนาย A กันไปแล้วใช่ไหมครับ ใน Part นี้เราจะนำมาคูณอัตราภาษีเพื่อหาภาษีที่ A ต้องจ่ายกันครับ
ซึ่งอัตราภาษีที่จะนำไปคูณนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า มีเงินได้สุทธิเท่าไร? ยิ่งมีเงินได้สุทธิเยอะก็จะยิ่งมีอัตราภาษีที่สูงครับ ดังตารางนี้เลย
เราอาจจะเรียกอัตราภาษีแบบนี้ได้ว่า "อัตราภาษีแบบขั้นบันได" ก็ได้นะครับ
ซึ่งถ้าดูตารางแล้วยังงง ๆ อยู่เดี๋ยวผมจะอธิบายให้นะครับ จะสังเกตได้ว่าอัตราภาษีของแต่ละช่วงเงินได้สุทธินั้น จะไม่เท่ากัน จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามระดับเงินได้สุทธิครับ
ส่วนภาษีสะสมจะขออธิบายแบบสั้น ๆ เลยก็คือ เพดานภาษีที่เราสามารถเสียได้มากที่สุดครับ เช่น ถ้าเรามีเงินได้สุทธิอยู่ในช่วง 500,000 - 750,000 จะสามารถเสียภาษีได้แค่ 65,000 บาทครับ จะไม่มีทางเสียได้สูงกว่านี้ครับ (ยกเว้นโดนเบี้ยปรับเงินเพิ่มและค่าปรับทางอาญานะครับ)
สำหรับการคำนวณภาษีนั้นจะขอหยิบยกบทความจาก www.finnomena.com มาอธิบายให้นะครับ โดยกล่าวว่า
1.เงินได้สุทธิ 0 - 150,000 (ได้รับการยกเว้นภาษี)
2.เงินได้สุทธิ 150,000 - 300,000 (อัตราภาษี 5%)
ภาษี = (เงินได้สุทธิ - 150,000) x 5%
3. เงินได้สุทธิ 300,001 - 500,000 (อัตราภาษี
10%)
ภาษี = {(เงินได้สุทธิ - 300,000) x 10%} + 7,500
4. เงินได้สุทธิ 500,001 - 750,000 (อัตราภาษี
15%)
ภาษี = {(เงินได้สุทธิ - 500,000) x 15%} + 27,500
5. เงินได้สุทธิ 750,001 - 1 ล้าน (อัตราภาษี
20%)
ภาษี = {(เงินได้สุทธิ - 750,000) x 20%} + 65,000
6. เงินได้สุทธิ 1,000,001 - 2 ล้าน (อัตราภาษี
25%)
ภาษี = {{เงินได้สุทธิ - 1,000,000) x 25%} + 115,000
7. เงินได้สุทธิ 2,000,001 - 5 ล้าน (อัตราภาษี
30%)
ภาษี = {(เงินได้สุทธิ - 2,000,000) x 30%} + 365,000
8. เงินได้สุทธิมากกว่า 5 ล้าน (อัตราภาษี
35%)
ภาษี = {(เงินได้สุทธิ - 5,000,000) x 35%} + 1,265,000
ขอสรุปเป็นตารางเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นนะครับ
กลับมาที่ตัวอย่างของเรานะครับ เมื่อ Part ที่แล้วผมได้ยกตัวอย่างของนาย A ไป ซึ่งเราได้เงินได้สุทธิของนาย A อยู่ที่ 260,000 บาท
Part นี้เราลองมาหาภาษีของนาย A กันต่อครับ
-เงินได้สุทธิ 260,000 บาท
-อัตราภาษี 5%
*ภาษีนาย A = (260,000 - 150,000) x 5% = 5,500 บาท*
ดังนั้น นาย A ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่ที่ 5,500 บาทนั่นเองครับ
เรียบเรียงบทความจาก
หนังสือ : Money Literacy
คนไทยฉลาดการเงิน
ผู้เขียน : ศักดา สรรพปัญญาวงศ์
จักรพงษ์ เมษพันธุ์
ถนอม เกตุเอม
จัดพิมพ์และจำหน่ายโดย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด
เว็บไซต์ : www.finnomena.com
ติดตามบทความดีๆ จากหนังสือดีๆ ได้ที่
โฆษณา