Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กินยังไงได้อย่างงั้น
•
ติดตาม
6 พ.ย. 2022 เวลา 11:29 • สุขภาพ
โซเดียมทำได้มากกว่าไตวาย
โซเดียมเป็นหนึ่งในแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการรักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่าง รักษาสมดุลการกระจายตัวของของเหลวในร่างกาย ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ รวมถึงเป็นส่วนประกอบโครงสร้างของกระดูกและฟัน โดยปริมาณโซเดียมที่ร่ายกายต้องการคือ 1,500 ต่อวัน จากการสำรวจการบริโภคโซเดียมของประชากรโลกต่อวันพบว่ามีการปริโภคเฉลี่ยอยู่ที่ 3,950 มิลลิกรัม/คน/วัน ในประชากรไทยมีค่าเฉลี่ยการบริโภคโซเดียมอยู่ที่ 4,352 มิลลิกรัม/คน/วัน ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำอยู่ที่ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม
แหล่งที่มาของโซเดียมส่วนใหญ่มาจากอาการที่บริโภค
การบริโภคโซเดียมมากเกินกว่าปริมาณที่ร่างกายต้องการส่งผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพเนื่องจากระบบร่างกายต้องปรับเปลี่ยนระบบการทำงานเพื่อให้เหมาะสมกับสารอาหารและแร่ธาตุที่ได้รับมา เมื่อระบบร่างกายไม่ปกติก็เป็นจุดเริ่มของการเกิดโรค หากร่างกายได้รับโซเดียมเกินความจำเป็นจะส่งผลให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังขึ้น
1.
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้หลายรูปแบบ เช่น ภาวะหัวใจวาย ภาวะกล้ามเนื้อตายเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
2.
โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด การบริโภคโซเดียมสูงจะส่งผลต่อการหนาตัวขึ้นของหัวใจห้องล่างซ้ายรวมถึงเพิ่มความเสียงของภาวะหลอดเลือดในสมองแตก
3.
โรคไต ไตเป็นอวัยวะหลักในการขับโซเดียมออกจากร่างกาย การบริโภคโซเดียมสูงส่งผลให้ไตทำงานหนักและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
4.
เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนและเป็นตัวแปรสำคัญต่อความรุนแรงในการแสดงอาการของโรคเบาหวาน
3
การบริโภคเกลือมากกว่า 5 กรัมต่อวันจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจร้อยละ 17 และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 23
2
โซเดียมที่มากเกินความต้องการทำให้เกิดการสูญเสียโปรตีนออกทางปัสสาวะ
การบริโภคโซเดียมมากเกินความจำเป็นนั้นเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอันเป็นปัญหาสุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายสูง แน่นอนว่าส่งผลโดยตรงต่อการใช้ชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิต หากสามารถลดปริมาณการบริโภคโซเดียมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้นอกจากจะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ลดค่ารักษาพยาบาลและช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย
1
อ้างอิง:
ชุษณา เมฆโหรา, เนตรนภิส วัฒนสุชาติ. (16 กุมภาพันธ์ 2564). การลดโซเดียม: บทบาทเชิงสุขภาพ มาตรการและการวิจัยเพื่อปรับสูตรผลิตภัณฑ์อาหาร. กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
https://lib1.dss.go.th/bsti/index.php/th/food-abstract/5312-2021-02-16-08-54-25
สุขภาพ
ไลฟ์สไตล์
ความรู้รอบตัว
บันทึก
3
3
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย