7 พ.ย. 2022 เวลา 05:01 • ปรัชญา
“ผลแห่งการกระทำส่งผลที่ขันธ์ ไม่ใช่ที่ใคร
… ตกลงกฏแห่งกรรม ทำงานยังไง”
“ … นั่งรอ โห รอมาสิบนาทีแล้ว
ก็รอเดียวกันนั่นแหละ แต่บางคนเป็นทุกข์ บางคนไม่เป็นทุกข์ อย่างนี้
เพราะฉะนั้นวันนี้ คำที่เราได้ยินจากใครก็ตาม หรือแม้แต่เราพูดก็ตาม เราต้องทำความเข้าใจด้วย
ถ้าสมมติบัญญัติ ก็คือคำที่เราใช้เรียกกันบนโลก
รอไหม ถ้าเราเอามาพลิกมาที่จิต … ไม่ได้รอเลย ผ่านมาครึ่งชั่วโมงก็ไม่ได้รอ ไม่เคยรอ จะไปรอใครเล่า
แต่ถ้าบอกว่า "โทษทีนะ มาช้าสิบนาที"
: "ไม่เป็นไรหรอก ก็รอไม่นานเท่าไหร่"
คือ คำว่า รอ มันไม่ได้รอ
จะว่ามีก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีก็ไม่ใช่ คือใจมันไม่ได้ไปทางนั้น
มันอยู่บน เขาเรียก "สายกลาง"
เมื่อ .. เมื่อไรจิตเข้าไปอยู่ในทางสายกลาง มันจะพูดไปทางไหน มันไม่เคยมีปัญหาอะไรทั้งนั้น จะพูดเรื่องมี จะพูดเรื่องไม่มี จะพูดเรื่องว่าง จะพูดเรื่องอะไร ก็อย่างนั้นแหละ ก็อย่างนั้น
ฉะนั้นวันนี้สัมมาสมาธิมันจำเป็นต้องอาศัยการปฏิบัติอยู่ด้วย ก็ยกเว้นแต่ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว
เมื่อกี้เราพูดถึงสัมมาทิฏฐิ เรื่องของบุญ เรื่องของสัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ
พูดง่าย ๆ ก็คือ สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ไม่มีเรา อยู่ในนั้น
ตกลงกฏแห่งกรรมมีไหม ?
ทุกคนก็จะบอกว่า มี
ทำร้ายอะไร ทำร้ายใคร ว่าใคร ด่าใคร ก็มีวิบากย้อนกลับมา
แต่ถ้าชั้นสูงขั้นมาหน่อยก็ วิบากก็คือใจที่เป็นทุกข์แค่นั้นเอง
ทีนี้ถ้าวิบากที่พูดถึงนี้ ที่ว่าส่งผล แล้วคน ๆ นั้นใจเขาไม่เป็นทุกข์ล่ะ
มีคนมากระทำ เขาบอกว่า "โอ้ นี่เป็นวิบากกรรมที่เธอเคยทำเขาไว้"
สมมติว่ามีใครสักคนถูกโกงเงิน "เนี่ย เป็นวิบากที่เธอเคยไปโกงเขาไว้" คนก็จะพูดอย่างนี้ "เนี่ย ก็เป็นวิบากของเธอ"
: "แล้วต้องทำยังไงล่ะ"
: "ก็ต้องไปสะเดาะเคราะห์นะ ต้องไปอย่างนั้น อย่างนี้" ก็ว่ากัน ยุคนี้เขาก็เป็นอย่างนั้น
เอาล่ะ เมื่อกี้เราเห็นว่าในสัมมาทิฏฐิที่ไม่มีกฏแห่งกรรมของอริยะ เป็นยังไงเหรอ แล้วอริยะไม่ต้องรับกรรมเหรอ
ถ้าถูกโกง คือเขาเอาเงินไปแล้วไม่คืน ก็โกงน่ะแหละ
เอาเงินไป แต่ไม่คืน ปกติต้องเป็นทุกข์ แล้วถ้ามีคนไม่เป็นทุกข์ล่ะ จะให้อภัยหรือจะฟ้องก็ว่ากันไปตามนั้น แต่ใจไม่ทุกข์
ถ้าผมมีลูกเทนนิสขว้างเข้าไปที่ผนัง ปึ้งง ลูกเทนนิสต้องกระเด้งออกมา ถูกไหม เขาเรียกกฏของ action - reaction ถูกไหม
… ใช่ action แล้วก็ reaction กฏแห่งกรรมก็คือกฏของ action กับ reaction เมื่อกระทำลงไป ก็กระเด้งออกมา กระทำลงไปก็เด้งกลับมา
มีผู้กระทำ ก็กระเด้งกลับมาหาผู้ที่กระทำนั้น
ถ้าลูกบอลถูกขว้างออกไปด้วยกิริยา
ลูกบอกก็กระเด้งออกมาแต่ไม่มีผู้รับ
ถ้าไม่มีผู้ขว้าง แต่ลูกบอลกระเด้งไป
ไม่มีผู้รับ ลูกบอลกระเด้งออกมา
เมื่อผลแห่งการกระทำเกิดขึ้น แม้นจากวันที่กระทำมีตัวตนก็ตาม
ถ้ายกตัวอย่างให้คนเข้าใจ คือ ถ้ามีการกระทำในวันที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ ยังมีความเคียดแค้น ยังมีโลภะ โทสะ โมหะ เข้าประกอบในการกระทำนั้น ผลออกมาก็จะสะท้อนกลับมาหาผู้ที่กระทำ แล้วก็จะถูกเรียกว่า กฏแห่งกรรม
แต่เมื่อทำไปแล้ว แล้วผลออกมาในวันที่เกิดท่านผู้นั้นหลุดพ้นไปแล้ว ผลแห่งการกระทำนั้นยังมีอยู่ไหม
… มี แต่ไม่มีผู้ทุกข์ หรือ ให้ค่าสิ่งที่เกิดขึ้นอีกแล้ว สิ่งนั้นจึงกลายเป็นของว่าง ของเปล่าไปเลย
ในอีกมิติหนึ่ง ถูกเรียกว่า อโหสิกรรม ในพระอรหันต์
เมื่ออยู่เหนือบุญ เหนือบาป การที่มีผลสะท้อนออกมา จึงแทบจะพูดไม่ได้ว่า นี่คือกฏแห่งกรรม เพราะผู้ที่กำลังโดนอยู่ มันตอบสนองที่ขันธ์ ไม่ใช่ที่ใคร
เมื่อขันธ์ว่างจากตัวตนจริง ๆ ผลก็ไปเกิดที่ขันธ์ไป แล้วใครจะเดือดร้อน ใครจะเป็นทุกข์กับมัน
ถ้าย้อนกลับไปให้ดูหน้าเมื่อกี้นี้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก เพราะเนื่องจากว่าคน ๆ นั้นมีตัวตน การกระทำบุญ จึงถือว่าได้บุญ บุญมีผล ยัญมีผล นึกภาพออกไหมครับ ที่เมื่อกี้เราพูดถึง บุญมีผล ยัญมีผล เพราะฉะนั้นคนทำจึงได้รับผลแห่งการกระทำนั้น
แต่ถ้านี่ว่างล่ะ แล้วทำบุญไหม … ทำ แต่ทำ เป็นประโยชน์กับผู้คน เป็นประโยชน์กับผู้ที่เราเคารพศรัทธา สมมติว่าไปเจอครูบาอาจารย์ให้ท่านได้เอาไปทำประโยชน์ แล้วมันจบไปเลย เราไม่ได้มาเอาบุญ เราทำให้กับผู้คนไปเลย
ตัวตนผู้กระทำก็ไม่มี การกระทำนั้นจึงถูกเปลี่ยนเป็นเรียกว่า กิริยา
เมื่อเป็นกิริยามันจึงไม่มีผู้กระทำ
: "โห .. อย่างนี้ก็ไม่ได้บุญสิอาจารย์"
. . . งั้นเอากลับไปเยอะ ๆ เพราะว่าเพียบเลย ที่มานั่งอยู่ตรงนี้
: "โอ ไม่กล้าทิ้งอ่ะ ขอไว้นิดหนึ่งละกัน"
คือ … ทำความเข้าใจไปก่อน บางทีมันก็วางไม่ลงเหมือนกัน
หลายคนก็บอกว่า เข้าใจหมดเลยที่อาจารย์พูด แต่มันทำใจไม่ได้อ่ะ ไม่เอาอะไรเลยเหรอ
ไม่ได้อะไรเลยแล้วจะมาทำทำไม
เห็นไหมว่า ท่านทำเพราะบุญ ท่านไม่ได้ทำเพราะท่านเห็นประโยชน์จริง ๆ แค่นั้นแหละ …"
.
บางตอนจากการบรรยาย "บุญกุศลที่สูงสุดกลับมาจากการไม่ได้ทำอะไร"
โดย อ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ :
Photo by : Unsplash

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา