26 ต.ค. 2022 เวลา 01:15 • ไลฟ์สไตล์
“ขันธ์ไม่เคยเป็นเรา แม้แต่วินาทีเดียว”
“ … วิญญานไม่ใช่ตัวตน
วิญญานเป็นอนิจจัง วิญญานเป็นอนัตตา
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาน
นั่นแปลว่าอะไร
นั่นแปลว่า ขันธ์คือรูป
เวทนา คือ ความรู้สึก สุข ทุกข์ก็ดี ไม่ทุกข์ไม่สุขก็ดี
สัญญา จำได้หมายรู้
สังขาร การคิดปรุงแต่ง
วิญญาน รู้แจ้งอารมณ์
เป็นของเกิด ๆ ดับ ๆ ว่างจากตัวตน
แล้วปัญหาเกิดขึ้นได้ยังไง ?
"ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น" คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
แสดงว่าขันธ์ไม่ได้อิโหน่อิเหน่ด้วยเลย
แล้วเราเข้าไปยึดถือเหรอ
… "เราไม่มี"
มีสภาพการยึดถือที่เกิดขึ้นมาด้วยความไม่รู้
จึงเกิดสภาพการยึดถือนั้นขึ้นมา
เมื่อเกิดสภาพการยึดถือนั้นขึ้นมา
จึงเกิดความรู้สึกเป็นเรา ตามออกมา
ไม่ใช่เราไปยึดถือ
ขันธ์ไม่เคยเป็นเรา แม้แต่วินาทีเดียว
มันเกิดสภาพการยึดถือ
จึงก่อความรู้สึกเป็นเราขึ้นมา
ในพระโสดาบันสามารถละความเห็นผิดนี้ลงได้
จึงเหลือแต่สภาพของรูปนาม
แต่ยังมีอุปาทานอยู่
แต่ความรู้สึกหยาบ ๆ ที่เป็นทิฏฐิที่เรียกว่า สักกายทิฏฐินี้ได้ขาดลง ตอนที่ได้เห็นความจริงต่าง ๆ ขึ้นมาในขณะของการปฏิบัติภาวนา หรือ ในการเป็นอยู่โดยชอบอย่างแท้จริง
ผมต้องหรือคำนี้ไว้ด้วย เพราะไม่งั้นจะมีคนที่เอาแต่นั่งภาวนา นึกว่าการภาวนาจะทำให้ถึงความจริงโดยส่วนเดียว
คนที่ปฏิบัติด้วยการเป็นอยู่โดยชอบ จะเดินไปถึงจุดเดียวกัน แต่ไม่ได้ก่อตัวตน
ผู้ที่ภาวนาทำอะไรขึ้นมา มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อตัวตนขึ้นในจิตใจของตัวเองซ้อนขึ้นมาอีก
ถ้าใครฟังคู่มือมนุษย์ จะเห็นว่าตอนที่ ๗ กับตอนที่ ๘ ท่านพุทธทาสแยกเอาไว้ให้ชัด
ตอนที่ ๗ ถ้าผมจำไม่ผิด น่าจะเป็นการปฏิบัติตามหลักวิชาการ เหมือนกับที่กำลังทำกันอยู่ในวันนี้
ทีนี้เมื่อปฏิบัติตามหลักวิชาการต้องเดินจงกลมแบบนี้ นั่งสมาธิแบบนั้น นั่งสมาธิแบบนี้ โอกาสที่จิตจะไปก่อสัญญเจตนาขึ้นมาเป็นตัวตน มีสูงมาก แล้วจะต้องไปวางตัวตนในบั้นปลาย
แต่ถ้าปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด หรือปฏิบัติไปตามข้อวัตรปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าตรัส แล้วก็เจริญขึ้นมาเป็นชั้น ๆ ตั้งแต่ศีล สมาธิ ปัญญา จนกระทั่งสูงสุด จะหลุดพ้นไปได้โดยง่าย ไม่ต้องมาชำระอะไรกันตอนท้ายอีก …”
.
บางตอนจากการบรรยาย “เรื่องที่ไม่ค่อยมีใครยอมฟัง”
โดย อ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ :
Photo by : Unsplash

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา