8 พ.ย. 2022 เวลา 03:00 • สุขภาพ
น้ำตาลหวานถูกปากรสชาติถูกใจเป็นภัยต่อร่างกาย
น้ำตาลเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดตรนั่นหมายถึงว่าเมื่อเราบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดตร เช่น ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากนม ร่างกายก็จะได้รับน้ำตาลไปด้วยโดยปริยาย ปกติแล้วการรับน้ำตาลเข้ามาในร่างกายลักษณะมักจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
น้ำตาลเป็นเครื่องปรุงยอดนิยมสำหรับครัวเรือน
ในปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคอาหารกระตุ้นในผู้ผลิตไม่ว่าจะเป็นในภาคอุตสาหกรรมหรือผู้ผลิตทั่วไปต้องแต่งเติมน้ำตาลลงไปในอาหาร ขนมหวาน เพื่อให้ถูกปากหวานรสชาติถูกใจผู้บริโภค แต่หากร่างกายได้รับน้ำตาลเข้าไปเป็นปริมาณมากเกินไปย่อมไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพแน่นอน
การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน เป็นต้น ดังนั้นองค์การอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) จึงแนะนำให้บริโภคน้ำตาลในเด็กและผู้ใหญ่ไม่เกิน 24 กรัม หรือ 6 ช้อนช้าต่อวัน จากข้อมูลของสำนักคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายพบว่าในปี พ.ศ. 2557 คนไทยบริโภคน้ำตาลทรายเป็นจำนวน 2,805,556.08 ตัน เปลี่ยนหน่วยเป็นกรัม หารด้วยประชากร 67 ล้านแล้วหารด้วย 365 วัน จะพบว่าคนไทยบริโภคน้ำตาลทรายต่อวันคือ 114.7 กรัม/คน/วัน
ขนมหวานต่าง ๆ ก็มีน้ำตาลปริมาณมากเป็นส่วนประกอบหลัก
พฤติกรรมการบริโภคน้ำตาลที่เติมแต่งลงไปในอาหารและเครื่องดื่มมากเกินไปจะส่งผลให้เกิดภาวะต่อสุขภาพดังนี้
  • น้ำหนักเกิน ร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลที่ได้รับมาเกินไปเป็นไขมัน หากเกิดการสะสมอย่างต่อเนื่องจะส่งผลต่อน้ำหนักตัวจนเกิดเป็นโรคอ้วน
  • ระดับพลังงานที่แปรปรวน นอกจากระดับน้ำตาลในเลือดและปริมาณฮอร์โมนอินซูลินที่เพิ่มสูงขึ้นจากการได้รับน้ำตาลบแล้ว ร่างกายได้รับพลังงานที่สูงขึ้นด้วยแต่จะเป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น เพราะหลังจากนั้นระดับน้ำตาลจะลดลงอย่างรวดเร็วเกิดเป็นความผันผวนของระดับน้ำตาลในเลือด และทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย
  • เสี่ยงต่อการเกิดสิว เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงร่างกายจะหลั่งสานอินซูลินมากซึ่งทำให้ฮอร์โมนแอนโดรเจนถูกหลั่งมากขึ้นด้วย แล้วผิวหนังก็จะผลิตน้ำมันมากขึ้น เสี่ยงที่จะเกิดการอักเสบ ปัจจัยดังกล่าวทำให้เสี่ยงต่อการเกิดสิว
  • หน้าแก่ก่อนวัย เมื่อมีน้ำตาลในเลือดสูงและโมเลกุลของน้ำตาลไปจับกับโปรตีนจะทำให้เกิดสาร AGEs: Advanced Glycation End-Products ซึ่งทำลายคอลลาเจนกับอีลาสตินในผิว
  • เซลล์อาจเสื่อมสภาพ น้ำตาลมีสารประกอบที่ทำให้เทโลเมียร์หดสั้นลงเร็วกว่าที่ควร ซึ่งเทโลเมียร์เป็นส่วนปลายสุดของโครโมโซมที่คอยป้องกันการเสื่อมสภ่าพของโครโมโซม โดยปกติเทโลเมียร์จะหดสั้นลงเรื่อย ๆ จนเซลล์เสื่อมสภาพและไม่สามารถงานทานได้ตามปกติ
  • เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า มีงานค้นคว้าที่พบว่าผู้ชายที่บริโภคน้ำตาล 67 กรัมต่อวันหรือมากกว่า มีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายที่บริโภคน้ำตาลน้อยกว่า 40 กรัมต่อวัน ถึง 23 เปอร์เซ็นต์
  • เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน เป็นผลต่อเนื่องจากโรคอ้วน เนื่องจากภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมความสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด หากระดับน้ำตาในเลือดสูงก็จะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานมากขึ้นอีก
  • เสี่ยงต่อโรคหัวใจ ภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง ล้วนเป็นปัจจัยที่เพิ่มระดับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งเกิดจากการการสะสมของไขมันในหลอดเลือดทำให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ
  • เลี่ยงต่อภาวะไขมันพอกตับ น้ำตาลฟรุกโตสที่ร่างกายรับเข้าไป (ส่วนใหญ่มากจากผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคในท้องตลาด) น้ำตาลชนิดนี้จะถูกส่งไปที่ตับ ซึ่งส่วนหนึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน อีกส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นไกลโคเจนหรือไขมันที่พอกที่ตับ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการอักเสบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • เสี่ยงโรคมะเร็ง โรคอ้วน ภาวะดื้ออินซูลิน การอับเสบ ล้วนเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดเซลล์มะเร็ง
การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่ปรุงรสและเติมแต่งด้วยน้ำตาลเกินความจำเป็น เป็นชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ดังนั้นการเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาล รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีนั้น จะช่วยให้มีสุขภาพ พลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงช่วยให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข
อ้างอิง:
วิลาสินี หงสนันทน์, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2562). การนำกลยุทธ์ส่งเสริมสุขภาพสู่การปฏิบัติในการลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร. https://he01.tci-thaijo.org
WHO. (2016b). WHO calls on countries to reduce sugars intake among adults and children. Retrieved Feb 20, 2019, from https://www.who.int/mediacemter/news/releases/2015/sugar-guildline/en/.
โฆษณา