8 พ.ย. 2022 เวลา 00:39 • สุขภาพ
#จะทำอย่างไรเมื่อเป็นมะเร็งเต้านมตอนตั้งครรภ์ ตอนที่ 2
สวัสดีครับ วันนี้คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน เราจะมาคุยกันต่อว่าเราจะรักษาคนไข้ที่เป็นมะเร็งเต้านมตอนที่ตั้งครรภ์อย่างไร ให้ปลอดภัยทั้งแม่และลูกครับ
อย่างที่ได้กล่าวไปว่ามะเร็งเต้านมที่เกิดขึ้นในช่วงที่ตั้งครรภ์นั้น มีความรุนแรงกว่ากลุ่มผู้ป่วยปกติ https://www.blockdit.com/posts/635ffc567b730ce870542ad7
แต่การตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมในคนไข้ตั้งครรภ์นั้น ก็สามารถทำได้เหมือนผู้หญิงปกติทั่วไป คือ การทำแมมโมแกรมและอุลตร้าซาวด์ โดยการทำแมมโมแกรมในผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ เราจะมีการใส่เกราะกันรังสี ที่บริเวณท้อง เพื่อป้องกัน รังสีเอ็กซ์ทำอันตรายต่อลูกในท้องนั่นเอง
ส่วนการรักษามะเร็งเต้านมในผู้ป่วยตั้งครรภ์ การผ่าตัดเอามะเร็งออกยังคงเป้นการรักษาหลักอยู่ โดยเน้นเป้าหมายไปที่การผ่าตัดแบบ ONCOPLASTIC SURGERY เพื่อให้ผู้ป่วยยังมีเต้านมที่ให้น้ำนมบุตรได้ต่อหลังจากรักษา
แต่การฉายรังสีรักษานั้นอาจจะต้องระวังในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เพราะ ปริมาณรังสีที่ได้รับอาจจะทำให้เกิดความพิการแก่ทารกในครรภ์ ดังนั้น เราจึงแนะนำให้ฉายรังสีหลังจากคลอดบุตรเป็นหลัก
การให้ยาเคมีบำบัด เป็นความท้าทายอย่างมากในการรักษามะเร็งเต้านมในกลุ่มผู้ป่วยตั้งครรภ์ เพราะ ตัวยาเคมีบำบัดจะไปกดการสร้างอวัยวะปกติขิงบุตรในครรภ์ จึงต้องหลีกเลี่ยงในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ แต่ในช่วงไตรมาสที่ 2-3 สามารถให้ได้โดยมีรายงานการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทารกในครรภ์เพิ่มขึ้นเพียง 1.3 %
ส่วนการให้ยาต้านฮอร์โมน จะเป็นข้อห้ามในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมตั้งครรภ์ เพราะ ทำให้เกิดความพิการของบุตร และยังห้ามในช่วงให้นมบุตรอีกด้วย
อย่างไรก็ดี การเป็นมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยตั้งครรภ์ก็มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั่วไป สูงถึง 1.9-2เท่าด้วยกันเลยทีเดียว
ถ้าคุณมีอาการผิดปกติที่หน้าอกหรือเต้านมอย่างนิ่งนอนใจ
รีบไปพบแพทย์ใกล้บ้านนะครับ
ด้วยรัก
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
#หมอโภคิน
ศัลยแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ
REFERENCE
Duivenvoorden, H.M. et al. (2017) Myoepithelial cell-specific expression of stefin A as a suppressor of early breast cancer invasion. J. Pathol. 243, 496–509
Sternlicht, M.D. et al. (1997) The human myoepithelial cell is a natural tumor suppressor. Clin. Cancer Res. 3, 1949–1958
Pal, B. et al. (2017) Construction of developmental lineage relationships in the mouse mammary gland by single-cell RNA profiling. Nat. Commun. 8, 1627
Kaanta, A.S. et al. (2013) Evidence for a multipotent mammary progenitor with pregnancy-specific activity. Breast Cancer Res. 15, R65

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา