Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
9 พ.ย. 2022 เวลา 03:45 • ธุรกิจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับแก้ไขใหม่ที่ควรรู้
ประกาศของราชกิจจานุเบกษา ออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ว่าด้วยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565
โดยสาระสำคัญเป็นการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนบริษัท เช่น
👉 แก้ไขเรื่องจำนวนขั้นต่ำของผู้เริ่มก่อการและตั้งบริษัทจำกัด จากเดิมที่กฎหมายกำหนดว่าต้องมีไม่ต่ำกว่า 3 คน เปลี่ยนเป็น 2 คน (มาตรา 1097)
1
👉 ถ้าการจดทะเบียนบริษัทมิได้ทำภายใน 3 ปีนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ให้หนังสือบริคณห์สนธิสิ้นผล (มาตรา 1099)
1
👉 กำหนดให้ในใบหุ้นทุก ๆ ใบให้กรรมการอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท (ถ้ามี) ด้วย จากเดิมที่กำหนดให้เพียงกรรมการลงลายมือชื่อ (มาตรา 1128)
👉 เพิ่มมาตรา 1162/1 โดยกำหนดให้การประชุมกรรมการ อาจใช้การติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยี โดยกรรมการไม่จำเป็นต้องปรากฏตัวในที่ประชุมก็ได้
2
👉 เพิ่มวิธีการบอกกล่าวการเรียกประชุมทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 1175
👉 กำหนดให้การจ่ายเงินปันผลให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่หรือกรรมการลงมติ แล้วแต่กรณี จากเดิมกำหนดเพียงให้กระทำ ไม่ได้กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ (มาตรา 1201)
👉 แก้ไขเหตุที่ศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัทจำกัด จากเดิมในมาตรา 1237(4) ที่กำหนดจำนวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงจนเหลือไม่ถึงสามคนศาลอาจสั่งให้เลิกได้ เป็นเหลือเพียงคนเดียว
👉 ยกเลิกส่วนที่ 9 การควบบริษัทจำกัดเข้ากัน เปลี่ยนเป็น ส่วนที่ 9 การควบรวมบริษัทจำกัด และแก้มาตรา 1238 ถึงมาตรา 1243 ใหม่
โดยกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 90 วัน นับแต่วันที่ 9 พ.ย. 65 เป็นต้นไป
ที่มา :
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/A/069/T_0001.PDF
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ 😊
ติดตามอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
https://www.blockdit.com/pages/5ef4aee94e90fa1adecae03e
ธุรกิจ
ความรู้รอบตัว
ไลฟ์สไตล์
1 บันทึก
16
14
22
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ความรู้นอกตำรา
1
16
14
22
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย