9 พ.ย. 2022 เวลา 04:26 • ศิลปะ & ออกแบบ
วินเซนต์ แวน โกะห์
ศิลปินซึมเศร้าที่โลกหลงรัก Part 2
#BenNote จาก #Journey_with_Arts #EP7
คุณเอ๋ นิ้วกลม คุยกับ อ.ภากร มังกรพันธุ์
Part 1/2 อ่านกันได้ที่นี่นะคะ
💖💖
Part 2/2 เริ่มต้นที่ นาทีที่ 54.47Min. ของ Clip นี้ค่ะ
💖💖
จากรูปทานตะวันอันลือเลื่อง เรามาต่อที่ภาพชีวิตภาพต่อไปของพี่แวนโก๊ะกันนะคะ เรายังอยู่ที่ Arles ค่ะ
10.
New Hopes in Gauguin (October – December 1888)
แวนโก๊ะชวนโกแกงมาทำงานด้วยกัน แต่นะ ... อยู่ด้วยกันได้แค่ 2 เดือนแยกย้ายยยย เรามาดูงานระหว่าง 2 เดือนนั้นกันนะคะ
ถามว่าโกแกงประสบความสำเร็จหรือยังในช่วงที่มาอยู่กับแวนโก๊ะ อาจารย์บอกว่าก็น่าจะเริ่มได้รับการยอมรับแล้ว เพราะจนถึงปี 1888 นี่ Impressionism เกิดมาแล้วประมาณ 10 ปี แต่ถึงภาพจะยังไม่ประสบความสำเร็จ ตัวโกแกงเองก็ไม่น่าจะสนใจ เพราะโกแกงเป็นนักธุรกิจมาก่อน ค่อนข้างมีเงินอยู่แล้ว
ภาพ Bedroom in Arles (1888) วาดในช่วงที่แวน โก๊ะกับโกแกงอยู่ด้วยกัน มีความ “ของคู่” แบบว่าหมอนคู่บนเตียง เก้าอี้คู่ 555 จนมีการแซว ๆ ว่าเอ๊ะ พี่แวน โก๊ะของเราเค้าเปี๊ยนไป๋หรือปล่าวนะ ในภาพนี้ก็จะเห็นความ Perspective ที่ไม่ Perspective รวมทั้งความเรียบง่าย อิทธิพลของ Japanism ได้อย่างเด่นชัด
Bedroom in Arles (1888) Vincent Van Gogh
ความกุ๊กกิ๊กไม่จบแค่ภาพเดียว 555 มีภาพเก้าอี้เธอ เก้าอี้ฉันด้วย
Van Gogh’s Chair (1888) และ Paul Gauguin’s Armchair (1888)
Van Gogh’s Chair (1888) และ Paul Gauguin’s Armchair (1888)
คือแวนโก๊ะดีใจมากที่โกแกงมาอยู่ด้วย ได้สร้าง community กัน (โกแกงรู้จัก Theo ด้วย) เก้าอี้ 2 ตัวนี้ (2 ภาพ) สะท้อนอะไรหลายอย่าง นอกจาก “ลายมือ” ที่เริมเปลี่ยนไปของแวนโก๊ะ (ทุกอย่างเริ่มบิดเบี้ยว ไม่สนใจ Form) องค์ประกอบของภาพยังสะท้อนถึงตัวตนของเจ้าของเก้าอี้ที่ “ต่างกัน” อย่างเห็นได้ชัด
ภาพนึงเรียบง่ายสมถะ พื้นกระเบื้องโง่ ๆ ในขณะที่อีกภาพ ... เก้าอี้โกแกงอยู่ในบรรยากาศที่หรูหราฟู่ฟ่ากว่า มีพื้นพรม เชิงเทียน ตะกงตะเกียงรัยงี้ นี่อาจจะเป็นสาเหตุที่ตีกัน อยู่ด้วยกันไม่ได้ และสร้าง Community ไม่สำเร็จในที่สุด
คิดว่าโกแกงจะค่อนข้าง Dominate ด้วยเพราะเหนือกว่าทุกด้าน รวยกว่า ประสบความสำเร็จมากกว่า ราศีจับ จีบสาวก็ติดมากกว่าว่างั้น (แวนโก๊ะเคยตัดพ้อเรื่องโกแกงจีบหญิงติดตลอด ๆ ไว้ด้วย 555)
มีภาพที่ทั้งสองคนวาดกันและกันด้วยนะ มุ้งมิ้งแท้ ... แวนโก๊ะวาดโกแกง (Portrait of Gauguin, 1888) และโกแกงก็วาด Van Gogh ในภาพ Vincent van Gogh Painting Sunflowers (1888)
Portrait of Gauguin (1888) by Vincent Van Gogh
Vincent van Gogh Painting Sunflowers (1888) by Gauguin
ชวนชมภาพในช่วงนี้ของ Van Gogh กันนะคะ ภาพที่ได้อิทธิพลของ Impressionism ผสานกับ Japanism วาดด้วยอารมณ์ความรู้สึก ใช้ฝีแปรงที่รวดเร็ว ใช้สีจัดตัดกันแบบคู่ตรงข้าม แต่มีความชาญฉลาดในการทำให้ Harmonized ได้ด้วยการใช้สีกลางมาผสาน
The Night Café (1888)
The Night Café (1888) Vincent Van Gogh
Café Terrace at Night (1888) ภาพนี้แม้เป็นกลางคืนแต่ Van Gogh ยังสามารถใช้สีเหลืองสดเบอร์นี้อยู่ในภาพได้อย่างไม่โดด อัจฉริยะที่แท้ทรู เราเชื่อได้ว่ามันเป็นบรรยากาศ Café’ ท่ามกลางแสงไฟ ... และการใช้สีเดียวกันแต้มเป็น Perspective เข้าไปยิ่งทำให้ภาพมี Harmony และในขณะเดียวกันก็มีมิติมากขึ้นไปอีก ... เทพจริงเทพจัง
Café Terrace at Night (1888) Vincent Van Gogh
ตลอดชีวิตของ Van Gogh มีภาพเดียวที่ขายได้ในขณะที่ตัวพี่โก๊ะเองยังมีชีวิตอยู่คือภาพ The Red Vineyard (1888) ขายได้ราคาด้วยนะทุกคนถ้าเทียบเป็นเงินสมัยนี้ก็ได้ประมาณ 60,000 เลยทีเดียว เสียดายที่เป็นช่วงปลายของชีวิตพี่เค้าแล้ว อีกประมาณปีนึงต่อมาพี่โก๊ะก็จบชีวิตตัวเองลง
The Red Vineyard (1888) Vincent Van Gogh
รูปนี้ Van Goh ใช้สีสนุกมาก ทุกอย่างถูกลดทอนจนแทบไม่เหลือ Form อะไรแล้ว คนก็เป็นฝีแปรงปัด ๆ ปาด ๆ ให้เป็นเป็นสัณฐานโครงสร้างเท่านั้นเอง สิ่งหนึ่งที่เด่นและ Van Goh เน้นมากในภาพช่วงหลัง ๆ คือดวงตะวัน (และดอกทานตะวัน) เพราะดวงตะวันให้ “แสง” ซึ่งทำให้ “สี” ของพี่โก๊ะมี “ความหมาย” ดวงตะวันในภาพจึงมักถูกเน้นให้ใหญ่กว่าปกติเช่นในภาพนี้
คุณเอ๋ตีความว่าสีเหลืองน่าจะเป็นแสงสว่างในจิตใจ เป็นสัญลักษณ์ของความหวังในชีวิตที่ Van Gogh มองหา ในภาพของ Van Gogh จึงมีสีเหลือง พระอาทิตย์ หรือดอกทานตะวันอยู่เสมอ แม้แต่ในภาพกลางคืนสีเหลืองก็ยังเป็นแสงไฟในภาพและกินพื้นที่มากกว่าสีน้ำเงินของยามราตรีด้วยซ้ำ
ต่อมาที่ภาพ The Sower (After Millet) 1988 ยิ่งเมามันหนักกันเข้าไปใหญ่ เทคนิคแพรวพราววววว ...
The Sower (After Millet) 1988 Vincent Van Gogh
- เทคนิคการลงสีของรูปนี้ได้อิทธิพลมาจากศิลปิน Pointillism ที่ Van Gogh มีโอกาสได้เจอ นั่นคือคุณพี่ Georges Seurat (งาน Pointillism คือการใช้วิธีจุดสี การทำงานต้องถอยออกมาให้มีระยะแล้วดูจึงจะเห็นภาพรวม)
- ดวงอาทิตย์ในภาพนี้รัศมีเป็นกราฟฟิกซึ่งไม่ใช่วิถีของงานตะวันตก แต่เป็นการมองแบบตะวันออก โดยเฉพาะในงานศิลปะญี่ปุ่นซึ่งจะมองทุกอย่างออกมาเป็น Block เป็น Form เป็นเส้น เป็น Graphic
- การให้สีของภาพนี้มหัศจรรย์มาก Van Gogh ยังคงใช้คู่สีตรงข้ามคือฟ้า - เหลืองได้แบบมี Harmony แล้วฟ้าคือไม่ใช่ฟ้าเพลน ๆ นะเว้ยเฮ้ยทุกคน คือมันมีเฉดตั่งต่างผสมกันมากมายแต่มององค์รวมแล้วเป็นทุ่งดอกไม้สีฟ้าอ่ะ สีเหลืองก็เช่นกันผสมกันไปมากลายเป็นทุ่งข้าวและท้องฟ้ายามอัสดงมีพระอาทิตย์เป็นไข่ดาวตรงกลาง ...งิ)
และการแทรกสีเหลืองลงมาในสีฟ้าซึ่งเป็นสีหลักของภาพก็ทำให้ภาพมีความกลมกลืนไปกันได้ตามสไตล์พี่เค้า ที่เทพมากคือการใช้สีฟ้าไปแต้มเป็นบ้านและทิวเขาบนแนว Horizon สีเหลืองทำให้เกิดความลึกกกกกก...ของ Perspective ในภาพขึ้นมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ (ใด ๆ คือสีแม่งละเอียดแทรกกันไปมา แบ่บ ... โอ้ยยยย จะขยันผสม ขยันลงสีไปไหน๊ 555)
คุณเอ๋บอกว่าเข้าใจละว่าทำไมเวลาดูงานศิลปะต้องมีคนบรรยาย 555 เพราะถ้าเราไม่รู้อิโหน่อินกอะไรที่ไหนเลย เราจะรู้สึกว่าวาดอิหยังวะ หยั่งกะเด็กวาด 555 แต่นี่คือเสน่ห์ของงาน Van Gogh ค่ะ มันมีความอิสระ ไม่มีกรอบอ่ะ อยากทำอะไร เอาเทคนิคไหนมาผสมกันก็ซัดเลย สนุกพี่เค้าแหละ อย่างพระอาทิตย์ที่พูดนี่น่ะทุกคนมันเหมือนเด็กวาดจริง ๆ นะ 555 คือวาดตรงกลางกลม ๆ แล้วมีแฉก ๆ (แต่แน่นอนว่าการให้สีเด็กทำไม่ได้เบอร์นี้หรอกนะฮะ)
ภาพต่อไป Avant-guard ขั้นสุดฮะ (คือมันจะสุดขึ้นเรื่อย ๆ พีคขึ้นเรื่อย ๆ ว่างั้นเถอะ 555) ภาพ Memory of the Garden at Etten (Ladies of Arles) (1888) ชิ้นนี้แทบจะระบุไม่ได้ว่าเป็นแนวไหนกันเลยทีเดียว “หลุด” มาก คือหลุดทั้งจากแนวศิลปะทุกแนว และหลุดจากแนวตัวเองด้วย 555 น่าจะเป็นการทดลองของพี่เค้าแหละ มีทั้งจุดแบบ Pointillism ทั้งฝีแปรงเร็ว ๆ สีแรง ๆ แบบ Impressionism ... อาจจะเรียกได้ว่าเป็น Modern Arts คือไม่เข้าพวกอะไรกะใครเค้าเลย 555
Memory of the Garden at Etten (Ladies of Arles) (1888) Vincent Van Gogh
คุณเอ๋เสริมว่ามันผสมกันหลายสิ่งติงจริง ๆ นะ แบบว่าด้านหน้ามีดอกไม้ที่กึ่ง ๆ จะสมจริงเหมือนรูปแบบของ Dutch Flower Painting แต่มันก็ไม่สมจริงซะทีเดียว ในขณะที่ส่วนอื่น ๆ ของภาพแบนแทบจะเป็น Graphic ครั้นจะดู Perspective ก็บิด ๆ เบี้ยว ๆ เพี้ยน ๆ ไหนจะมีสนไซเปรสที่ตัวเองชอบวาดใส่เข้ามาอีก
แล้วยังมีคนคิดว่าผู้หญิงคนซ้ายสุดในภาพอาจจะเป็นเซียงด้วยนะ ... คือเรียกว่าชอบอะไร อยากลองอะไร คิดถึงอะไรก็ใส่ ๆ มันเข้าไปให้หมดว่างั้นเหอะ ... แต่ด้วยความเทพอ่ะนะ ผสมกันขนาดนี้ภาพก็ยังออกมาสวยและน่าสนใจมากๆ อยู่ดี 😊
ไปต่อค่ะ ... เราเดินมาถึงรูปที่ดังเปรี้ยงปร้างที่สุดอีกรูปหนึ่งของ Van Gogh ค่ะ คือใครไม่รู้จักก็ต้องเคยเห็นแหละ เพราะมีคนเอาไปใช้เยอะแยะมากกกกก นั่นคือภาพ Starry Night Over the Rhone (1888) นั่นเองค่ะ
ภาพ Starry Night นี่มันมี 2 ภาพนะคะ ภาพแรกคือฟ้าพร่างดาวเหนือแม่น้ำ ส่วนภาพที่ 2 ซึ่งดังกว่าภาพแรกจะชื่อ Starry Night เฉย ๆ เลย เป็นภาพที่ Van Gogh มองออกมาจากหน้าต่างโรงพยาบาลซึ่งอยู่บนเนินเข้าก็จะเป็นท้องฟ้าพร่างดาวเหนือหมู่บ้าน ที่ท้องฟ้าจะมีความแปรปรวนของบรรยากาศ น่าจะเหมือนสภาพจิตใจของแวนโก๊ะตอนนั้นที่ค่อนข้างขึ้นลงรุนแรงแหละเนอะ
สำหรับภาพ Starry Night Over the Rhone พี่แวนโก๊ะใช้คู่สีที่สวยมาก อาจารย์ตุ้ยบอกว่าการที่จะตกผลึกออกมาเป็นคู่สีในแต่ละภาพได้แบบนี้ต้องผ่านกระบวนการคิด การตกผลึกภายในมาอย่างเยอะนะคะ เป็นกระบวนการที่เรียกว่า Internalized ค่ะ ซึ่งไม่สามารถเลียนแบบกันได้
Starry Night Over the Rhone (1888) Vincent Van Gogh
มันเหมือนจะง่ายคือเป็นการใช้คู่สีตรงข้ามตามทฤษฎีเป๊ะ ๆ (คือตามอัตราส่วน 80/20) ผืนน้ำและท้องฟ้าโทนน้ำเงิน ตัดกับสีเหลืองของแสงดาวที่พราวพร่างฟ้าและแสงไฟจากบ้านเรือนที่สะท้อนลงบนผืนน้ำ แสงที่สะท้อนจากบ้านเรือนลงบนผืนน้ำนี่เองค่ะเป็นส่วนที่สร้าง Harmony ให้กับภาพนี้ คือมันดูง่ายๆ นะคะ แต่การจะทำให้ความเรียบง่ายออกมางดงามแตะใจคนแบบนี้นี่แหละ ที่ต้องผ่านการคิดและตกลงกับตัวเองมาเยอะ ๆ
อาจารย์ตุ้ยบอกว่าน่าจะเป็นอิทธิพลมาจากที่ Van Gogh ชื่นชมความเรียบง่ายของศิลปะญี่ปุ่น ที่ศิลปินใช้เพียงไม่กี่ Stroke ก็ออกมาเป็นภาพที่ทรงพลังได้ มันเรียบง่ายแต่เต็มไปด้วยความหมาย “Simple but meaningful”
พอเอาภาพมาเรียง ๆ กันจะเห็นว่าแวนโก๊ะชอบวาดภาพยามค่ำคืน สำหรับเค้าแล้วเวลากลางคืนมันมีชีวิตชีวาและมีสีสันมากกว่าเวลากลางวัน แล้วนี่ก็น่าจะเป็นการเก็บบันทึกภาพ “ชีวิตคนในเมือง” ของพี่เค้าด้วยค่ะ (คือคนเมืองชอบใช้ชีวิตราตรี หรือชีวิตราตรีในเมืองมันน่าสนใจก็ไม่รู้นะคะ แต่ก็แสดงว่า Vann Gogh เองเก๊าะเป็นบุรุษราตรีสิเนาะ ฮรี่
คุณเอ๋เสริมอาจารย์ไว้ตอนที่คุยเรื่องภาพ The Night Café ตอนแรกเบ็นว่าจะ Skip ไป แต่มาเอาเล่าตรงนี้ดีกว่าจังหวะเหมาะ 555 คือพี่โก๊ะเค้ายังสนใจเรื่องศาสนาเรื่องถูกผิดชั่วดีอยู่นะคะ เค้าคิดว่าคนที่ใช้ชีวิตกินเหล้าจนดึกดื่นอะไรแบบนี้ในที่สุดก็จะจมอยู่ในห้วงทุกข์ คนในภาพนั้นเลย reflect อารมณ์หม่น ๆ พลอยให้ทั้งภาพหม่นไปด้วยอย่างไม่น่าเชื่อทั้งที่เป็นภาพในสีโทนร้อน ... รึมันจะแทนสัญลักษณ์ไฟนรกในใจของคนในภาพก็ไม่รู้นะคะ ... อันนี้เบ็นคิดไปเอง 555 )
ภาพต่อไปถึงเรื่องสยอง 2 บรรทัดฮะ ...
หูพี่เค้า...
แหว่งแว้ววววววว
ภาพ Self-Portrait with Bandaged Ear and Pipe (1889) มีเรื่องเล่าว่าหลังจากทะเลากะคู่หู่คู่จิ้น...พี่โกแกง วันสุดท้ายที่อยู่ด้วยกัน โกแกงบอกว่าแวนโก๊ะถือมีดโกนขึ้นมาจะทำร้ายตัวเอง โกแกงเลยวิ่งหนีออกมาแล้วไม่กลับไปอีกเลย พี่แวนของเราเลยเฉือนติ่งหูตัวเองสังเวย โดยเอาชิ้นส่วนที่ตัดออกมาไปให้โสเภณี (เพื่อออออ ... อันนี้เราก็ไม่เข้าใจ คนที่ได้รับจะรู้สึกยังงัยว้า)
คืออารมณ์แปรปรวนรุนแรงขั้นสุดละ ผิดหวังรุนแรง เสียงใจรุนแรง เริ่มมีการทำร้ายตัวเอง แต่ด้วยความเป็นศิลปินก็ยังสามารถถ่ายเทอารมณ์ความรู้สึกออกมาเป็นงานศิลปะได้ ภาพ Self-Portrait with Bandaged Ear and Pipe (1889) ก็เป็นงานที่ Modern มาก ใช้คู่สีตรงข้าม (เขียวแดง) แบบ 50/50 แล้วใช้สี Neutral (ดำ) มาช่วยเบรค
Self-Portrait with Bandaged Ear and Pipe (1889) Vincent Van Gogh
คุณเอ๋เสริมเรื่องทฤษฎีติ่งหูของพี่แวนโก๊ะให้ฟังค่ะ ตื่นเต้นเร้าใจและสร้างปริศนาไปได้อีก คือมีคนเล่าว่าที่จริงโกแกงเก็บกระเป๋าออกจากบ้านแวนโก๊ะแล้ว ก่อนจากไปก็หันกลับมาดู เห็นแวนโก๊ะถือมีดโกนอยู่ที่หน้าต่าง ไม่รู้จะสื่ออะไร แต่โกแกงไม่สนใจยังคงเดินจากไป แวนโก๊ะกลับไปในห้องแล้วเฉือนติ่งหูตัวเอง ถึงจะเอาผ้ามาซับแต่เลือดก็ไหลออกมาไม่หยุด จนแวนโก๊ะสลบไป มีคนมาเจอเลยเรียกตำรวจมาพาตัวส่งโรงพยาบาล (นึกถึงซีนหนัง Thriller เลยอ่ะ)
อีกทฤษฎีตั้งตำถามว่าหรือโกแกงต่างหากที่เป็นคนเฉือนติ่งหูแวนโก๊ะ (ง่า...ไหวไหม) คนที่จะตอบเราได้ก็จากเราไปหมดแล้วว่าใครเฉือนกันแน่ 555 แต่คนส่วนใหญ่น่าจะเชื่อทฤษฎีแรกมากกว่า มันดูเข้ากะแนวโน้มสภาพจิตพี่เค้าอ่ะเนอะ (ถ้าพี่โกแกงเป็นคนเฉือนนี่คือ จิตซ้อนจิตเลยนะ ... โง้ยยยย ไหวหม๊ายยยย)
ว่าแล้วแวนโก๊ะก็วาดตัวเองในเวอร์ชั่นกำพร้าติ่งหูอีกภาพแบบไม่คาบไปป์ Self-Portrait with Bandaged Ear (1889) ภาพนี้ Amazing มากเรื่องการใช้สี (คือใช้เปลืองมาก 555 เอ๊ย ไม่ใช่สิ ถึงแม้ว่าจะเป็นความจริงก็ตาม อาจารย์ตุ้ยแซวว่าถ้าอาจารย์เป็น Theo คงอยากร้องให้ เพราะพี่โก๊ะหนักมือมาก แค่หน้าอยากเดียวก็หมดสีเป็นหลอดๆๆๆๆ ถ้าไปดูภาพของจริงจะเห็นว่าสีมันนูนออกมาเลย ... ยิ่งช่วงท้ายของชีวิตแวนโก๊ะยิ่งใช้สีหนักมาก)
Self-Portrait with Bandaged Ear (1889) Vincent Van Gogh
ที่ว่า Amazing มาเรื่องการใช้สีก็คือภาพนี้เฉพาะที่หน้าแทบก็จะมีทุกเฉดสีมาผสมกันแล้วออกมา Harmonized ได้ มีการดึงเอาสีเขียวของเสื้อ สีส้มของผนังมาอยู่ในเนื้อในหนังหน้า... เอาก็พี่เค้าสิ คนมันจะเทพอ่ะเนาะ
หลังจากนี้จะเริ่มเข้าสู่ช่วง Turbulence นะฮะ Van Gogh จะใช้เทคนิค (ฝีแปรง) แบบนี้ (คือดูปั่นป่วน...แปรปรวน) มากขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ เริ่มกันที่ภาพนี้ Olive Trees with the Alpilles in the Background 1889 ซึ่งเป็นภาพที่ใช้ Blue Theme (คือไม่ได้เล่นคู่สีตรงข้ามเหมือนภาพก่อน ๆ ที่เราดูผ่านมาค่ะ) ทั้งภาพเป็น Turbulence หมดเลยไม่ว่าจะต้นไม้ ภูเขา ท้องฟ้าเมฆ ภาพออกมาหล่อ เท่ เก๋ เดิ้นมาก ๆ ค่ะ
Olive Trees with the Alpilles in the Background (1889) Vincent Van Gogh
อาจารย์เพิ่มเติมว่าภาพนี้ต้นไม้เหมือนบอนไซญี่ปุ่น เลยทำให้คิดไปถึงสวนญี่ปุ่น คุณเอ๋บอกว่าเมฆก็ดูจี๊นจีนญี่ปุ๊นญี่ปุ่นเช่นกัน ... ก็คงเป็นอิทธิพลของงานญี่ปุ่นที่พี่เค้าหลงรักนั่นแหละเนาะ
(หรือมันจะมี Meaning มากกว่านั้นก็ไม่ทราบนะคะ อย่างเช่นพี่โก๊ะอาจจะนึกถึงสวนญี่ปุ่นที่ทำให้ใจสงบสบาย หรือ Bonsai ที่ต้องถูกดัดถูกบังคับให้ฟอร์มต้องเป็นตามแบบเป๊ะ ๆ ถึงจะเรียกว่าสวย ... อาจจะเป็นสัญลักษณ์ของขนบจารีตหรือกรอบของสังคมที่ทำให้พี่เค้าเกิด Turbulence อันนี้เบ็นคิดเอาเองค่ะ 55) อ่ะ ... ก็แล้วแต่จะเห็น จะจิ้น จะตีความกันไปเนาะ แต่ที่แน่ ๆ คือมันสวยค่ะ 😊
11.
Artistic Breakthrough: Turbulence and Therapy
ช่วงสุดท้ายของชีวิต Van Gogh ต้องเข้าไปอยู่ในโรงพยาบาล เรียกแบบชาวบ้าน ๆ ก็คือโรงพยาบาลบ้า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ Van Gogh ถูกล้อเลียนมาตลอดชีวิตเลย (น่าสงสารอ่า) ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นเค้ามักจะถูกล้อ ถูกเรียกว่าเป็นคนบ้าเพราะทำอะไรไม่เหมือนมนุษย์มนาเค้า ในที่สุดหลาย ๆ อย่างที่เค้าพบเจอในชีวิตก็ทำให้เค้ามีปัญหาทางจิตใจและถูกส่งเข้ามารักษาในโรงพยาบาลจริง ๆ
ที่นี่ช่วงแรก ๆ Van Gogh ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำอะไรมากนัก จากนั้นเมื่อได้รับอนุญาตเค้าก็วาดสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวที่เค้าเห็น ไม่ว่าจะแปลงดอกไม้ที่เค้าพอจะมองเห็นจากหน้าต่างในภาพ The Courtyard of the Hospital at Arles (1889) หรือเพื่อน ๆ และผู้คนรอบ ๆ ตัวในภาพ Ward in the Hospital in Arles (1889) แวนโก๊ะรู้สึกว่าผู้คนเหล่านี้เป็นเพื่อนไม่ได้มีอะไรผิดแปลก ก็เหมือนตอนที่เค้าไปอยู่กับคนยากคนจนในช่วงวัยรุ่น เค้าก็เก็บภาพชีวิตเหล่านั้นไว้ในงานของตัวเอง
The Courtyard of the Hospital at Arles (1889) Vincent Van Gogh
Ward in the Hospital in Arles (1889) Vincent Van Gogh
ตลอดชีวิตของ Van Gogh เค้าไม่ค่อยได้วาดภาพเกี่ยวกับศาสนาตรง ๆ นะคะ ถึงแม้ว่าจะมีความศรัทธาในศาสนามากก็ตาม Pieta (After Eugene Delacroix) (1889) เป็นหนึ่งในภาพนั้นซึ่งเค้าวาดไว้ในช่วงที่เค้าอยู่ในโรงพยาบาลนี่เองค่ะ คงมี “แว้บ” เข้ามาในหัวนะคะ
Pieta (After Eugene Delacroix) (1889) Vincent Van Gogh
โรงพยาบาลสุดท้ายที่ Van Gogh มีชีวิตอยู่คือโรงพยาบาล Saint-Paul ที่ Saint-Remy ค่ะ Theo เป็นคนยืนยัน (เรียกว่า “ไฝว้” น่าจะถูกกว่า) Theo ไฝว้กับโรงพยาบาลว่าการที่จะช่วยพี่ชายของตัวเองมีทางเดียวคือการวาดรูป จนในที่สุด Van Gogh ก็ได้รับอนุญาตให้วาดรูป รูปแรกที่ Van Gogh วาดจาก Courtyard ของโรงพยาบาลกลายเป็น Masterpiece ที่มีชื่อเสียงมาก นั่นคือภาพ Irises (1889)
Irises (1889) Vincent Van Gogh
และอีกรูปที่โด่งดังสุดๆ Van Gogh ก็วาดไว้ในช่วงนี้เช่นกัน นั่นคือภาพ The Starry Night (1889) เป็นภาพที่ Van Gogh เห็นจากหน้าต่างของห้องพักในโรงพยาบาล ภาพคืนหนึ่งที่ท้องฟ้าพร่างพราวไปด้วยดวงดาว แน่นอนว่าแวนโก๊ะเพิ่ม Element ที่ตัวเองสนใจลงไปด้วย Foreground เงาต้นสนในภาพมีความ Japanism สูงมาก ... และมีคนตั้งข้อสังเกตว่าในใจกลางภาพมีโบสถ์อยู่ด้วย Van Gogh อาจจมดิ่งย้อนกลับไปถึงวัยเด็กของตัวเองก็ได้นะคะ
Starry Night (1889) Vincent Van Gogh
ความพิเศษของรูปนี้คือ...
- ฝีแปรงที่ Turbulence ใช้ Stroke เร็วๆ แสดงถึงความมั่นใจในการใช้ฝีแปรงในขณะเดียวกันก็อาจสะท้อนสภาวะจิตใจที่ปั่นป่วนของเค้าอยู๋ด้วย
- การใช้คู่สีตรงข้ามน้ำเงินเหลืองที่ดูจะกลายเป็นหนึ่งใน Signature ของ Van Gogh ไปแล้ว
- การ Harmonize สีในภาพ ภาพนี้น้ำเงินกับเหลืองไม่ชนกันจัง ๆ เพราะ Van Gogh ใช้วิธีเฟดรัศมีของดวงดาวจากเหลืองไปขาวแล้วม้วนหายเข้าไปในสีฟ้า ... สวยมากกกก
- มีระยะ Perspective ที่เกิดจากการให้น้ำหนักสีของบ้านเรือน ทิวเขา ท้องฟ้า
- มีความเป็น Japanism ด้วยการตัดเส้นแบบญี่ปุ่นนิยม (คือการที่ทุกอย่างต้องมีกรอบร่างชัดเจน 😊) มีคนเอาภาพนี้ไปเทียบกับ The Great Wave ของ Katsushika Hokusai มีความเห็นอิทธิพลต่อภาพ The Starry Night อย่างชัดเจน ... เหมือนมาจากภาพเดียวกัน
The Great Wave by Katsushika Hokusai
ภาพ Starry Night ได้รับอิทธิพลจาก The Great Wave ของ Katsushika Hokusai
จนมีคนทำแบบนั้นจริงๆ 555 คือมีคนถึงขั้นเอาไป Merge เป็นภาพเดียวกัน แล้วมันก็ออกมา Amazing มากค่ะ มันอยู่ด้วยกันได้อย่างเนียนเลย สวยมากๆ ด้วย 😊 (The Great Starry Wave Of Kanagawa by csquaredisrippn on DeviantArt)
The Great Starry Wave Of Kanagawa by csquaredisrippn on DeviantArt
และเมื่อออกไปไหนไม่ได้ Van Gogh ก็ไม่มีวัตถุดิบที่จะสร้างสรรค์งาน งานในช่วงท้าย ๆ Van Gogh จึงใช้งานของศิลปินคนอื่น ๆ มาเป็นต้นแบบในการตีความต่อขยายออกมาเป็นงานของตนเอง เช่นภาพ The Prison Courtyard หรือ Prisoners' Round, (After Gustave Doré) (1889) ภาพนี้วาดตามภาพแกะสลักไม้ของ Dore’ และมีอิทธิพลมาจากงานของคนอื่น ๆ ด้วย ทั้งโกแกง เรมบรันด์ เดอลาครัวซ์ และโดมิเยร์
Prisoners' Round, (After Gustave Doré) (1889) Vincent Van Gogh
ในแง่ของเทคนิค ภาพนี้เป็นภาพที่มีมิติความลึกหรือ Perspective ชัดเจนสมจริง Van Gogh ให้แสงเงาไว้สวยงามมาก อาจจะมากที่สุดในบรรดาภาพวาดทั้งหมดของ Van Gogh เพราะปกติภาพของ Van Gogh จะไม่เน้นแสงเงาสมจริงแบบนี้ โทนสีในภาพยังคงเป็นโทนสียอดนิยมของตัวเองคือส้มฟ้าและมีการ Harmonize โดยใช้วิธีหย่อนสีตรงข้ามมาในพื้นที่ของอีกสี ทำให้ภาพรวมมีความ “กลม”
ในแง่ของเนื้อหาภาพนี้เป็นภาพหมู่คนคุกเดินออกกำลังวนกันเป็นวงกลมในพื้นที่แคบ ๆ โดย Van Gogh ใส่ตัวเองไว้ในภาพนี้ด้วย มีการตีความว่าพี่เค้าอาจจะหมายถึงชีวิตหรือสภาพจิตใจของตัวเองที่ถูกจำกัด กักขัง ต้องวนเวียนอยู่แบบนี้ ไม่มีทางออก ไม่มีทางไป
ช่วงนี้น่าจะเป็นช่วงที่ Van Gogh สนใจงานภาพพิมพ์ Wood Cut มาก ๆ ด้วย เพราะนอกจากจะเอามาเป็นต้นแบบแล้ว ยังเริ่มมีเริ่มมีการใช้เทคนิคเพื่อ “เลียน” ลักษณะของการทิ้งรอยไว้บนภาพแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของงานภาพพิมพ์ไม้ด้วย เช่นในภาพ Wheat Field in the rain (1889)
Wheat Field in the rain (1889)  Vincent Van Gogh
ซึ่งก็นะวัตถุดิบมีน้อยแหละ พอวาดอะไรพี่เค้าก็วาดมันออกมาเป็นซีรีย์เลย ใน Series Wheat Field นี้ วาด ๆ ไปก็พัฒนาเทคนิคลองโน่นนี่ไปเรื่อย ๆ
อย่างในภาพชื่อ Wheat Fields (1889) Van Gogh ก็พัฒนาเทคนิคไปอีก เป็นการใช้ Painting ผสมกับ Pointillism โดยลงพื้นเป็นท้องทุ่งสีเหลืองและท้องฟ้าสีน้ำเงินก่อน (บอกแล้วว่าคู่สี Contrast คู่นี้เป็นคู่สีในดวงใจ พี่เค้าไม่เคยทิ้งคู่สีนี้เลยจริง ๆ) พอลงพื้นเรียบร้อย ซึ่งภาพนี้อัตราส่วนที่ใช้มีความกระโชกโฮกฮากมาก 555 คือเกือบจะ 60/40 ... ถ้าไม่หาอะไรมาเบรคมันก็จะอยู่ด้วยกันยาก
Van Gogh ลดความ Contrast โดยใช้พู่กันแต้มสีขาวเป็นขีด ๆ ไปทั่วทั้งภาพ ... กลายเป็น Harmony ใหม่ ... สองสีที่ตรงข้ามกันสุดขั้วสามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างสวยงาม ที่สำคัญคือภาพนี้จะเห็น Character ของงาน Woodcut ที่เห็น “เส้น” ชัด ๆ อย่างชัดเจนมาก
Wheat Fields (1889) Vincent Van Gogh
คุณเอ๋ตั้งข้อสังเกตหลังจากดูงานมาหลายสิบภาพว่า Van Gogh น่าจะได้อีกอิทธิพลมาจากงานและแนวคิดแบบตะวันออก นั่นคือแนวคิดที่ว่าธรรมชาติยิ่งใหญ่ มนุษย์นั้น “เล็กจ้อย” เพราะเค้ามักจะซ่อนบ้านหลังเล็ก ๆ ไว้ในสักมุมหนึ่งของภาพเสมอ
Enclosed Wheat Field with rising sun (1889) เป็นภาพที่ Van Gogh ลองเทคนิคใหม่อีกคือใช้ลินสีดเยอะ (ตัวทำละลายสี) ทำให้ไม่เห็น Stroke คล้าย ๆ เทคนิคของเซซาน การใช้สีไม่แคร์สีจริงในธรรมชาติ Van Gogh แทนค่าสีที่ตัวเองชอบลงไป (เช่นถนนกลายเป็นสีน้ำเงิน) perspective ก็บิดเบี้ยวตามอำเภอใจ
Enclosed Wheat Field with rising sun (1889) Vincent Van Gogh
ชีวิตในโรงพยาบาลของ Van Gogh เรียกได้ว่า Productive มาก สิริรวมแล้วพี่โก๊ะวาดภาพไปถึง 150 ภาพใน Studio จำแลงแห่งนี้ ท่ามกลางคนบ้า 42 คนที่กรีดร้องตลอดเวลา เสียงแว่วในหู และอารมณ์แปรปรวนของตัวเองแวนโก๊ะใช้เวลามากกว่า 75% ในการวาดรูป อาจารย์บอกว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่พี่โก๊ะของเราสุขภาพดีที่สุด เพราะได้รับการดูแลอย่างดี ไม่ได้รับอนุญาตให้ดื่มเหล้า ไม่มีเรื่องผู้หญิง ถ้าไม่ต้องออกจากที่นี่พี่โก๊ะเราอาจจะชีวิตยืนยาวกว่านี้เนาะ
แต่เมื่อบำบัดไปถึงจุดนึงพี่โก๊ะก็ต้องออกมาและย้ายโรงพยาบาล ที่รพ. ใหม่แวนโก๊ะบอกว่าหมอดูป่วยกว่าตัวพี่โก๊ะเองอีก 555 ดูจากภาพ Portrait of Dr Gachet (1890) แล้วก็... นะ ... เออ หมอดูป่วยจริง 555 (หมอไม่รู้ความในใจ Van Gogh เลยประทับใจมากที่พี่โก๊ะวาดรูปให้ ขอบอก 555) ภาพนี้เป็นภาพที่ได้รับการประมูลไปเป็นมูลค่าที่สูงที่สุดในโลกนะคะ 150 ล้าน USD หรืองัยนี่แหละ หูววววว ...
Portrait of Dr Gachet (1890) Vincent Van Gogh
ในภาพนี้ Van Gogh ใช่เทคนิค … เบ็นขอเรียกว่าเทคนิค “เลียนแบบภาพพิมพ์” ละกันนะคะ เค้าพัฒนาเทคนิคขึ้นตั้งแต่ในภาพก่อนโน้นถ้ายังจำกันได้ (ภาพ Wheat Field อ่ะค่ะ) (อาจารย์บอกว่าที่เรียงภาพให้เราดูกันตามลำดับเดือนปีที่วาดก็เพื่อให้เราได้เห็นถึงพัฒนาการของศิลปินนั่นเองค่ะ ... เก๋กู้ดดดด)
ความป่วยของคุณหมอ 555 แสดงออกผ่านเส้นบนใบหน้า เสื้อผ้า และองค์ประกอบต่าง ๆ ในภาพที่บิดเบี้ยวไปทั้งหมดเลย ดอกไม้ก็ดูหงิก ๆ เหี่ยว ๆ ใบไม้ยังเป็น Shape เดียวกะหน้าหมอ 555 ไม่รู้หมอป่วยจริงหรือโดนศิลปินแกงกันแน่นะคะเนี่ยยยย
คุณเอ๋เสริมว่าในหนังสือบอกว่ามือซ้ายที่วางอยู่ใกล้ใบไม้รูปหัวใจเป็นสัญลักษณ์บอกว่าหมอเป็นแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางโรคหัวใจ (เดี๋ยวววนะ ... รูปหัวใจนี่มันเริ่มสมัยไหนนะ มันใช่ใช่มะ 55)
ภาพต่อมาคือภาพ Two Peasant Women Digging in a snow-covered Field at sunset (After Millet) (1890) เป็นภาพที่ “ขยุม” รวม (ศัพท์คุณเอ๋ค่ะ ชอบมาก เห็นภาพสุด ๆ 555) ขยุมรวมทุกอิทธิพลทุกความสนใจของ Van Gogh
- ทั้งโทนสีฟ้าเขียวแซมเหลือง (ซึ่งสวยสะพรึงมากค่า)
- องค์ประกอบที่มีบ้าน ทุ่งนา ท้องฟ้า พระอาทิตย์
- Turbulence Sky
- ภาพชาวนาจาก Millet
- Japanism of Graphic-like ลดทอนคนเหลือแค่ Shape ความไม่ต้องสมจริงตั่งต่าง
Two Peasant Women Digging in a snow-covered Field at sunset (After Millet) (1890) Vincent Van Gogh
หนัก ๆ เข้าไม่รู้จะวาดตามใครแระ ก็แงะภาพ Sketch เก่า ๆ ตัวเองขึ้นมาวาดใหม่ ภาพ Sorrowing Old Man (At Eternity’s Gate) เป็นการวาดตาม Sketch ที่พี่โก๊ะเองวาดไว้ในปี 1882 แล้วลงสี ... ก็นะฮะไม่ต้องพิสูจน์ ... จะสีอะไรถ้าไม่ใช่ฟ้าส้มเหลือง ... (มีคนบอกว่ามันน่าจะสะท้อนจิตใจเค้าคือ Blue เท่ากับความหม่นเศร้า และส้มเหลืองคือความหวัง คือพลังคือความสดใส อันนี้หมายถึงโดยทั่ว ๆ ไปนะฮะ ไม่ใช่ในภาพนี้ เวลาวาดภาพพี่โก๊ะเลยแทนทุกสีด้วย 2 สีนี้เป็นหลัก)
Sorrowing Old Man (At Eternity’s Gate) Vincent Van Gogh
ภาพต่อมา The Church at Auvers (1890) แสดงให้เห็นว่า Van Gogh หลุดไปแล้ว เป็นอิสระ สนุกกับการใช้สีและทดลองเทคนิคมากกว่าจะยึดติดกับรูปทรงใด ๆ อาจารย์บอกว่าน่าจะไม่ได้ร่างภาพก่อนเลยด้วยซ้ำ ปาดๆๆๆ เลย ผลคือโบสถ์เบี้ยวทั้งหลัง 555
The Church at Auvers (1890) Vincent Van Gogh
ถ้าเราเจอแต่รูปนี้ ไม่รู้จักภาพอื่นของ Van Gogh เลย หรือถ้ารูปนี้อยู่ ๆ ก็โผล่มาเดี่ยว ๆ ในโลกเลย ไม่มีเรื่องราวการเดินทางการทำงานของ Van Gogh มาประกอบมันคงไม่มีค่า ก็เหมือนภาพ Picasso ที่มีแค่ 3 ขีดแต่ดังมาก แพงระยับจับจิต มูลค่าเป็นพัน ๆ ล้าน เพราะอะไร? เพราะมันมีองค์ประกอบอีก 1,000 ภาพที่เค้า Build มากว่าจะมาถึงจุดนี้
พี่ Picasso และพี่ Van Gogh ของเราเค้าไม่ได้ไม่มี Skill นะ แต่เค้าเลือกที่จะไม่ใช้ทักษะบางอย่างเพื่อจะ present ให้แนวคิดบางอย่างมันเด่นชัด อย่างเช่นเรื่องสีที่ Van Gogh สนใจ
แต่นอกจากจะไม่แคร์โลกแล้ว เราต้องไม่ลืมว่านี่คืองานในปี 1890 ปีสุดท้ายของชีวิตพี่เค้า ดังนั้นความบิดเบี้ยวทั้งหลายในภาพอาจจะสะท้อนมาจากจิตใจที่ปั่นป่วน ไม่สงบของพี่โก๊ะด้วยเช่นกัน TT__TT สงสารเนอะ
ในช่วงท้ายของชีวิต Van Gogh วาดภาพท้องฟ้าเหนือท้องทุ่งข้าวสาลีไว้เยอะมาก พี่เค้าเขียนบอก Theo ในเดือน May 1890 (ตาย July 1890) ว่า...
“The vast fields of wheat under turbulent skies, they represented my sadness and extreme loneliness…The canvas can tell you what I cannot say in words, that is, how healthy and invigorating I find the countryside.”
เศร้า เหงา และเดียวดายขั้นสุดจริง ๆ ... Van Gogh เหงาจนไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นคำพูด ต้องระบายออกมาเป็นภาพ ... ภาพธรรมชาติที่เค้าหลงใหล
ในภาพ Wheatfield under thunder cloud (1890) แทบจะไม่เหลือ Form อะไรแล้ว เหลือแค่สีที่เค้าชอบปาดเร็วๆ ให้พอรู้ว่าเป็นฟ้า เป็นท้องทุ่งสาลี สีน้ำเงินของท้องฟ้าที่หม่นเศร้าในภาพนอกจากจะแสดงถึงสภาวะที่พายุกำลังก่อตัว มีคนตีความว่ามันกำลัง Guide ไปสู่ความตายของ Van Gogh ด้วย TT__TT
Wheatfield under thunder cloud (1890) Vincent Van Gogh
Wheatfield with crows (1890) เป็นภาพเกือบสุดท้ายของชีวิต บรรยากาศยุ่งเหยิง ท้องฟ้าแปรปรวน นกกาบินปั่นป่วน แสดงสภาพจิตใจที่เข้าขีดโคม่าของ Van Gogh แล้ว ... Van Gogh in Blue สุด ๆ แม้ว่าชีวิตจะมีสีเหลืองที่สดใสด้วยความสุขจากการวาดภาพ แต่ไม่มีใครเข้าใจ ไม่มีใครยอมเป็นเพื่อนกับเค้าเลย ถนนในภาพที่ทอดยาวคดเคี้ยวก็ดูยาวไกล และไม่รู้ว่าจะนำไปสู่อะไร (ไม่รู้ว่าอีกามีความหมายอะไรกับพี่เค้าเนาะ แต่ไม่น่าจะเป็นทางดี ตามความเชื่อตะวันตกอีกาน่าจะเป็นสัญลักษณ์ของความตาย)
Wheatfield with crows (1890) Vincent Van Gogh
ในวันที่ 27 July 1890 แวนโก๊ะยิงตัวเองเข้าที่อกไม่แน่ใจว่าในทุ่งข้าวสาลีที่เค้าไปวาดรูปหรือที่โรงนาสักแห่ง แล้วกลับมาเสียชีวิตที่โรงพยาบาลอีก 30 ชั่วโมงให้หลัง (เช้าตรู่ของวันที่ 29 July) มีการวินิจฉัยกันว่า Van Gogh เป็น Bipolar อารมณ์จึงสวิงสุด ๆ และบวกกับซึมเศร้าด้วย ชีวิตของ Van Gogh จึงจบลงด้วยโศกนาฏกรรมแบบนี้ค่ะ
คำสุดท้ายที่ Van Gogh พูดกับ Theo ก่อนหมดลมหายใจคือ…
“The Sadness will last forever”
TTT___TTT
ท่ามกลางความเงียบงันในงานศพ คุณหมอกาเช่ต์ (ต้นแบบรูปวาดที่มีมูลมามากที่สุดนั่นแหละค่ะ) บอกทุกคนว่าอย่าเศร้าไปเลย Vincent ไม่ได้จากไปไหน ความงามในงานของ Vincent จะยังคงอยู่คู่โลกใบนี้ Vincent เป็นศิลปินเอกของโลกนี้ หมอเห็นได้ถึงความศรัทธาของ Vincent ในทุก ๆ ภาพที่เค้าสร้างสรรค์ ... นี่หมอพูดตอน Van Gogh ยังไม่ดังนะคะ ในวันนี้คำพูดของหมอจริงยิ่งกว่าจริง เสียดายที่มีคนชื่นชมและยอมรับงานของเค้าในเวลาที่สายเกินไป ... แต่นั่นก็เป็นความงดงามของ Tragedy ใช่ไหมคะ
มีเพลงที่แต่งถึง Van Gogh ด้วยนะคะ เขียนเนื้อได้สวยงาม และมีท่วงทำนองที่ไพเราะมาก ๆ ด้วยค่ะ (สำหรับเบ็น เบ็นว่ามันแอบเหงานิดนึง เหมือนตัวของ Van Gogh เลย)
 
“… For they could not love you
But still your love was true
And when no hope was left inside
On that starry, starry night
You took your life as lovers often do
But I could have told you, Vincent
This world was never meant for one
As beautiful as you…”
Vincent (Starry, Starry Night) - Don Mclean
ตามไปซึมซับบรรยากาศแบบ Vincent Vincent กับเพลงนี้ได้ที่นี่ค่ะ
12.
ภาพสุดท้าย Tree Roots (July 1890) Van Gogh วาดแต่รากไม้ค่ะ เป็น Perception ที่แปลกมาก ... ไม่รู้ว่าเค้าเห็นภาพตัวเองอยู่ใต้ดินคุยกะรากไม้ละเปล่าเนาะ หรือวาดต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้จนเบื่อแล้วก็ไม่รู้
Tree Roots (July 1890) Vincent Van Gogh
ความพีคมันไม่จบลงตรงการจากไปของ Van Gogh ค่ะ เพราะ Supporter คนสำคัญของ Van Gogh นั่นคือน้องชายที่เค้ารักมากก็ยังไม่ทันได้ชื่นชมยินดีกับชื่อเสียงของพี่ชายตัวเองเลย หลังจาการตายของ Van Gogh เพียง 6 เดือน Theo เสียชีวิตลงเช่นกัน
คนที่เศร้าที่สุดน่าจะเป็นโจแอนนาภรรยาของ Theo ซึ่งเพิ่งแต่งงานกับ Theo ได้เพียง 1 ปีสามีก็มาจากไป แต่ก็เป็นโจแอนนานี่เองที่ทำให้ Van Gogh และงานของเค้ามีชื่อเสียงเพิ่มขึ้นและวางระบบวางรากฐานให้กับผลงานทั้งหมดของ Van Gogh (ที่จริงถ้าไม่เสียชีวิต Van Gogh กำลังจะถึงจุดที่เค้าใฝ่ฝัน งานของเค้าเริ่มขายได้ และเค้ากำลังจะมีงานนิทรรศการร่วมกับเซซานกับศิลปินอีกคน โดยเป็นนิทรรศการที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะมาเปิดงานเองด้วยนะทุกคน ... ฮือ เสียใจอ่า)
เมื่อไม่มีใครเหลือแล้ว Joanna จึงเป็นผู้รวบรวมจดหมายทั้งหมดของ Van Gogh ตีพิมพ์ แปล เขียนประวัติ และบริหารจัดการภาพเขียนให้ได้ไปอยู่ใน Exhibition ต่าง ๆ ... เดชะบุญที่ Joanna เห็นความสำคัญนะคะ ไม่งั้นถ้าทิ้งจดหมายไป หรือยกภาพให้คนอื่นไปแบบไม่มีแผนอะไร เราคงไม่รู้เรื่องราวของ Van Gogh และพี่เค้าก็คงไม่ดังเบอร์นี้ ...
13.
บทเรียนที่เราได้จากชีวิต Van Gogh: Turbulence & Therapy
#1 Background ในวัยเด็กมีผลต่อชีวิตของเราที่เหลือโคตร ๆ
#2 ปราศจากคนเข้าใจและสนับสนุนเพียงพอ ศิลปินก็ยากที่จะประสบความสำเร็จในช่วงชีวิตของเขา
#3 ศิลปินที่ยิ่งใหญ่มักจะเป็นผู้พยากรณ์ (prophet) ถึงสิ่งที่คนยังมองไม่เห็น คือบางทีตายไป 200 ปีแล้วคนเพิ่งจะมาเจอว่าสวย...งี้ (ดังนั้นเวลาคนรอบตัวเราทำอะไรแปลก ๆ แหวก ๆ เราอาจต้องให้พื้นที่ และพยายามเข้าใจอ่ะเนาะ)
#4 ศิลปะอาจเป็นการช่วยระบายออกและบำบัดตัวเขาขณะเดียวกันกับการสร้างผลงาน
“ถ้า Van Gogh ไม่ได้วาดรูป เขาอาจจะจากไปเร็วกว่านี้อีกก็ได้”
💖💖
ขอจบด้วยประโยคทองของพี่โก๊ะนะคะ
“I would rather die of passion than of boredom” Vincent Van Gogh
ขอให้เราทุกคนใช้ความบ้าให้มีพลังแต่ในขณะเดียวกันก็ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขนะคะ
💖💖
มีภาพประกอบที่เบ็นหาบางส่วนมาจาก Internet ค่ะ เผื่อใครนึกไม่ออกว่าไอ้ภาพที่พูดถึงมันคือภาพไหนนะคะ 🙂 ขอบคุณภาพจาก Internet มา ณ ทีนี้ค่า
ป.ล.
ตามไปฟังอาจารย์กับคุณเอ๋คุยกัน อันจะมี ภกป ภาพประกอบได้ที่นี่นะคะ
EP.7
ขอบคุณทั้งอาจารย์ภากรและคุณเอ๋มากๆ ค่ะ
#BenNote #bp_ben
#benji_is_learning #benji_is_drawing
#Western_Arts_Appreciation
#RoundFinger #Phagorn_Manggornpant #Inspiration
#VanGogh
โฆษณา