Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กินยังไงได้อย่างงั้น
•
ติดตาม
14 พ.ย. 2022 เวลา 03:00 • สุขภาพ
กินไขมันยังไงให้ดี
ไขมันเป็นหนึ่งในสารอาหารที่ร่างกายต้องการ ซึ่งไขมันจะให้พลังกายในการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงการดูดซึม สะสมวิตามินที่ละลายในเฉพาะไขมัน ช่วยการเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกาย ช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร เป็นต้น
ไขมันแบ่งออกเป็นประเภท ได้ดังนี้
1) ไขมันที่ได้จากสัตว์ เป็นไขมันที่มีคอเลสเตอรอลและกรดไขมันอิ่มตัวซึ่งจำเป็นต่อร่างกาย ถ้าได้รับไขมันจากสัตว์มากเกินไปจะทำให้เกิดคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
2) ไขมันที่ได้จากพืช ในกลุ่มนี้แบ่งย่อยออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
●
2.1 ชนิดให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ในกลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มระดับไขมันดี (HLD) ลดระดับไขมันร้าย (LDL) ลดไขมันไตรกลีเชอไรด์ ลดภาวะดื้ออินซูลินในผู้ป่วยเบาหวาน สามารถรับไขมันกลุ่มนี้ได้จาก น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันรำข้าว งา เป็นต้น
●
2.2 ชนิดให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ในกลุ่มนี้จะช่วยลดระดับไขมันร้าย (LDL) แต่ถ้าบริโภคมากเกินไปจะไปลดไขมันดี (HLD) ด้วย สามารถรับไขมันกลุ่มนี้ได้จาก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น
●
2.3 ไขมันชนิดที่ให้กรดไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ไม่ควรบริโภคมากเกินไป เพราะจะทำให้มีระดับคอเรสเตอรอลในเลือดสูง สามารถรับไขมันกลุ่มนี้ได้จาก น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าวและกะทิ เป็นต้น
ไขมันกลุ่มที่ให้ HDL สามารถเพิ่มปริมาณขึ้นได้จากการออกกำลังกาย และยังช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
3) ไขมันทรานส์ ไขมันทรานส์ (Tran Fat) หรือกรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acid) คือ ไขมันที่มีโครงสร้างทางเคมีเปลี่ยนไปจากปกติ ส่วนสาเหตุนั้นเกิดได้
ทั้งจากกระบวนการไฮโดรจิเนชั่นและจากธรรมชาติ ซึ่งเจ้าไขมันทรานส์นี้จะไปเพิ่มปริมาณไขมันร้าย ลดปริมาณไขมันดีทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถรับไขมันกลุ่มนี้ได้จาก ขนมกลุ่มเบเกอรี่ที่มีส่วนผสมของมาการีนและ
เนยขาว ครีมเทียม อาหารอบ อาหารทอดที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ
ข้อแนะนำการบริโภคไขมัน
1) หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงด้วยการอ่านฉลากทุกครั้ง
2) หลีกเลี่ยงและลดอาหารที่มีส่วนผสมจากมาการีนและเนยขาว
3) ลดการบริโภคไขมันจากสัตว์ทุกชนิด เลือกรับประทานส่วนที่ไม่มีมันและหนัง
4) รับประทานเมนูต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนกลุ่มผัดและทอด
5) หลีกเลี่ยงและลดอาหารจานเดียวที่มีไขมันสูง เช่น ผัดไทย หอยทอด
ข้าวขาหมู เป็นต้น
6) เลือกใช้ไขมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
เพียงเท่านี้ก็สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการสะสมของไขมันในร่างกายได้แล้ว
อ้างอิง:
ศรีวรรรณ ทองแพง (2560), ไขมัน. สืบค้นวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565, จาก
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1281
สุขภาพ
ความรู้รอบตัว
ไลฟ์สไตล์
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย