Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
16 พ.ย. 2022 เวลา 13:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ภาษีเงินปันผล ก็ขอคืนได้นะ
การลงทุนในหุ้นเพื่อให้มีโอกาสรับเงินปันผล เป็นทางเลือกที่นิยมของเหล่านักลงทุนจำนวนมาก
แต่มีข้อหนึ่งที่นักลงทุนต้องรู้และเข้าใจ คือ ไม่ได้มีข้อผูกมัดว่ากิจการที่เราลงทุนจะจ่ายเงินปันผลเสมอไป เพราะการตัดสินใจว่าจะจ่ายเงินปันผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับผลกำไร และนโยบายการจ่ายเงินปันผลของกิจการนั้นๆ
ในกรณีที่เราลงทุนในหุ้นที่ได้รับเงินปันผลนั้น มีข้อควรรู้คือ สามารถขอเครดิตภาษีเงินปันผลได้ หมายถึง เราสามารถขอภาษีเงินปันผลคืนได้นั่นเอง
เครดิตภาษีเงินปันผล เป็นสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นที่สามารถขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรได้ ซึ่งเมื่อได้รับเงินปันผล เงินปันผลที่ได้นั้นจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 10%
ปกติบริษัทจะจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิ หรือกำไรสะสมของกิจการ หมายความว่า บริษัทต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อน ส่วนที่เหลือจะเป็นกำไรสุทธิหลังหักภาษีแล้ว จึงจะนำมาจ่ายเป็นเงินปันผล
ส่งผลให้บริษัทต้องจ่ายภาษีถึง 2 ครั้ง (Double Tax) โดยครั้งแรก คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และครั้งที่ 2 คือ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินปันผล
1
1
ตัวอย่าง >> บริษัท ยิ่งรวย จำกัด (มหาชน) มีกำไรก่อนภาษี 100 บาท และจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 20% ของกำไรก่อนภาษี หรือเท่ากับ 20 บาท ทำให้บริษัทมีกำไรสุทธิหลังหักภาษี เท่ากับ 80 บาท
และบริษัท ยิ่งรวย จำกัด (มหาชน) มีนโยบายจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิ ซึ่งเงินปันผลดังกล่าวจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้อีก 10% หรือเท่ากับ 8 บาท (10% ของ 80 บาท) ทำให้ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลไป 72 บาท
ดังนั้น จากผลกำไร 100 บาทของกิจการ ได้เสียภาษีไปแล้วถึง 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก 20 บาท และครั้งที่สอง 8 บาท รวมเป็น 28 บาท
2
และหากจะนำมารวมเป็นรายได้ของบุคคลธรรมดาตามมาตรา 40(4) ก็ต้องมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก ถือเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อน และไม่เกิดความเป็นธรรมต่อผู้เสียภาษี ดังนั้นนักลงทุนจึงสามารถขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืนได้นั่นเองค่ะ
1
โดยกฎหมายได้ให้ทางเลือกว่า จะเลือกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 10% โดยไม่ต้องนําเงินปันผลมารวมคำนวณเป็นเงินได้ประจำปี หรือจะนําเงินปันผลมารวมคำนวณเป็นเงินได้และเสียภาษีตามอัตราก้าวหน้าก็ได้
1
หากเลือกที่จะนําเงินปันผลมารวมคำนวณแล้ว ต้องนําเงินปันผลทุกก้อนที่ได้รับจากทุกบริษัทมารวมคํานวณด้วย จะเลือกเฉพาะเงินปันผลของบริษัทใดบริษัทหนึ่งมาคำนวณไม่ได้
เนื่องจากแต่ละบริษัทเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราที่ไม่เท่ากัน ปัจจัยที่จะใช้พิจารณาว่า เงินปันผลที่ได้รับนั้นสามารถนํามาเครดิตภาษีได้หรือไม่ก็คือ ให้เปรียบเทียบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ลงทุน เทียบกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทที่ลงทุน
โดยสามารถดูข้อมูลอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลได้จากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของเงินปันผลที่ทางศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จัดส่งให้
ตัวอย่าง >> สมมุติภาษีของเงินปันผลที่ถูกหักไป 28% ของกำไรของกิจการ หากผู้ถือหุ้นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตรา 15% ซึ่งน้อยกว่า 28% กรณีนี้ ควรขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืน
แต่หากผู้ถือหุ้นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตรา 30% ขึ้นไป ซึ่งมากกว่า 28% ก็ไม่ควรขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืน เพราะกฎหมายได้ให้ทางเลือกไว้แล้วว่าเราจะนำเงินปันผลมารวมหรือไม่รวมคำนวณเป็นเงินได้ก็ได้ค่ะ
รู้อย่างนี้แล้ว ก็รักษาสิทธิในการเสียภาษีของตัวเองให้คุ้มค่าที่สุดนะคะ ถ้าต้องการความถูกต้องแม่นยำ ก็ต้องลองคำนวณดูทั้ง 2 แบบ คือทั้งแบบรวมเงินปันผล และไม่รวมเงินปันผล แบบไหนคุ้มสุดก็เลือกแบบนั้นค่ะ
2
4
Cr. SCB
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
หุ้น
ภาษี
ความรู้รอบตัว
6 บันทึก
14
19
17
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
นานาภาษีและวิธีจัดการ
6
14
19
17
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย