Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
18 พ.ย. 2022 เวลา 13:20 • การศึกษา
บริจาคอย่างไร ได้ทั้งบุญ
และได้ลดหย่อนภาษีแบบ x2 เท่า
เป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ นอกจากจะต้องบริหารธุรกิจให้เติบโตแล้ว ยังต้องจัดการในเรื่องของภาษี เพราะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของค่าใช้จ่ายของกิจการที่ต้องจัดการ
การบริจาค นับเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยในการบริหารภาษีที่กิจการไม่ควรมองข้าม นอกจากจะได้บุญแล้ว ยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งมีเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีได้แตกต่างกัน เช่น
- หักได้ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ
- หักได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ
- กรณีพิเศษ หักได้ 2 เท่า แต่ไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิ
1
แล้วบริจาคแบบไหนได้ลดหย่อนภาษี 2 เท่า เราจะพามาเจาะลึกลงหัวข้อนี้กันค่ะ
1
สำหรับเงินบริจาคพิเศษที่สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ
ก่อนที่บริษัทฯ จะใช้สิทธิลดหย่อน ต้องดูก่อนว่ากำไรสุทธิ หรือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้วเป็นเท่าไร
ตัวอย่าง
บริษัท เอบีซี จำกัด บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษา 100,000 บาท จะสามารถลดหย่อนภาษีได้เป็น 200,000 บาท แต่จะลดได้ 200,000 บาทหรือไม่ ต้องดูเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้วเป็นเท่าไร
สมมุติบริษัทฯ มีเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อนอื่น ๆ อยู่ที่ 1.8 ล้านบาท บริษัทฯ จะใช้สิทธิได้เพียง 180,000 บาท เพราะสิทธิในการลดหย่อนจะต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนอื่น ๆ
ต่อไปจะมาสำรวจกันว่า มีเงินบริจาคพิเศษแบบไหน บริจาคให้ใคร จึงจะสามารถลดหย่อนได้ 2 เท่า
1. เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา
4
ต้องเป็นเงินบริจาคให้แก่สถานศึกษาของรัฐ โรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษา และเป็นการบริจาคเพื่อ 3 รายการนี้
- อาคารสถานที่ ได้แก่ จัดสร้างอาคาร จัดหาที่ดินให้แก่สถานศึกษา
- สื่อการเรียน การสอน ได้แก่ ตำรา แบบเรียน อุปกรณ์เพื่อการศึกษา
- บุคลากร ได้แก่ ครู อาจารย์ เป็นต้น
2. เงินบริจาคสนับสนุนโรงพยาบาลรัฐ
ต้องเป็นเงินบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของทางราชการ และรวมถึงดังต่อไปนี้
- สถานพยาบาลของสถานศึกษาของรัฐ
- สถานพยาบาลขององค์การมหาชน
- สถานพยาบาลของรัฐวิสาหกิจ
- สถานพยาบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- สถานพยาบาลของสภากาชาดไทย
- สถานพยาบาลของหน่วยงานอื่นของรัฐ
ทั้งนี้ เงินบริจาคสนับสนุนโรงพยาบาลรัฐ เมื่อรวมกับเงินสนับสนุนการศึกษาแล้วต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย
3. เงินบริจาคพิเศษอื่น ๆ
- สนับสนุนการกีฬา โดยต้องเป็นหน่วยงานด้านกีฬาที่สังกัดสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย
- กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และต้องเป็นกองทุนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเด็กเล็ก
- โครงการฝึกอบรมเยาวชนของสถานพินิจ สำหรับโครงการฝึกอบรมอาชีพ จัดกิจกรรมเพื่อแก้ไข ฟื้นฟู บำบัด เด็กและเยาวชนสถานพินิจ หรือศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนของกระทรวงยุติธรรม
- กองทุนยุติธรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานช่วยเหลือประชาชนที่เดือนร้อนเพื่อให้มีโอกาสเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม
- การจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน ให้แก่สถานศึกษาของรัฐและเอกชน หอสมุด ห้องสมุด รวมถึงห้องสมุดของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
- กองทุนเสมอภาคทางการศึกษา เป็นการต่ออายุการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ผ่านระบบ e-Donation
- มูลนิธิในพระอุปถัมภ์ ได้แก่ มูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
- กองทุนเพื่อพัฒนาและส่งเสริมด้านอื่น ๆ ได้แก่ กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุข, กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา, กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม และกองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านระบบบริจาค e-Donation ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 – 31 ธันวาคม 2565
ทั้งหมดนี้ก็คือช่องทางบริจาคเงิน ที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ ตามเงื่อนไขที่สรรพากรกำหนด
หมายเหตุ : ระบบ e-Donation คือ ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ ที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับข้อมูลการรับบริจาค และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริจาค ให้สามารถใช้ สิทธิลดหย่อนภาษีได้ โดยไม่ต้องนำหลักฐานการบริจาคมาแสดงต่อกรมสรรพากร
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ 😊
ติดตามอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
https://www.blockdit.com/pages/5ef4aee94e90fa1adecae03e
ภาษี
ธุรกิจ
ความรู้รอบตัว
5 บันทึก
14
18
13
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
นานาภาษีและวิธีจัดการ
5
14
18
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย