Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
25 พ.ย. 2022 เวลา 13:20 • การศึกษา
หลบภาษีอะไร มีความเสี่ยงมากที่สุด ?
ถามว่าหลบภาษีอะไร เสี่ยงมากที่สุด ความจริงแล้ว ไม่ว่าจะหลบภาษีตัวไหน ก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน คือมีความผิดทางกฎหมายเหมือนกัน
แต่ที่เสี่ยงมากที่สุด ก็คือ ผลที่เกิดจากการหลบเลี่ยงภาษีนั้นๆ จะมีโทษปรับมากน้อยต่างกัน ซึ่งถ้ามีโทษปรับมาก ก็หมายความว่าเสี่ยงมากนั่นเอง
แล้วถ้าหลบเลี่ยง หรือจ่ายภาษีล่าช้าในแต่ละประเภท ตัวไหนจะถูกปรับเท่าไรกันบ้าง ลองเทียบดูตามตารางนี้ค่ะ 👇
จากตารางจะเห็นได้ว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีตัวเดียวที่มี เบี้ยปรับ ซึ่งจะมากน้อย ขึ้นตามระยะเวลาที่นำส่ง ดังนี้
ลองมาเช็คเบี้ยปรับของภาษีมูลค่าเพิ่มกันสักหน่อยนะคะ
ตัวอย่าง เบี้ยปรับที่ต้องจ่าย ของแบบ ภพ.30
สมมุติมีภาษีที่ต้องชำระ 10,000 บาท และค้างชำระเป็นเวลาเกิน 60 วันขึ้นไป
>> กรณี ไม่ยื่นหรือยื่นเกินกำหนด เบี้ยปรับ 2 เท่า
ถ้าค้างชำระภาษีอยู่ 10,000 บาท จะต้องเสียภาษี 10,000 บวกด้วยเบี้ยปรับ 2 เท่า x 20% เท่ากับ 14,000 บาท
พร้อมทั้งค่าปรับทางอาญาและเงินเพิ่ม และอาจรวมถึงโทษจำคุกอีกด้วย
>> กรณี ยื่นเพิ่มเติมภายในกำหนด เบี้ยปรับ 1 เท่า
ถ้าค้างชำระภาษีอยู่ 10,000 บาท จะต้องเสียภาษี 10,000 บวกด้วยเบี้ยปรับ 1 เท่า x 20% เท่ากับ 12,000 บาท
พร้อมทั้งค่าปรับทางอาญาและเงินเพิ่มด้วย
ดังนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เสี่ยงมากที่สุด หากจ่ายภาษีล่าช้า หรือคิดจะหลบเลี่ยง หรือถูกเรียกตรวจสอบพบ เพราะมีบทลงโทษจากเงินเพิ่มเบี้ยปรับที่มากกว่าภาษีตัวอื่นๆ
เกร็ดเสริม :
หลายคนคงเข้าใจว่า เบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม เป็นตัวเดียวกัน แต่ความจริงแล้ว เงินเพิ่มเป็นบทลงโทษอีกกระทงหนึ่ง ซึ่งคำนวณตามระยะเวลาที่ชำระภาษีล่าช้าคล้ายดอกเบี้ย และมักจะมาพร้อมกับเบี้ยปรับ จึงถูกเรียกรวมกันบ่อยๆ ว่าเบี้ยปรับเงินเพิ่ม
เบี้ยปรับ ต่างจากค่าปรับทางอาญา ตรงที่เบี้ยปรับจะประเมินจากค่าภาษีที่ค้างชำระ แต่โทษปรับทางอาญา จะประเมินจากการกระทำความผิดทางอาญา ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน
แต่เนื่องจากความผิดเกี่ยวกับภาษีเป็นความผิดอาญาที่รัฐเป็นผู้เสียหาย จึงมีโทษทั้งทางอาญาและเบี้ยปรับเกิดขึ้นได้พร้อมกันค่ะ
อ้างอิง :
มาตรา 26 ประมวลรัษฎากร
มาตรา 22 และ 26 ประมวลรัษฎากร โดยให้ถือเป็นเงินภาษีตามมาตรา 27 ทวิ
มาตรา 89 ประมวลรัษฎากร โดยให้ถือเป็นเงินภาษีตามมาตรา 89/2
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ 😊
ติดตามอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
https://www.blockdit.com/pages/5ef4aee94e90fa1adecae03e
ภาษี
ธุรกิจ
ความรู้รอบตัว
3 บันทึก
12
16
10
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
นานาภาษีและวิธีจัดการ
3
12
16
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย