14 พ.ย. 2022 เวลา 06:44 • การศึกษา
“ถ้าเราให้ความสนใจแค่เด็กหน้าห้อง เด็กที่อยู่หลังห้องก็จะหลุดไปเลย เพราะเรารู้สึกว่าเขาไม่มีตัวตนในโรงเรียน”
เมื่อการมีส่วนรวมในห้องเรียนถูกละเลยจากครู ผู้เรียนจำนวนหนึ่งจึงตกอยู่ในสภาวะ 'เด็กหลังห้อง' ไร้ตัวตนและปากเสียง และอาจหลุดออกจากระบบการศึกษาในวันหนึ่ง
ประวีณา ศรีธาราธิคุณ คุณครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเชียงของวิทยาคม จังหวัดเชียงราย มองเห็นปัญหานี้ ปัญหาที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของการเพิกเฉย กระทั่งเธอได้รู้จักกับการนำจิตวิทยาเชิงบวกมาใช้ในห้องเรียน ผ่านการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่ทอดทิ้งเด็กคนใดคนหนึ่งให้ต้องโดดเดี่ยวลำพัง
“พยายามให้เขารู้สึกว่าเราไม่ได้ละเลยเขาในห้อง ถ้าเขาพยายามอยากมาอยู่ในระบบเหมือนเดิม เราก็จะให้โอกาสเขา เพื่อที่จะไม่ให้เสียสิทธิ์ตรงนั้นไป”
โฆษณา