26 พ.ย. 2022 เวลา 12:19 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์อียิปต์แพ้สงคราม ให้เปอร์เซียเพราะเป็น ‘ทาสแมว’
6
เป็นที่ทราบกันดีว่าชาวอียิปต์มีความเชื่อเรื่องโลกหลังความตายอย่างมากนำไปสู่การพัฒนาทางอารยธรรมอียิปต์อย่างเจริญงอกงามอย่างการทำมัมมี่และสร้างพีระมิด
3
แต่ชาวอียิปต์ยังมีอีกหนึ่งความเชื่อที่น่าสนใจ คือ ความเชื่อเรื่องแมว ซึ่งความเชื่อนี้ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ชาวอียิปต์แพ้สงครามให้กับชาวเปอร์เซียจนนำไปสู่การล่มสลายของอาณาจักรอียิปต์โบราณอันยิ่งใหญ่
แล้วทำไมชาวอียิปต์ถึงพ่ายแพ้สงครามให้กับชาวเปอร์เซีย ความเชื่อเรื่องแมวเกี่ยวอะไรกับการแพ้สงครามครั้งนี้ ไปหาคำตอบกันค่ะ
⭐ แพ้สงครามเพราะรักแมว
ย้อนกลับในช่วงประมาณ 600 ปีก่อนสมัยคริสต์ศักราช อาณาจักรเปอร์เซียเริ่มเติบโตกลายเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ จนมาถึงสมัยของพระเจ้า Cambyses II (แคมไบสิสที่ 2) จึงเริ่มทำสงครามขยายอาณาจักรของตนเอง ซึ่งในอาณาจักรที่ถูกหมายปองก็คือ อียิปต์
สงครามครั้งนี้ถูกเรียกว่า Battle of Pelusium เกิดขึ้นในช่วงราวๆ 520 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งมีการบันทึกไว้ว่า ความยิ่งใหญ่ของกองทัพเปอร์เซียในตอนนั้นน่าจะเอาชนะอียิปต์ได้แต่ก็คงไม่ง่าย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทหารอียิปต์ได้เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้กว่า 50,000 คน ในขณะที่มีทหารเปอร์เซียเสียชีวิตแค่ 7,000 คนเท่านั้น
1
โดยจากการบันทึกของนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในยุคนั้นอย่าง Herodotus กลยุทธ์ที่ทำให้เปอร์เซียได้ชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จขนาดนี้ มาจากการนำ “แมว” มาเป็นตัวประกันในขณะสู้รบ พร้อมทำยังวาดภาพแมวลงไปบนโล่ของทหารเปอร์เซียอีกด้วย
3
การนำแมวมาเป็นหลักประกัน ก็คือ มือข้างหนึ่งถือดาบ อีกข้างหนึ่งถือแมว
ทำให้ทหารชาวอียิปต์ซึ่งนับถือบูชาแมวเสมือนเป็นพระเจ้า ไม่กล้าที่จะต่อสู้อย่างเต็มกำลัง แล้วก็แพ้สงครามไปอย่างราบคาบ
2
การแพ้ในสงครามครั้งนี้ยังทำให้อียิปต์เข้าสู่ช่วงตกต่ำ คือ ช่วงที่อาณาจักรอียิปต์แทบจะไม่มีผู้ปกครองที่เป็นชาวอียิปต์อย่างแท้จริง เพราะหลังจากที่เปอร์เซียเริ่มเสื่อมอำนาจ ก็มีมหาอำนาจใหม่เข้ามาอย่างกรีกเข้ามาปกครอง โดยผู้นำในครั้งนั้นก็คือ อเล็กซานเดอร์มหาราช หรือ Alexander the Great
2
และอียิปต์ก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรีกไปเป็นเวลากว่า 300 ปี ก่อนที่ต่อมาจะเป็นช่วงรุ่งโรจน์ของอาณาจักรโรมัน
⭐ เหตุผลที่ชาวอียิปต์นับถือแมว
หากจะกล่าวว่าการรักแมวของชาวอียิปต์เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้อียิปต์แพ้สงครามก็ดูเกินจริงไปสักเล็กน้อย เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้อียิปต์ต้องพ่ายแพ้ ทั้งปัจจัยภายใน คือ ความอ่อนแอของฟาโรห์ Psamtik III ที่ยังเด็กและด้อยประสบการณ์เกินกว่าที่จะปกป้องอาณาจักรได้
2
และปัจจัยภายนอก คือ ความเฉลียวฉลาดของพระเจ้า Cambyses II แห่งเปอร์เซียที่เข้าใจความเชื่อและวัฒนธรรมของชาวอียิปต์ได้เป็นอย่างดี อย่างการใช้ “แมว” ที่ชาวอียิปต์บูชาเป็นกลยุทธ์ในการเอาชนะสงครามเรียกได้ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”
2
โดยเหตุผลที่ชาวอียิปต์รักและบูชาแมวมากเป็นเพราะอารยธรรมอียิปต์โบราณถือเป็นอารยธรรมแรก ๆ ของโลกที่มีการเก็บเกี่ยวพืชผลจำนวนมากยุ้งฉางเพื่อเอาไว้บริโภคกันทีหลัง
นอกจากเพื่อบริโภค พืชผลการเกษตรเป็นทุกอย่างให้กับชาวอียิปต์ไม่ว่าจะเป็นการนำมาทำยารักษาโรค เสื้อผ้า หรือใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ กล่าวได้ว่าสำคัญกับชาวอียิปต์ในทุกมิติของชีวิต
และปัญหาของพืชผลการเกษตรคือ “หนู” ที่มักจะแอบมากินอาหารและทำลายพืชผลเหล่านี้ แต่ก็มี “แมวป่า” ที่ตามมาล่าหนูในอาณาจักรด้วยซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ลดความเสียหายให้กับชาวอียิปต์
2
ชาวอียิปต์จึงยกย่องแมวเป็นสัตว์ที่ช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับพวกเขา
โดยการยกย่องนี้ ก็ทำให้อียิปต์มีเทพเจ้าที่มีหัวเป็นแมว ชื่อว่า “บาสเตท (Bastet)” หรือเทพเจ้าบาส (Bast) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ของคนอียิปต์อีกด้วย
และหลักฐานที่ยืนยันว่าชาวอียิปต์รักแมวมาก มีตั้งแต่การทำรูปปั้นบูชาแมวจำนวนมาก (จากการขุดพบใกล้สุสานฟาโรห์) การสลักรูปแมวลงบนหลุมฝังศพของคนในครอบครัว หรือหากบ้านไหนเลี้ยงแมวและแมวตายจะมีการนำไปทำมัมมี่แมว ซึ่งเจ้าของจะต้องไว้ทุกข์โดยการโกนคิ้วและรอให้ขนคิ้วขึ้นมาใหม่ถึงจะเป็นการเลิกไว้ทุกข์
1
โดยเราสามารถศึกษาเรื่องของแมวในอียิปต์โบราณได้จากภาพวาดผนังในสุสาน เช่น แมวกำลังนั่งนอน หรือไล่นกที่มายุ่งกับพืชผลที่ปลูกไว้ รวมถึงภาพเทพีแมว (บาสเตท) ที่กำลังสู่ขับไล่วิญญาณอันชั่วร้ายออกไป
เรียกได้ว่า ทาสแมวตัวจริงเสียงจริงก็คือ “ชาวอียิปต์” นี่เอง
1
นอกจากความสนุกสนานที่เราได้อ่านประวัติศาสตร์เรื่องนี้ ยังมีอีกมุมหนึ่งที่ทำให้เรียนรู้ว่าความเชื่อ คือเป็นสิ่งที่อยู่กับมนุษย์มาช้านานและส่งอิทธิพลต่อจิตใจมนุษย์ไม่มากก็น้อย ความเชื่ออาจขับเคลื่อนมนุษย์ไปทั้งทางที่ดีและไม่ดีแล้วแต่ว่าบุคคลนั้นจะเชื่อถือมันอย่างไร หรือความเชื่ออาจถูกใช้เป็นเครื่องมือที่ทำลายมนุษย์กันเองก็เป็นได้
5
ผู้เขียน: ขัตติยาภรณ์ ด้วงแก้ว Political Analyst และ ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
เครดิตภาพ:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา