Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
3 ธ.ค. 2022 เวลา 12:19 • ประวัติศาสตร์
ย้อนประวัติศาสตร์ ‘ตุรกี’ ชาติที่เผชิญกับวิกฤตเงินเฟ้อสูงอย่างหนักในตอนนี้
ตุรกี หรือ ตุรเคีย ประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายพันปีจนสามารถสั่งสมรากเหง้าอารยธรรมมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิไบแซนไทน์และจักวรรดิออตโตมันอันยิ่งใหญ่
ภูมิศาสตร์ของตุรกีถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมจากการเชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชียจนมีฉายาว่าดินแดนสองทวีป ด้วยที่ตั้งทำเลทองเช่นนี้ จอร์จ ฟริดแมนผู้ก่อตั้งสแตรทฟอร์ถึงขั้นเคยกล่าวว่าตุรกีอาจขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลกได้ หากใช้นโยบายเศรษฐกิจและการเมืองในการสร้างพันธมิตรรอบนอกได้อย่างถูกที่ถูกทาง
1
แต่ในปัจจุบัน ตุรกีกลายเป็นประเทศที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจและมีอัตราเงินเฟ้อสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก อันเป็นผลจากการดำเนินนโยบายสวนทางกระแสโลกของประธานาธิบดีเรเจป ไตยิป เอร์โดอาน
1
Bnomics วันนี้จึงอยากพาทุกท่านย้อนรอยประวัติศาสตร์ตุรกีฉายาดินแดนสองทวีปผู้กุมยุทธศาสตร์ทำเลทองของโลกแต่ต้องเผชิญกับวิกฤตเงินเฟ้ออย่างหนักในตอนนี้
⭐️ ดินแดนอนาโตเลีย Anatolia
ในอดีตพันกว่าปีก่อนยังไม่มีการแบ่งเขตแดนชัดเจนแบบในปัจจุบัน ยังไม่มีคำว่าชาติที่บ่งชี้ว่าใครเป็นคนของที่ไหนอย่างชัดเจนเพราะผู้คนต่างอาศัยและย้ายถิ่นฐานตามดินแดนไปเรื่อย ๆ
โดยหากมามองต้นกำเนิดของตุรกีจะพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตุรกีอยู่ในคาบสมุทรอนาโตเลีย (Anatolia หรือ Asia Minor) ซึ่งเป็นคาบสมุทรล้อมรอบโดยทะเลดำและทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียน ตั้งอยู่แถบบริเวณเอเชียกลาง เป็นดั่งประตูที่เชื่อมระหว่างทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย
ด้วยความสมบูรณ์ของพื้นที่ทำให้มีคนหลายกลุ่มเข้ามาอาศัย แต่จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี 330 เมื่อกษัตริย์ Constantine I แห่งจักรวรรดิโรมันตัดสินใจทิ้งกรุงโรมอันเกิดจากความขัดแย้งหลายอย่าง และเลือกที่ตั้งเมืองหลวงแห่งใหม่ชื่อว่า New Rome ที่เมืองไบแซนไทน์ ณ คาบสมุทรอนาโตเลีย โดยภายหลังจึงถูกเปลี่ยนเป็น Constantinople และกลายเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) ในเวลาต่อมา
จักรวรรดิไบแซนไทน์ก็ได้เจริญรุ่งเรืองมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้วยจุดยุทธศาสตร์สามารถควบคุมเส้นทางการค้าสำคัญ อย่าง เส้นทางสายไหมโบราณ ที่เชื่อมโลกตะวันตกและตะวันออกเอาไว้ได้ จนทำให้แพร่ขยายอิทธิพลเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่ของทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียนไว้ได้หมด อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของศาสนาคริสต์อีกด้วย
⭐️ กำเนิด รุ่งโรจน์ ล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมัน (The Rise of Ottoman Empire)
ในที่สุดจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่เจริญรุ่งเรืองมากตลอดเวลาหลายร้อยปีก็ล่มสลายลงในปี 1453
เพราะพ่ายแพ้ให้แก่ชาวเติร์กที่อพยพถิ่นฐานมาจากเอเชียกลางซึ่งหนีการรุกรานของเผ่ามองโกลมาเรื่อย ๆ จนมาที่คาบสมุทรอนาโตเลีย เอาชนะจักรวรรดิไบแซนไทน์ และก่อตั้งจักรวรรดิออตโตมัน ณ คาบสมุทรนี้ได้สำเร็จ
1
จากดินแดนที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของศาสนาคริสต์นิกายไบแซนไทน์ เมื่อถูกครอบครองโดยชาวออตโตมันซึ่งนำศาสนาอิสลามเข้ามาด้วย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
กรุงคอนแสตนตินโนเบิล (Constantinople) ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นอิสตันบูล (Istanbul)
มหาวิหารฮาเกียโซเฟีย (The Hagia Sophia) ที่เป็นโบสถ์คริสต์ถูกเปลี่ยนเป็นมัสยิดของชาวมุสลิม
ด้วยเหตุนี้จะเห็นได้ว่ากรุงอิสตันบูลของตรุกีจึงเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมกลิ่นอายของอารยธรรมผสมผสานระหว่างศาสนาคริสต์และอิสลาม อันมาจากประวัติศาสตร์เช่นนี้เอง
กลับมาที่อดีตกันต่อ หลังจากเอาชนะจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้ จักรวรรดิออตโตมันใช้เวลาไม่ถึง 100 ปีและกลายเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกมุสลิม อันมาจากการแผ่ขยายอิทธิพลดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางซึ่งช่วงที่รุ่งโรจน์ที่สุดจนเรียกว่าเป็น “ยุคทอง” ของจักรวรรดิออตโตมันคือสมัยของสุลต่านสุไลมาน (Suleiman) ในช่วงปี 1520-1566
1
อาณาเขตยิ่งใหญ่ที่ว่าคือครอบคลุมถึงสามทวีปได้แก่ ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา
ตอนนั้นจักรวรรดิออตโตมันมีทั้งความมั่งคั่ง ความมั่นคง และทรงอำนาจ….
โดยหากมามองในด้านเศรษฐกิจแล้ว การก้าวขึ้นสู่อำนาจของจักรวรรดิออตโตมันก็ได้สร้างผลกระทบกับเศรษฐกิจโลกอย่างมากจากการครอบครองเส้นทางสายไหม เส้นทางการค้าโบราณที่เชื่อมระหว่างเอเชียและยุโรป
เมื่อจักรวรรดิออตโตมันเข้ามา ก็ได้เข้ามาตั้งอัตราภาษีสูงๆ เป็นค่าผ่านทาง เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากเส้นทางการค้าดังกล่าว แต่ก็ทำให้คนจำนวนมากไม่ต้องการเดินทางในเส้นทางสายไหมบกอีกต่อไป และหันไปเดินทางทางทะเลแทน
และต่อมา เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น มีการคิดค้นเรือจักรไอน้ำ (Steamship) แทนที่เรือใบ (Sailship) แบบเดิม รวมทั้งการขุดเจาะก่อสร้างคลองซูเอส (Suez Canal) ขึ้น จึงทำให้เส้นทางการค้าเปลี่ยนไป
จากแต่เดิม จะเดินทางจากยุโรปไปจีน ไปเอเชีย ก็ต้องล่องเรือไปทางแอฟริกาใต้ ผ่านแหลมกู๊ดโฮ้ป ซึ่งทำให้เสียเวลาอย่างมาก ก็ทำให้สามารถเดินทางเข้าทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียนแทน ซึ่งก็ทำให้ท่าเรือของกรุงอิสตันบูล และเมืองต่างๆ โดยรอบของจักรวรรดิออตโตมัน ได้ผลประโยชน์อย่างมหาศาล
มีพบย่อมมีจาก มีได้มาก็ต้องจากไป….ท้ายที่สุดจักรวรรดิออตโตมันที่เจริญรุ่งเรืองก็เริ่มเสื่อมถอยจากความล้าหลังเพราะไม่สามารถก้าวทันตามความเจริญของยุโรปที่เข้าสู่เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (Industrialization)
ทั้งนี้เพราะออตโตมันยังเป็นเศรษฐกิจเกษตรกรรม (Agrarian economy) เน้นการผลิตแบบงานฝีมือและชุมชน แต่ไม่ได้เน้นการผลิตจำนวนมหาศาลเฉกเช่นเดียวกับอังกฤษ จึงขาดแรงจูงใจในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ผลผลิตจำนวนมาก
1
และจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ก็มาถึงเมื่อจักรวรรดิออตโตมันตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 และพ่ายแพ้สงครามส่งผลให้หลายประเทศแยกตัวออก จนในปี 1923 จักรวรรดิออตโตมันที่เคยยิ่งใหญ่ก็ถึงคราวล่มสลายและตกอยู่ในดินแดนของประเทศเกิดใหม่ที่ชื่อว่า “ตุรกี”
1
จากที่กล่าวไปข้างต้น ภูมิศาสตร์ของตุรกีคือ ทำเลทองเพราะเชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชีย (ตะวันออกกลาง รัสเซีย) มีทางออกติดทะเลเมดิเตอร์เนียนและทะเลดำ ทำให้ตุรกีสามารถเคลื่อนออกไปหาผลประโยชน์ได้หลายทิศทาง หากตุรกีสามารถดำเนินนโยบายระหว่างประเทศอย่างถูกจุดและรักษาความสัมพันธ์กับพันธมิตรโดยรอบได้อย่างเหมาะสม
3
แต่ในความเป็นจริง ตุรกีกลับมีความสัมพันธ์ที่เปราะบางกับพันธมิตรโดยรอบทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นฝั่งตะวันออก ตะวันตก ดังนั้นนโยบายต่าง ๆ ของตุรกีจึงไม่ได้รับการตอบสนองจากประเทศพันธมิตรเท่าที่ควร ยกตัวอย่างเช่น แม้ตุรกีจะเป็นพันธมิตรของสหรัฐจากการเข้าร่วม Nato แต่เกิดความขัดแย้งกับสหรัฐฯ จากสงครามซีเรีย ทำให้สหรัฐขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม ส่งผลให้ต้นทุนของตุรกีเพิ่มสูงขึ้น
2
ในปัจจุบัน ตุรกีเผชิญกับวิกฤตเงินเฟ้อสูงอยู่ที่ 85.5% ค่าเงินลีราตุรกีก็อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากการดำเนินนโยบายสวนกระแสที่กดดันธนาคารกลางของตุรกีให้ลดอัตราดอกเบี้ยของประธานาธิบดีเออร์โดกัน จากที่ตุรกีมีเงินเฟ้ออยู่แล้วกลับยิ่งกระตุ้นให้เกิดเงินเฟ้ออย่างหนักจนฉุดไม่อยู่
1
ตอนนี้ตุรกีตกอยู่ในสภาวะที่ไม่มีพันธมิตร ความไม่มั่นคงทางการเมือง คนหมดความเชื่อมั่นจากรัฐบาล ในขณะเดียวกันวิกฤตเงินเฟ้อก็พุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ท่ามกลางสงครามและโรคระบาดที่ยังไม่สิ้นสุดดี จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตามองต่อไปว่าตุรกีจะฝ่าฝันวิกฤตเหล่านี้ไปได้อย่างไร
1
แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรเริ่มทำเป็นอันดับแรกอาจเป็นการเรียกความเชื่อมั่นของผู้คนให้กลับคืนมาอีกครั้งจากความล้มเหลวของรัฐบาลตุรกีในตอนนี้ก็เป็นได้
1
ผู้เขียน: ขัตติยาภรณ์ ด้วงแก้ว Political Analyst, Bnomics
ภาพประกอบ : ชนากานต์ วรสุข Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
●
หนังสือ The Next 100 Years: A Forecast for the 21st Century โดย George Friedman
●
https://www.euronews.com/2022/11/09/everything-is-overheating-why-is-turkeys-economy-in-such-a-mess#:~:text='Devaluation%20spiral'&text=Starting%20in%202013%2C%20the%20currency,inflation%20%2D%20and%20lots%20of%20it
●
https://tradingeconomics.com/turkey/inflation-cpi
●
https://www.nationalgeographic.com/history/article/why-ottoman-empire-rose-fell
ตุรกี
ประวัติศาสตร์
วิกฤตการเงินโลก
4 บันทึก
12
2
8
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
All About History
4
12
2
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย