Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ณัฐมาคุย
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
30 พ.ย. 2022 เวลา 00:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เล่าที่ไปที่มาของปัญหาเคส MORE ตอนที่ 1: Cash Balance
Disclaimer: ความคิดเห็น และข้อความทั้งหมดเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรใด ไม่อนุญาตให้นำไปเผยแพร่ในช่องทางอื่นก่อนได้รับอนุญาต
เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่มากขึ้นจากปัญหาของหุ้น MORE ที่กำลังเป็นข่าวเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมเลยขออนุญาตนำเรื่องบางส่วนมาเล่าให้ฟัง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับที่มาที่ไปของเหตุการณ์ดังกล่าว โดยมีการแบ่งเรื่องให้สั้น ๆ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจกันครับ
หนึ่งในช่องทางที่ผู้ก่อเหตุใช้เป็นช่องทางในการก่อเหตุครั้งนี้คือ บัญชี Cash Account ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้จักว่ามันคืออะไรและแตกต่างกับบัญชีในลักษณะอื่นอย่างไร
ในการดำเนินงานธุรกิจหลักทรัพย์นั้น ก.ล.ต. ได้มีการแบ่งประเภทของบัญชีลูกค้าหลักทรัพย์ เป็นสามประเภทด้วยกัน คือ
1. บัญชีเงินสด (Cash Account)
บัญชีเงินสด เป็นบัญชีซื้อขายหุ้นที่นักลงทุนสามารถสั่งซื้อหุ้นเท่ากับวงเงินที่ทางบริษัทหลักทรัพย์อนุมัติ ซึ่งวงเงินจะขึ้นอยู่กับบัญชีที่นักลงทุนแสดงไว้กับโบรกเกอร์ที่เปิดบัญชีเอาไว้ส่วนใหญ่ โบรกเกอร์จะดูบัญชีของนักลงทุน ได้แก่ บัญชีเงินฝากธนาคาร เงินที่ลงทุนในกองทุนรวม เป็นต้น
เมื่อได้รับการอนุมัติวงเงินแล้ว นักลงทุนต้องวางหลักประกันอย่างน้อย 15% ของวงเงินที่ได้ไว้กับบริษัทหลักทรัพย์ แต่หากวางหลักประกันไม่ครบ ก็จะได้รับอนุมัติวงเงินได้ตามสัดส่วน
หลักประกันนี้อาจจะเป็นเงินสด หรือหลักทรัพย์ก็ได้ ถ้าเป็นเงินสด นักลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ด้วย
โดยข้อดีของบัญชีนี้คือ ลูกค้าไม่ต้องจ่ายเงินทันที เงินจะถูกหักจากบัญชีสองวันทำการหลังจากการทำธุรกรรมซื้อ (T+2) และจะได้รับเงินโอนเข้าบัญชีในวันทำการที่สองหลังจากการทำธุรกรรมขายเช่นกัน
2. บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance / Cash Deposit)
บัญชีแคชบาลานซ์ เป็นบัญชีซื้อขายหุ้นที่นักลงทุน ต้องฝากเงินไว้กับบริษัทหลักทรัพย์ที่เปิดบัญชีซื้อขายไว้ล่วงหน้า หากสั่งซื้อหุ้น เงินจะถูกหักออกจากบัญชีทันที หากมีเงินไม่เพียงพอ ก็อาจจะไม่สามารถซื้อหุ้นได้
ซึ่งในปัจจุบัน ลูกค้ารายย่อยก็มักจะถูกแนะนำให้เปิดบัญชีในลักษณะนี้เนื่องจากมีความเสี่ยงที่ต่ำ และดูแลง่ายกว่า
3. บัญชีมาร์จิ้น (Margin Account) หรือเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance)
บัญชีลักษณะนี้เป็นบัญชีที่เปิดเพื่อให้สินเชื่อกับนักลงทุนในการลงทุนซื้อหุ้น โดยนักลงทุนจ่ายเงินซื้อเองเพียงส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือบริษัทหลักทรัพย์จะเป็นผู้จ่ายให้ โดยเงินที่บริษัทหลักทรัพย์ออกให้นั้น ถือว่าเป็นเงินที่นักลงทุนกู้จากบริษัทหลักทรัพย์นั่นเอง
โดยบัญชีลักษณะนี้ นักลงทุนต้องนำเงินสดหรือหลักทรัพย์มาวางเป็นหลักประกันการชำระหนี้ก่อนซื้อหุ้นตามสัดส่วนที่โบรกเกอร์กำหนดไว้ (initial margin) และหากมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ซื้อมีมูลค่าต่ำลงจนต่ำกว่าสัดส่วนที่โบรกเกอร์กำหนดไว้ (maintenance margin) ลูกค้าก็อาจจะถูกเรียกให้นำเงินสด หรือหลักทรัพย์มาวางเป็นหลักประกันเพิ่ม มิฉะนั้นบริษัทหลักทรัพย์อาจจะทำการขายหลักทรัพย์มาชดใช้หนี้ (forced sell) เพื่อรักษาระดับมาร์จิ้นให้อยู่ในระดับที่กำหนดไว้
1
หากมาดูกัน เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า บัญชีประเภทแรกเป็นประเภทที่เสี่ยงที่สุด เนื่องจากมีหลักประกันอยู่ในสัดส่วนที่น้อย แถมผู้ก่อเหตุซึ่งเคยทำงานในบริษัทหลักทรัพย์ยังรู้อีกว่า กระบวนการประเมินวงเงินนั้นไม่ได้ทำกันเป็นแบบทันที คือ หลังจากนำหลักทรัพย์มาวางแล้ว ตัวเลขวงเงินก็จะถูกตั้งค่าเอาไว้ ถึงแม้มาถอนในภายหลัง ก็มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงวงเงินกันอีก จนกว่าจะถึงรอบทบทวนถัดไป
ซึ่งบัญชีเงินสดนี้จริง ๆ แล้ว มีเพียงไม่กี่ประเทศ (เท่าที่เข้าใจ) ที่มีการเปิดบัญชีในลักษณะนี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง แต่ตามปกติแล้ว หากซื้อหุ้นมาแล้ว ลูกค้าไม่จ่ายเงิน บริษัทหลักทรัพย์ก็มักจะขายหุ้นดังกล่าวเอามาชำระคืนหนี้ได้โดยที่ไม่เสียหายมากนัก เพราะราคาหุ้นตามปกติแล้วส่วนใหญ่มักจะไม่ได้มีความผันผวนมากนัก
ผู้ก่อเหตุจึงอาศัยบัญชีประเภทดังกล่าวในการดำเนินการครั้งนี้ โดยการทำการวางหลักประกันให้เรียบร้อยจนได้วงเงิน และทำการถอนหลักทรัพย์บางส่วนไปเวียนเปิดบัญชีที่บริษัทหลักทรัพย์อื่นไปเรื่อย ๆ จนสามารถมีวงเงินได้รวมกันสูงนับหลายพันล้านบาทกับบริษัทหลักทรัพย์นับสิบแห่ง
และเมื่อซื้อหลักทรัพย์ได้โดยไม่ต้องมีหลักประกัน หรือมีหลักประกันเพียงจำนวนน้อย หากซื้อโดยไม่จ่ายเงิน ก็แทบจะไม่มีหลักประกันให้ยึด จะเหลือก็เพียงหุ้น MORE ที่ซื้อมาในราคาสูง แต่กลับไม่ค่อยมีมูลค่าพื้นฐานเท่าใดนัก
ส่วนสาเหตุว่าทำไมถึงมีบัญชีประเภทนี้นั้น ผมเองเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องของธรรมเนียมปฏิบัติที่มีมาตั้งแต่ในอดีต ซึ่งในอดีต ธุรกรรมทางการเงินเป็นเรื่องที่ทำกันลำบากพอสมควร ไม่ได้มีระบบโอนเงินที่สะดวกสบายอย่างเช่นทุกวันนี้ ต้องไปทำเองที่ธนาคาร แถมในอดีตยังมีอัตราดอกเบี้ยที่สูง ทำให้การเก็บเงินไว้ในบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์มีต้นทุนที่สูง โดยมีข้อปฏิบัติในการกำหนดวงเงินลูกค้าของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกำหนดไว้
อีกข้อสังเกตหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ บัญชีประเภทนี้มักจะถูกเชื่อมโยงเข้ากับการซื้อขายหุ้นแบบผิดปกติ (หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า ปั่นหุ้น) เพราะไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก ก็สามารถทำการซื้อขายหลักทรัพย์ได้มาก จึงสามารถที่จะควบคุมราคาของหลักทรัพย์ได้ง่าย
ดังนั้น เมื่อใด ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ตรวจพบความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของราคา ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงมักเลือกใช้การประกาศมาตรการ Cash Balance ไม่ให้ทำการซื้อขายโดยใช้บัญชีประเภทอื่น เพื่อลดโอกาสในการควบคุมราคา เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับนักลงทุนในวงกว้าง
แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง การซื้อขายผ่านบัญชีเงินสด ทำให้เกิดความคล่องตัวในการซื้อขาย จึงทำให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยมีสเน่ห์ในเรื่องของสภาพคล่อง ซึ่งต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงในการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์ และเป็นช่องทางให้เกิดการปั่นราคา
1
หากอยู่ดี ๆ การซื้อขายผ่านบัญชีเงินสดถูกยกเลิกไป โดยที่ไม่ได้มีมาตรการอื่นรองรับ ก็อาจจะส่งผลทำให้ยอดการซื้อขายลดลง และทำให้บริษัทหลักทรัพย์มีรายได้ค่านายหน้าลดลงตามไปด้วย นอกเหนือจากสภาพคล่องในตลาดที่จะลดลง จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีคำนึงถึงผลกระทบที่ตามมาให้ละเอียด
1
ไว้รอติดตามต่อตอนหน้ากันครับ…
ข้อปฏิบัติในการกำหนดวงเงินลูกค้าของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยศึกษาได้ที่ :
https://www.asco.or.th/announced/announced-page.php?id=858
ติดตามตอนอื่นๆ ได้ที่ซีรีย์ :
เรียนรู้เพิ่มเติม
blockdit.com
[ณัฐมาคุย] เล่าที่มาที่ไปของเคสหุ้น MORE
การลงทุน
หุ้นmore
4 บันทึก
21
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เล่าที่มาที่ไปของเคสหุ้น MORE
4
21
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย