3 ธ.ค. 2022 เวลา 00:00 • ธุรกิจ
แก้ปัญหาธุรกิจด้วยตัวอะมีบา
3
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
หากคุณเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดที่ต้องแต่งตั้งใครสักคนมากู้ชีพบริษัทที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกซึ่งมีหนี้สินล้นพ้นตัว คุณย่อมจะเลือกคนที่เก่งที่สุดในวงการ
2
แต่ตรงกันข้าม ผู้ที่ถูกเชิญมาเป็นประธานบริษัทเป็นคนนอกวงการ ไม่เคยทำงานด้านนั้นมาก่อน และเป็นชายชราที่เกษียณแล้ว
2
บริษัทนั้นคือสายการบินแจแปน แอร์ไลน์ส (JAL) และภารกิจนั้นคือกู้ชีพบริษัทที่กำลังล้มละลาย
มันเป็นสายการบินแห่งชาติของญี่ปุ่น ก่อตั้งในปี 1951 เทียบได้กับสิงคโปร์ แอร์ไลน์ส ที่เป็นหน้าตาของสิงคโปร์ JAL มีเครื่องบินโบอิ้ง 747 มากที่สุดในเวลานั้น
ในปี 1987 JAL แปรรูปเป็นเอกชน ตั้งแต่นั้นก็ขาดทุนมาเรื่อยๆ เหตุผลอาจเป็นเพราะการที่อยู่ใต้การดูแลของรัฐมานาน ทำให้ยืนสองขาด้วยตัวเองในโลกเอกชนไม่เป็น ในที่สุดสายการบินนี้ดิ่งเหวด้วยหนี้มหาศาลจำนวน 28 พันล้านดอลลาร์ มากกว่าสิบเท่าของมูลค่าของมัน
ในปี 2010 JAL ยื่นเรื่องขอล้มละลาย
พวกเขาต้องการใครสักคนมากอบกู้สถานการณ์ที่แม้แต่เทวดาก็ส่ายหน้าหนี
ใครคนนั้นคือชายชราวัย 77 นาม คาซูโอะ อินาโมริ
4
ทุกคนทั้งในและนอกวงการสายการบินเลิกคิ้ว แม้จะรู้ว่าเขาเป็นนักธุรกิจระดับเซียน แต่อินาโมริไม่เคยมีประสบการณ์ด้านสายการบินมาก่อนเลย
5
ใครคือ คาซูโอะ อินาโมริ?
คาซูโอะ อินาโมริ เป็นชายธรรมดาคนหนึ่งผู้พยายามทำมาหากินเลี้ยงบริษัท ในวัย 27 เขาก่อตั้งบริษัทเคียวเซรา (Kyocera) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเซรามิก ในช่วงแรกมีพนักงาน 28 คน
4
เขาเน้นคุณภาพของสินค้าอย่างยิ่ง ต่อให้สินค้าใช้งานได้ดี แต่ถ้าสีไม่สวย เขาก็จะโละมันทิ้งทันที ให้วิศวกรปรับปรุงใหม่จนใช้งานได้ดีและสีสวยดั่งใจด้วย เขาต้องการสินค้าสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ เขาให้เหตุผลว่า ถ้างานดี 99 เปอร์เซ็นต์ มันก็ยังล้มเหลวเพราะ 1 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น
5
แน่นอนความสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ทำได้ยากมาก แต่ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไม่พยายามทำ
9
ด้วยคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐาน เคียวเซราเติบโตขยายตัวไปเรื่อยๆ จนเป็นบริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง
2
25 ปีต่อมา อินาโมริร่วมก่อตั้งบริษัท DDI ทำงานด้านโทรคมนาคม เช่นกัน มันกลายเป็นบริษัทชั้นนำในวงการนี้ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น KDDI
1
จุดหนึ่งที่เขาแตกต่างจากผู้บริหารอื่นๆ คือวิธีคิด เขาไม่ได้ตั้งเป้าที่กำไรสูงสุดซึ่งเป็นหัวใจของทุนนิยม ตรงกันข้าม เขากลับพยายามสอดแทรกสังคมนิยมเข้าไป
อะไรนะ? ทุนนิยมแบบสังคมนิยม? ทำไม? ทำยังไง?
ตอนหนุ่มๆ ที่เริ่มต้นทำธุรกิจ อินาโมริไม่มีหลักปรัชญาอะไรทั้งสิ้นนอกจากต้องการให้บริษัทอยู่รอด เพื่อที่เขาจะเลี้ยงครอบครัวของเขา และจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 28 คน
1
จุดเปลี่ยนอยู่ที่วันหนึ่ง นักเรียนชั้นมัธยมปลาย 11 คนที่มาฝึกงาน ยื่น 'ข้อเรียกร้อง' ให้เจ้านาย ขอเงินเดือนประจำและโบนัส นักเรียนกลุ่มนี้ดูเหมือนเรียกร้องมากไปในฐานะนักเรียน อินาโมริข่มความโกรธ คุยกับนักเรียนดีๆ แต่พวกเขาไม่ฟัง อินาโมริไม่ละความพยายาม คุยต่อจนวันที่สาม พวกนักเรียนก็ตกลงยอมรับเหตุผลของเขา
4
คาซูโอะ อินาโมริ (ภาพจาก Asahi Shimbun)
เหตุการณ์นี้ทำให้เขาได้คิดว่า บริษัทควรมีจุดประสงค์สำคัญกว่าเรื่องงาน พนักงานควรจะทำงานอย่างมีความสุข
5
ตั้งแต่นั้นมา หลักปรัชญาของอินาโมริคือ สร้างความสุขให้คนทำงาน ทั้งทางวัตถุและจิตใจ เชื่อมใจพนักงานเสมอ เขาพบว่าจิตวิญญาณมนุษย์สำคัญที่สุด
7
อินาโมริเห็นว่าคนที่ทำงานในองค์กรเดิมตลอดชีวิตอาจเกิดความเฉื่อยได้ เพราะคิดว่าทำงานรับใช้เจ้านายก็พอแล้ว
1
"ผมบอกลูกน้องผมเสมอว่า พวกเขาควรรักงานที่ทำ ไม่ว่าจะได้รับงานอะไร ความแตกต่างระหว่างงานที่ถูกบังคับให้ทำกับงานที่รักนั้นมหาศาล"
สิ่งหนึ่งที่ทำให้พนักงานมีความสุขกับงานก็คือให้พนักงานมีส่วนร่วมกับงานมากกว่าแค่รับคำสั่ง และทำตาม job description อย่างเถรตรง
3
ทำอย่างไร?
ก็ใช้ตัวอะมีบาช่วย
อะมีบา? ใช่ อะมีบา!
2
อะมีบาเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีโครงสร้างสำหรับใช้เคลื่อนที่โดยเฉพาะ มันเคลื่อนตัวด้วยเท้าเทียม เรียกว่า amoeboid movement
2
หัวใจของโมเดลอะมีบาก็คือการบริหารจัดการที่พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม ทำโดยแบ่งกลุ่มพนักงานออกย่อยๆ เหมือนอะมีบา อะมีบาแต่ละตัวหรือแต่ละหน่วยเป็นอิสระในระดับหนึ่ง คิดเสมือนเป็นองค์กรเอกเทศ หัวหน้ากลุ่มอะบีมากลุ่มหนึ่งๆ ต้องตัดสินใจเหมือนเป็นเจ้านายเอง
2
เช่น การจัดซื้อวัตถุดิบ การจัดสรรกำลังคน การจัดชั่วโมงการทำงาน ฯลฯ วิธีนี้ทำให้ใช้ศักยภาพเต็มร้อย สร้างงานเต็มที่ อีกทั้งแก้ปัญหาที่เดิมผู้บริหารระดับบนอาจไม่รู้หรือมองไม่เห็น อีกทั้งทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองสำคัญ
2
อะมีบาแต่ละตัวก็คือศูนย์กำไร (profit center) เล็กๆ ย่อยๆ
หลักอะมีบาเป็น win-win สำหรับพนักงานและบริษัท
เขาบอกเสมอว่า พนักงานสำคัญกว่าคนถือหุ้น
1
"ถ้าคุณต้องการไข่ จงดูแลแม่ไก่"
1
เขารู้ว่าหลักการบริหารธุรกิจของฝรั่งจะไม่ทำอย่างนี้ แต่หลายองค์กรที่ใช้โมเดลอะมีบาของเขา ก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน
เมื่ออายุ 84 ปี อินาโมริให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เยอรมนีฉบับหนึ่ง เขาบอกว่าทุนนิยมสมัยใหม่โฟกัสที่จุดหมายด้านอีโก้เกินไป
1
โลกธุรกิจตะวันตกในอดีตเคยมีตัวอย่างที่ดี เช่น วิธีการจัดการของ Thomas J. Watson ประธานบริษัท IBM ช่วง 1914-1956 แต่เวลาผ่านไป ระบบเดิมที่เคยสำเร็จก็บิดเบือนไป
ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งพยายามคิดทุกทางเพื่อจ่ายภาษีให้น้อยที่สุด เขารู้สึกว่ามันประหลาดมากที่บริษัทโดยเฉพาะบริษัทตะวันตก ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อจ่ายภาษีน้อยลง เค้นสมองหาช่องโหว่ที่จะทำอย่างนั้น
5
เขาคิดตรงกันข้ามว่า เราควรทำให้ธุรกิจเป็นเรื่องที่ดี เพื่อสังคมได้ เขาต้องการทำให้ทุนนิยมเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้
4
ผู้สื่อข่าวถามว่า "ดูเหมือนคุณอยากจะรวมสังคมนิยมเข้ากับกำไร"
เขาตอบว่า "ก็ทำไมจะทำไม่ได้ล่ะ"
คนจำนวนมากเชื่อว่าเหตุที่โลกเป็นทุนนิยมสุดโต่งเพราะไม่มีระบบอื่นที่ดีกว่า เขาเห็นว่าก็จริง แต่ระบบก็ดีได้เช่นกันถ้าทำถูกวิธี เช่น สังคมนิยม เขาเชื่อว่าทุนนิยมควรรวมวิธีคิดแบบสังคมนิยมเข้าไปด้วย
แล้วอิทธิพลทางสังคมนิยมนี้มาจากไหน?
เขาตอบว่า "ในกรณีของผมน่าจะมาจากศาสนาพุทธ แต่มันก็ไม่มีความแตกต่างจากศาสนาคริสต์ สิ่งที่พระเยซูตรัสก็เหมือนกับที่พระพุทธองค์ทรงต้องการจะพูด ความคิดเพื่อสังคมนั้นเป็นสากล"
6
ในปี 1997 เขาเกษียณ แล้วบวชเป็นพระเซน
เขาเรียนรู้จากหลักธรรมว่า คนเราต้องรู้จักพอและรู้จักให้
5
แม้จะเคยบวชเป็นพระเซน แต่เขาก็คิดอย่างคนธรรมดา กลับไปที่คำถามที่ทั้งพระและฆราวาสก็ถามได้ คือ อะไรเป็นสิ่งที่ถูกที่ควรที่เราทำได้ ในฐานะคนที่เดินบนโลกใบนี้ เขาเห็นว่าความเป็นมนุษย์เป็นรากฐานของชีวิตของเขา
4
สังคมนิยมก็คือการทำงานเพื่อสังคม มันไม่ได้ถูกผูกขาดว่าเป็นวิธีคิดทางการเมือง
2
อะไรก็ตามที่ทำเพื่อคนหมู่มาก ก็คือสังคมนิยม ดังนั้นทุนนิยมก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือสู่สังคมนิยมได้ โดยที่ win-win ทั้งคู่ มีกำไร แต่ก็มีประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่มีการเอาเปรียบกัน หรือมองทุกอย่างเป็นระบบกำไรสูงสุด
4
ทุนนิยมแบบนี้ยั่งยืนกว่า
อินาโมริเองสำรวจตัวเองเป็นระยะว่าอีโก้ของเขาโตเกินไปหรือไม่ มันเป็นการมองภาพตัวเองทุกวัน ปรับแต่งให้มันเข้าที่เข้าทาง ถอยห่างออกมาสักนิดเพื่อมองตัวเอง
1
คนเราควรคุมอีโก้ของตัวเอง ไม่ให้มันโต เราควรแคร์คนอื่น นี่ก็คือหลักการทำงานของเขา
3
อาจเพราะใช้ชีวิตใต้ร่มธรรม เขาหลอมรวมเซนกับธุรกิจ คืนกำไรให้สังคม สร้างคนเก่งในด้านต่างๆ ผ่านมูลนิธิของเขา ให้ทุนการศึกษาและทุนงานวิจัยจำนวนมาก
2
เขาบอกว่า "ผมปรารถนาจะตอบแทนหนี้ของผมต่อสังคมโลกที่ได้ช่วยทำให้ผมเป็นอยู่ในวันนี้"
3
ใครบอกว่าศาสนากับธุรกิจไปด้วยกันอย่างสร้างสรรค์ไม่ได้?
ตอนที่ได้รับคำเชิญจากนายกรัฐมนตรีไปช่วย JAL เพื่อนๆ และครอบครัวของเขาบอกว่าอย่ารับงานนี้เลย เปลืองตัวเปล่าๆ แต่เขาก็รับ
1
เขารับงานนี้เพราะ "ถ้าเราไม่สามารถกู้ JAL เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เดิมแย่อยู่แล้ว จะถูกแรงกระทบอย่างหนักหน่วง"
4
แต่วันแรกๆ ที่เขารับงานและรับรู้ปัญหาจริง เขาก็รู้สาเหตุของปัญหา
2
ปัญหาหนึ่งของ JAL คือมันขยายธุรกิจไปในสายอื่นๆ (diversification) มากเกินตัว เช่น ทำโรงแรมหลายแห่งในหลายประเทศ
2
โรงแรมแห่งหนึ่งในนิวยอร์กลงทุนมากจนต่อให้แขกเข้าพักเต็มนานสามสิบปี ก็ยังขาดทุน
4
อินาโมริรู้สึกไม่สบายใจในบรรยากาศงาน มันไม่เหมือนองค์กรเอกชน เขาบอกว่า "ถ้าพวกเขาไม่เปลี่ยนวิธีการคิด ผู้จัดการของ JAL จะไม่สามารถแม้กระทั่งจัดการร้านของชำ"
4
บางทีนี่อาจเป็นเหตุผลที่เขาถูกเชิญมาเพราะ JAL คิดแบบรัฐวิสาหกิจ รู้ว่ารัฐบาลจะช่วยเสมอ คนที่มากู้บริษัทได้ต้องคิดนอกกรอบเดิม ต้องเป็นผู้นำอีกแบบหนึ่ง
4
ในมุมมองของอินาโมริ ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ชัดเจนและเข้มแข็ง เขาบอกว่าคุณต้องมีทิศทางที่จะไป จุดหมายต้องชัดเจน ถ้าปราศจากจุดหมาย ทุกอย่างก็ไม่เกิดอะไร
2
เขาบอกว่าวิสัยทัศน์ (vision) ต้องรวมบุคลิกภาพ ความซื่อสัตย์ ความสง่า ความดึงดูดใจ และเสน่ห์เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ร่วมงานยอมเดินตาม เขาเห็นว่าทักษะและเทคนิคเป็นคุณสมบัติทั่วไปของผู้บริหารในองค์กรตะวันตก แต่มันไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด
1
ด้วยเหตุนี้เมื่อเข้ารับงานที่ JAL เขาเปลี่ยนโครงสร้างสายการบิน ไม่บริหารแบบทางดิ่ง แบ่งออกเป็นอะมีบาย่อยๆ แต่ละหน่วยมีอิสระพอที่จะจัดการ
1
สายการบินหั่นตำแหน่งออกราวหนึ่งในสาม ลดเงินเดือนราว 30 เปอรเซ็นต์ ลดเส้นทางบินที่ไม่ทำกำไร
3
สามปีต่อมา JAL มีกำไร
2
นี่บอกว่าประสบการณ์ในวงการใดวงการหนึ่งอาจไม่สำคัญเท่าวิธีการบริหาร
7
มีคำถามว่า ในโลกโลกาภิวัตน์ มันยังเป็นไปได้หรือที่จะใช้ปรัชญาการทำงานแบบ 'เชื่อมหัวใจ' ระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง อินาโมริตอบว่าผู้นำองค์กรทุกวันนี้สนใจแต่เพิ่มมูลค่าหุ้น แต่คนที่จะทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นคือพนักงานที่ทำงานหนัก ดังนั้นเราควรดูแลพนักงานให้ดีที่สุด มันเป็นแก่นขององค์กร
7
อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นจ่ายเงินเพื่อคาดหวังผลกำไร เราก็ควรให้เท่าที่ให้ได้ แต่ไม่ใช่ให้ผู้ถือหุ้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
2
นโยบายผู้บริหารควรเป็นเอาใจพนักงานมากกว่าผู้ถือหุ้น
4
เขาบอกว่า "ในโลกทุนนิยม ความโลภเป็นสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องดี อย่างไรก็ตาม ถ้าเราอิงมันมากไป ผมคิดว่าสังคมจะล่มสลาย"
11
หมายเหตุ ปรัชญาการทำงานของ คาซูโอะ อินาโมริ
1
อินาโมริถือหลัก 12 ข้อในการทำงาน
1 ตั้งเป้าสูง แต่ซื่อสัตย์ ยุติธรรม
1
2 ตั้งเป้าให้ชัดเจน และแชร์กับพนักงานทุกคน
3 จงมีไฟในการทำงาน
1
4 ทำงานหนัก ขยัน ทำไปทีละขั้น
1
5 หารายได้มากที่สุด รายจ่ายต่ำที่สุด แต่ไม่มุ่งที่กำไร ให้กำไรเป็นสิ่งที่ตามมาจากการทำงานหนักของเรา
2
6 ตั้งราคาที่ลูกค้าพึงใจ และบริษัทได้กำไร
1
7 ความสำเร็จมาจากกำลังใจ การจัดการธุรกิจต้องเดินไปไกลกว่าเดิมนิด
8 สู้ไม่ถอย
9 รับการท้าทายด้วยความกล้า ยุติธรรม ไม่โกงใคร
3
10 มีความคิดสร้างสรรค์ในงานเสมอ ปรับปรุงตัวเองและงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
1
11 ทำธุรกิจโดยวงบนความเป็นหุ้นส่วน
4
12 มองโลกบวกเสมอ เดินตามฝัน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา